ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

  การเพิกถอนอำนาจปกครองบุตร กับ การเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ต่างกันอย่างไร (30087 อ่าน)

2 เม.ย 2557 17:56

การเพิกถอนอำนาจปกครองบุตร กับ การเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ต่างกันอย่างไร
               การเพิกถอนอำนาจปกครองบุตร 
               ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 บัญญัติไว้ว่า “บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาอำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
              (1) มารดาหรือบิดาตาย
              (2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
              (3) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ ความสามารถ
              (4) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
              (5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
              (6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้  และ
        มาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจการปกครองมีสิทธิ
              (1) กำหนดที่อยู่ของบุตร
              (2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
              (3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
              (4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย”
        โดยทั่วไป หากบิดามารดารักใคร่ปรองดองกันดีอยู่ บิดาและมารดาทั้งสองย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันโดยมีอำนาจตามมาตรา 1567 แต่กรณีจะมีปัญหาโต้แย้งกันว่าบุตรจะอยู่ในอำนาจปกครองของฝ่ายใด ก็ต่อเมื่อบิดามารดาหย่าขาดจากกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต หรือถูกเพิกถอนอำนาจปกครองบุตร หรือเหตุอื่น ๆ ตามมาตรา 1566 ในสังคมไทยส่วนใหญ่มักจะพบว่า ปัญหาจะเกิดขึ้นกรณีที่เมื่อบิดามารดาได้จดทะเบียนหย่ากันแล้ว ได้ทำบันทึกข้อตกลงให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว และต่อมาภายหลัง ฝ่ายที่ไม่มีอำนาจปกครองดูแลบุตรเกิดอาการเปลี่ยนใจต้องการที่จะเอาตัวบุตรมาอยู่กับตนเอง หรือฝ่ายที่มีอำนาจหน้าที่ปกครองดูแลบุตรไม่อยู่ในฐานะที่จะใช้อำนาจปกครอง หรือมีเหตุที่ไม่สามารถปกครองดูแลบุตรได้ กรณีเช่นนี้จะสามารถเพิกถอนอำนาจปกครองบุตรได้หรือไม่ 
      เรื่องนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1582 ได้บัญญัติเหตุผลที่จะอ้างต่อศาลเพื่อขอเพิกถอนอำนาจปกครองบุตร ดังนี้คือ
                1. ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นคนไร้ความสามารถ
                2. ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถโดยคำสั่งของศาล
                3. ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบ เช่น ทอดทิ้งบุตรไม่สนใจเลี้ยงดู หรือ ไม่ให้การศึกษา เป็นต้น
                4. ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองใช้อำนาจปกครองประพฤติชั่วร้าย เช่น ถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกในคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เป็นต้น
                กรณีเหล่านี้ศาลจะสั่งเอง หรือจะสั่งเมื่อญาติของผู้เยาว์ หรืออัยการร้องขอ ให้ถอนอำนาจปกครองเสียบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้
         ดังนั้น หากมีพฤติการณ์ที่มาตรา 1582 บัญญัติไว้ ฝ่ายที่ไม่มีอำนาจปกครองบุตร ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องศาลเพื่อขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนอำนาจปกครองบุตร และหากปรากฏว่าทั้งบิดามารดามีพฤติการณ์ที่ต้องห้ามใช้อำนาจปกครองบุตรตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว บุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียก็มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งตนเองเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้ โดยคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นประการสำคัญ

         ตัวอย่างคดีที่ศาลฎีกาได้ตัดสินเป็นบรรทัดฐานเกี่ยวกับการเพิกถอนอำนาจปกครองบุตร
         1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2563/2544 ป.พ.พ. มาตรา 1585 วรรคหนึ่ง ให้ตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ได้เฉพาะกรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง การที่มารดาตาย ส่วนบิดายังมีชีวิตอยู่และมิได้ถูกถอนอำนาจปกครอง แม้บิดามารดาจะจดทะเบียนหย่าโดยตกลงให้มารดาเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แต่ฝ่ายเดียว ก็เป็นเรื่องการตกลงตามมาตรา 1520 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1566 วรรคสอง (6) เท่านั้น มิใช่เป็นกรณีที่บิดาถูกถอนอำนาจปกครองเพราะการจะถอนอำนาจปกครองจะต้องมีเหตุตามมาตรา 1582 และเป็นอำนาจของศาล ดังนั้น เมื่อมารดาของผู้เยาว์ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองแต่ผู้เดียวตามที่ตกลงขณะที่จดทะเบียนหย่าถึงแก่กรรม อำนาจปกครองผู้เยาว์จึงกลับมาอยู่แก่บิดาฝ่ายเดียวตามมาตรา 1566 วรรคสอง (1) เมื่อผู้เยาว์ยังมีบิดาซึ่งยังไม่ถูกถอดถอนอำนาจปกครองจึงไม่อาจตั้งผู้ปกครองได้ ผู้ร้องซึ่งเป็นน้าผู้เยาว์จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ปกครอง
        ป.พ.พ. มาตรา 1582 ให้อำนาจศาลถอนอำนาจปกครองได้โดยลำพังไม่ต้องให้ผู้ใดร้องขอ หากมีเหตุตามบทบัญญัติดังกล่าว คดีนี้แม้ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนอำนาจปกครองของบิดาผู้เยาว์ แต่เมื่อความปรากฏต่อศาลว่าบิดาของผู้เยาว์ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำเกี่ยวกับการจำหน่ายยาเสพติดและไม่ได้อุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ โดยให้อยู่ในความดูแลของผู้ร้องถือได้ว่า บิดาประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงและใช้อำนาจปกครองแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้ถอนอำนาจปกครองบิดาผู้เยาว์ และเมื่อผู้เยาว์ไม่มีผู้ใช้อำนาจปกครองเนื่องจากมารดาตาย และบิดาถูกถอนอำนาจปกครอง ประกอบกับผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้ร้องตลอดมา ทั้งบิดาผู้เยาว์ยินยอมให้ผู้ร้องเป็นผู้ปกครอง ศาลจึงตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ได้

        (หมายเหตุ ศาลฎีกาวางหลักไว้ว่า แม้บิดามารดาจะจดทะเบียนหย่าโดยตกลงให้มารดาเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์แต่ฝ่ายเดียว แต่เมื่อมารดาเสียชีวิต อำนาจปกครองผู้เยาว์จึงกลับมาอยู่แก่บิดาฝ่ายเดียว และหากบิดามีพฤติการณ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าไม่สามารถเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้ บุคคลอื่นก็สามารถเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้เช่นกัน)
         2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2542  ตามมาตรา 1566 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา ในกรณีมารดาหรือบิดาตาย อำนาจปกครองจึงอยู่ กับบิดาหรือมารดา และมีสิทธิเรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่ง กักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1567(4) อย่างไรก็ตาม มาตรา 1582 กำหนดไว้ว่า ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองใช้อำนาจปกครอง เกี่ยวแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบก็ดี ประพฤติชั่วร้ายก็ดี ศาลอาจถอน อำนาจปกครองเสียบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้ ดังนั้น เมื่อ ส. ซึ่งเป็นบิดาของเด็กหญิง ร. ผู้เยาว์ถึงแก่ความตาย อำนาจปกครองจึงตกอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดา เว้นแต่โจทก์ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบ หรือประพฤติชั่วร้าย และถูกศาลถอนอำนาจปกครอง การที่จำเลยซึ่งเป็นย่าของเด็กหญิง ร.ฎีกาโต้แย้งว่าโจทก์ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวเด็กหญิง ร.โดยมิชอบและประพฤติชั่วร้าย แต่ที่มิได้นำเด็กหญิง ร.มาเบิกความยืนยัน ก็เพราะเด็กหญิง ร. มีความกลัวมารดานั้น จะเห็นได้ว่า โดยปกติธรรมชาติของมารดา ย่อมมีความรักบุตรและปรารถนาดีต่อบุตร หากจำเลยประสงค์ที่จะแสดงให้ศาลเห็นว่าโจทก์เป็นมารดาที่ ประพฤติผิดธรรมชาติ ปราศจากความรักความเมตตา ต่อบุตร และประพฤติตนชั่วร้าย พยานหลักฐานของจำเลยก็ต้องมีน้ำหนักให้เชื่อได้ว่าเป็นเช่นนั้นจริงเมื่อจำเลยไม่มี ผู้เยาว์มาเบิกความยืนยันต่อศาลถึงสภาพจิตใจที่เป็นอยู่ จึงไม่อาจอนุมานตามที่จำเลยกล่าวอ้างว่าที่ผู้เยาว์มีอาการ ผิดปกติก็เพราะโจทก์ใช้อำนาจปกครองโดยมิชอบหรือประพฤติชั่วร้าย อันจะเป็นสาเหตุให้ศาลถอนอำนาจปกครองของโจทก์  ดังนั้น แม้จำเลยจะมีฐานะดีมีความเมตตาต่อผู้เยาว์ และสามารถเลี้ยงดู ผู้เยาว์ได้เป็นอย่างดีสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่อาจที่จะปกครองเลี้ยงดูผู้เยาว์ได้ตราบใดที่อำนาจปกครองของโจทก์ซึ่งเป็น มารดายังมิได้ถูกเพิกถอน จำเลยจึงต้องคืนตัวเด็กหญิง ร. ให้แก่โจทก์
       (หมายเหตุศาลฎีกาวางหลักไว้ว่า ฐานะทางการเงินไม่ได้มีส่วนสำคัญทั้งหมด  แต่ศาลคำนึงถึงสุขภาพจิตของเด็กเป็นสำคัญ)
 
        การเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
        หลักกฎหมายอ้างอิง  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
       “มาตรา 1520 ในกรณีหย่าโดยความยินยอม ให้สามีภริยาทำความตกลงเป็นหนังสือว่า ฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด ถ้ามิได้ตกลงกัน หรือตกลงกันไม่ได้ ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
        ในกรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ให้ศาลซึ่งพิจารณาคดีฟ้องหย่านั้นชี้ ขาดด้วยว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด ในการพิจารณาชี้ขาด ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรสนั้นได้ตามมาตรา 1582 ศาลจะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรส และสั่งให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ปกครองก็ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรนั้นเป็นสำคัญ
        มาตรา 1521 ถ้าปรากฏว่าผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามมาตรา 1520 ประพฤติตนไม่สมควร หรือภายหลังพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองโดยคำนึงถึง ความผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ”
การเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรนั้น มักจะเป็นกรณีที่บิดามารดาจดทะเบียนหย่าขาดจากกันแล้วทำบันทึกหลังทะเบียนหย่าตกลงให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว และต่อมาภายหลังต้องการที่จะเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรด้วยตนเอง  แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอม และก็ไม่ได้ประพฤติชั่วร้ายแรง หรือไม่ชอบกฎหมายอย่างไร และไม่มีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองบุตรของอีกฝ่ายหนึ่งตามกฎหมายอีกด้วย กรณีแบบนี้จึงต้องยื่นฟ้องขอให้ศาลพิจารณาเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง ไม่ใช่ขอเพิกถอนอำเภอปกครองบุตรดังกล่าวมาแล้ว 
        ตัวอย่างคดีที่ศาลฎีกาได้ตัดสินเป็นบรรทัดฐานเกี่ยวกับการเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร
        1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2537 บิดามิได้ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบ หรือประพฤติชั่วร้ายตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1582  เพียงแต่ไม่สามารถปกครองดูแลผู้เยาว์ให้ได้รับความผาสุก อันอาจเป็นเหตุให้สุขภาพจิตของผู้เยาว์เสื่อมลงเท่านั้น  กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองของบิดา แต่ตามพฤติการณ์ของคดีได้ความว่าความผูกพันทางจิตใจของมารดาที่มีต่อผู้เยาว์จะแนบแน่นมากกว่าผู้เป็นบิดา  แม้มารดาได้มีโอกาสปกครองดูแลผู้เยาว์บ้างเป็นครั้งคราวชั่วระยะเวลาอันสั้น ผู้เยาว์กลับประสงค์จะอยู่กับมารดา แสดงว่าผู้เยาว์ขาดความอบอุ่นทางจิตใจขณะอยู่กับบิดา เมื่อผู้เยาว์มีความผูกพันกับมารดามากกว่าบิดา การที่ผู้เยาว์อยู่กับมารดาจะมีผลดีต่อสุขภาพจิตของผู้เยาว์ จึงเห็นสมควรให้การใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์อยู่กับมารดาฝ่ายเดียวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566(5)
        2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2546 โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรซึ่งตกอยู่แก่จำเลยฝ่ายเดียวตามข้อตกลงจดทะเบียนหย่า  แต่ตามคำบรรยายฟ้องและพฤติการณ์แห่งคดีเป็นกรณีโจทก์ประสงค์ที่จะเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองตามที่ได้ตกลงไว้กับจำเลย  ถือได้ว่า โจทก์ประสงค์ที่จะเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520 และ 1521
แม้จำเลยไม่มีพฤติการณ์ประพฤติตนไม่สมควรในการใช้อำนาจปกครองตามข้อตกลงที่จดทะเบียนแต่ปรากฎภายหลังว่า มีพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตร ศาลเห็นสมควรเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจจากจำเลยมาเป็นโจทก์ได้ตาม มาตรา 1520 และ 1521
        3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2533 โจทก์จำเลยต่างสามารถเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ได้ แต่การให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับโจทก์เป็นการไม่สะดวก เพราะโจทก์กลับบ้านได้เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ ส่วนการให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับมารดาได้รับความอบอุ่นมากกว่าเพราะอยู่ใกล้ชิดตลอดเวลา จึงสมควรให้จำเลยเป็นผู้ปกครองบุตรผู้เยาว์ และแม้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์จะตกแก่จำเลยก็ตาม โจทก์มีสิทธิจะติดต่อกับบุตรผู้เยาว์ได้ตามสมควรแล้วแต่พฤติการณ์.
        4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8161/2543 บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1521ประกอบมาตรา 1566(5) ที่ให้อำนาจศาลเพื่อคุ้มครองสิทธิและประโยชน์ของผู้เยาว์ในการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ใช้อำนาจปกครองมิได้กำหนดวิธีการที่คดีจะมาสู่ศาล แสดงว่าประสงค์จะให้คดีขึ้นสู่ศาลได้ทั้งการเสนอคดีโดยทำเป็นคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทและทำเป็นคำร้องขอแบบคดีไม่มีข้อพิพาท ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของเด็กหญิง ป. อ้างในคำร้องขอว่า ร. มารดาเด็กหญิง ป. ไม่สามารถเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่เด็กหญิงป. เนื่องจากมิได้ประกอบอาชีพ ประสงค์จะให้เปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้ร้องทั้งผู้ร้องรับราชการเป็นทหาร สามารถอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาและความอบอุ่นแก่เด็กหญิง ป. ได้ หากเป็นจริงย่อมถือได้ว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในภายหลังแล้ว ศาลจึงมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองได้โดยคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของเด็กหญิง ป. เป็นสำคัญหาใช่เป็นเรื่องไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลไม่แม้ผู้ร้องสอดเสนอคดีโดยทำเป็นคำร้องขอศาลก็รับคำร้องขอของผู้ร้องไว้พิจารณาได้
         5. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2546 บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าไม่มีข้อความใดระบุให้จำเลยต้องนำบุตรทั้งสองมาอยู่บ้านของจำเลยที่จังหวัดสมุทรปราการคงระบุเพียงว่าให้บุตรทั้งสองอยู่ในอำนาจปกครองของจำเลยซึ่งเป็นบิดาเท่านั้น จำเลยซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองย่อมมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรทั้งสองได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(1) การที่จำเลยยังคงให้มารดาของตนเลี้ยงดูบุตรทั้งสองต่อมาภายหลังการหย่าโดยจำเลยไปเยี่ยมเยียนพร้อมทั้งส่งเงินค่าเลี้ยงดูให้ตลอดมาย่อมเป็นการใช้อำนาจปกครองอันเหมาะสมและสอดคล้องกับพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการหย่า
         เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าต่อมาโจทก์หายจากโรคเครียดเป็นปกติ และทำงานเป็นเสมียนทนายความมีเงินเดือน ๆ ละ 12,000 บาท โจทก์ได้รับบุตรทั้งสองมาเลี้ยงดูตั้งแต่ปี 2540 จนถึงวันฟ้อง โดยให้บุตรทั้งสองศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการและจำเลยได้เคยไปเยี่ยมบุตรทั้งสองที่โรงเรียนด้วย หากจำเลยนำบุตรทั้งสองกลับไปให้มารดาของจำเลยเลี้ยงดูที่จังหวัดนครสวรรค์อีกครั้ง ก็อาจเป็นการกระทบกระเทือนต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของบุตรทั้งสอง ซึ่งโจทก์เป็นผู้เลี้ยงดูอย่างเป็นปกติสุขตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา เมื่อคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรทั้งสองประกอบกับพฤติการณ์ที่ได้เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าวแล้ว จึงมีเหตุสมควรเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองจากจำเลยซึ่งเป็นบิดา มาเป็นโจทก์ซึ่งเป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520 และ 1521 โดยให้จำเลยมีสิทธิติดต่อเยี่ยมเยียนบุตรทั้งสองได้ตามควรแก่พฤติการณ์ตามมาตรา 1584/1
 
 

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

atchara

atchara

ผู้เยี่ยมชม

21 เม.ย 2557 23:21 #1

:r::r::r:

atchara

atchara

ผู้เยี่ยมชม

แม่เลี้ยงเดี่ยว

แม่เลี้ยงเดี่ยว

ผู้เยี่ยมชม

16 ก.ย. 2558 07:36 #2

ขออนุญาตสอบถามค่ะ ดิฉันร้อนใจเป็นอย่างมาก ดิฉันปกครองร่วมกับอดีตสามี เคยประนีประนอมแล้ว เราอนุญาติให้เขาเยี่ยมลูกได้ และสามารถพาลูกไปค้างได้เดือนละ 1 ครั้ง คือ ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ แต่ปัญหาคือเขามารับลูกไปเกินเวลาจนลูกขาดโรงเรียนหลายวัน เดือนที่แล้วขาดเรียน1 อาทิตย์ เดือนนี้ขาด รร 2อาทิตย์ กลับมาพฤติกรรมเปลี่ยนไป จากเรียบร้อยเป็นก้าวร้าว ดิฉันสามารถฟ้องถอนอำนาจได้มั้ยคะ อยากปกครองคนเดียว แต่ให้เค้าเยี่ยมได้เหมือนเดิม จะพอเป็นไปได้มั้ยคะ รบกวนด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

แม่เลี้ยงเดี่ยว

แม่เลี้ยงเดี่ยว

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

20 ก.ย. 2558 10:23 #3

ตอบคำถามแม่เลี้ยงเดี่ยว
      กรณีตามคำถามถือว่าบิดาเด็กใช้อำนาจปกครองบุตรโดยไม่ชอบทำให้เกิดความเสียหายแก่เด็กและอนาคตของเด็กเป็นอย่างมาก ดังนั้น คุณจึงมีสิทธิฟ้องศาลเยาวชนและครอบครัวเพื่อเพิกถอนอำนาจปกครองบุตรของบิดา โดยให้คุณมีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวได้ครับ 

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

[bfk

[bfk

ผู้เยี่ยมชม

2 ก.พ. 2559 23:06 #4

ถ้าในใบหย่าระบุให้บิดาเป็นผู้ปกครองเด็ก แต่ภายหลังทั้งคู่ตกลงยินยอมจะเปลี่ยนให้เด็กไปอยู่ในปกครองของมารดาซึ่งอยู่ต่างประเทศแทน กรณีนี้จำเป็นต้องยื่นฟ้องไหม มีขั้นตอนวิธีการอย่างไรเพื่อเปลี่ยนอำนาจโดยง่าย
ขอบคุณครับ

[bfk

[bfk

ผู้เยี่ยมชม

ธัญรดี

ธัญรดี

ผู้เยี่ยมชม

15 เม.ย 2559 18:37 #6

ขอเรียนปรึกษา ดิฉันกับอดึตสามี มีบุตร ด้วยกัน 2 คน และหย่ากันในแนบท้ายใบหย่า ดิฉันเป็นผู้ปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว โดยศาลได้มีข้อตกลงกันระหว่าง 2 ฝ่ายว่าในช่วงปิดเทอม ฝ่ายอดีตสามี สามารถมารับบุตรไปได้เป็นเวลา 13 วัน แต่พอมารับแล้วเลยเวลาแล้วและ ได้โทรไปตามให้เอาบุตรมาคืน แต่ฝ่ายอดีตสามีไม่ยอมคืน และดิฉันได้ลงไปรับบุตรด้วยตนเองแต่อดีตสามีนำบุตรไปซ่อนเลยไม่ได้รับบุตรมา จากเหตุการนี้ดิฉันสามารถทำอะไรได้บ้างค่ะ เพื่อที่จะได้ลูกคืนมา และสามารถยกเลิกการมารับบุตรในช่วงปิดเทอมได้ใหม ค่ะ
และขอเรียนปรึกษาอีกเรื่องคืนในแนบท้ายใบหย่าได้บันทึกไว้ว่าบ้านหลังที่อยู่สระบุรีขายและแบ่งกันคนละครึ่ง แต่ไม่ได้กำหนดวันไว้ค่ะ ซึ่งตอนแรกดิฉันยังไม่ได้ประกาศขายเพราะบ้านหลังที่อยู่ภาคเหนือยังสร้างไม่เสร็จ ระบุไว้ว่าจะต้องโอนเป็นของบุตรทั้งสอง แต่ทางอดีตสามียังไม่ได้โอนให้ จนกระทั่งประมาณปลายเดือนธันวาคน 2558 ทางอดีตสามีได้โอนสิทธิมาให้บุตร 75% เลยดิฉันได้ทำการก่อสร้าง และตอนนี้ยังสร้างไม่เสร็จดี แต่ดิฉันได้ย้ายเข้ามาอยู่และ ได้ประกาศขายบ้านหลังที่อยู่สระบุรี แต่พอขายได้ทางอดีตสามีได้อายัดไว้ที่ดินเลยทำให้ขายไม่ได้ และตอนนี้เขามาฟ้องว่าดิฉันเงื่อนไขการหย่า ดิฉันจะต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ

ธัญรดี

ธัญรดี

ผู้เยี่ยมชม

จักรกฤช คุณเฉย

จักรกฤช คุณเฉย

ผู้เยี่ยมชม

18 พ.ค. 2559 11:27 #7

สอบถามหน่อยครับ ยื่นฟ้องเพิกถอนการปกครองบุตร ต้องยื่นที่ศาลเยาวชนและครอบครัว ของในจังหวัดนั้นๆที่บุตรมีทะเบียนบ้านอยู่ใช่ไหมครับ

จักรกฤช คุณเฉย

จักรกฤช คุณเฉย

ผู้เยี่ยมชม

Cactus

Cactus

ผู้เยี่ยมชม

26 พ.ค. 2559 10:27 #8

สวัสดีค่ะ

รบกวนสอบถามถ้าในใบหย่าระบุให้บิดาเป็นผู้ปกครองเด็ก แต่ จริงๆเด็กไม่เคยอยู่กับบิดาเลย แต่ภายหลังทั้งคู่ตกลงยินยอมจะเปลี่ยนให้เด็กไปอยู่ในปกครองของมารดาซึ่งอยู่ต่างประเทศแทน กรณีนี้มีขั้นตอนวิธีการอย่างไรเพื่อเปลี่ยนอำนาจ และถ้าต้องยื่นฟ้องศาล จะต้องยื่นศาลที่จดทะเบียนหย่าหรือจะต้องยื่นที่ศาลที่เด็กมีทะเบียนบ้านอยู่ค่ะ
ขอบคุณค่ะ

Cactus

Cactus

ผู้เยี่ยมชม

Duangdow

Duangdow

ผู้เยี่ยมชม

11 ก.ค. 2559 14:16 #9

รบกวนสอบถามค่ะ
ตอนที่หย่ากับสามี ดิฉันได้แบ่งลูกกันเลี้ยงคนละบ้าน ซึ่งคนโตอยู่กีบอดีตสามี ส่วนคนเล็กอยู่กับดิฉัน และในใบหย่าได้มีการระบุไว้ว่า บิดาเป็นผู้ปกครองของลูกทั้ง2คน ซึ่งตอนนั้นดิฉันไม่มีความรู้เรื่องกฏหมายเลยจึงได้ตกลงให้เป็นไปตามที่ทางที่เขตที่ดิฉันไปจดทะเบียนหย่าบอก ทางเขตให้เหตุผลว่า พ่อของเด็กรับราชการลูกสามารถเบิกและใช้สิทธิ์ได้แต่หลังจากที่หย่ากันแล้ว ทางอดีตสามีไม่ได้มีการติดต่อกลับมาหาลูกคนเล็กแต่อย่างใดพอจะติดต่อธุระก็ไม่สามารถติดต่อได้ และเมื่อถึงเวลาที่ดิฉันจะไปทำเรื่องย้ายทะเบียนบ้านของลูกคนเล็กมาอยู่บ้านดิฉันเพื่อจะให้ลูกเข้าเรียน ทางเขตแจ้งว่าไม่สามารถย้ายได้เนื่องจาก อดีตสามีเป็นผู้ปกครองเด็ก ดิฉันจึงอยากจะยื่นคำร้องขอเปลี่ยนผู้ปกครองของลูกคนเล็กเป็นดิฉันเพียงคนเดียว จะได้ไหมค้ะ รบกวนตอบกลับด้วยน่ะค้ะ จะทางบล็อกหรือทางe-mail ก็ได้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

Duangdow

Duangdow

ผู้เยี่ยมชม

ธนยศ ช่างทอง

ธนยศ ช่างทอง

ผู้เยี่ยมชม

26 ส.ค. 2559 11:44 #10

ขอสอบถามหน่อยครับ
จะขอเพิกถอนอำนาจการปกครองบุตร จากภรรยาที่หย่า ต้องทำอย่างไรครับ เพราะ
ภรรยาเก่าไปอยู๋เมกา ทิ้งลูกให้อยู่คนเดียวลำพังมาตลอด ลูกชายอายุแค่ 11 ขวบ
เวลาสามีใหม่มา ก็ให้มาอยู่นอนโซฟาด้านนอก กินอาหารในตู้เย็น ต้องถูกกักขังในห้องคนเดียว
ลูกชายส่งline มาเล่าให้ฟัง และจะนำลูกกลับมาเมืองไทยได้อย่างไรครับ
ขอบคุณครับ

ธนยศ ช่างทอง

ธนยศ ช่างทอง

ผู้เยี่ยมชม

Single mom

Single mom

ผู้เยี่ยมชม

21 มี.ค. 2560 04:46 #11

สวัสดีค่ะ
ขอสอบถามหน่อยนะคะ เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวเหมือนกันค่ะ พ่อเด็กเป็นชาวต่างชาติ แต่เราไม่เคยแต่งาน ไม่มีการจดทะเบียนสมรส และได้เลิกรากันตั้งแต่ดิฉันท้องได้เพียง 5 เดือน เพราะฝ่ายชายไม่ยอมรับว่าเป็นลูกของตนเอง หลังจากบุตรเกิดมาจนกระทั่งอายุได้ 5 ขวบ ฝ่ายชายก็ไม่เคยส่งเสียเลร้ยงดูเลยสักนิดเดียว ทั้งที่ก็มีการติดร่อและเห็นรูปลูก จนได้ไปตรวจดีเอ็นเอพิสูจน์สายสัมพัธ์ ก็มีช่วยค่าเทอมเพียงเล็กน้อย ประมาณแต่ สามสี่เทอม แต่ก็แค่ไม่กี่บาท ตอนแรกก็ตกลงใจจะให้ลูกำปเรียนที่เมืองนอกกับพ่อเขา แต่ดิฉันพ่อเขามีปัญหากัน ทะเลาะกันตลอด เพร่ะฝ่ายโน้นไม่รับฟังอะไรจากใครทั้งนั้น ตอนนี้เขาบอกว่าเขาได้ไปหาทนายความให้ดำเนินการเตรียมเอกสารเพื่อจะเอาตัวลูกไปเมืองนอกทันที ดิฉันขอถามว่า
1. หากเขาไปร้องต่อศาลในการขอจดทะเบียนรับรองบุตรหรือขออำนาจศาลสั่งให้เป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย เขาจะได้อำนาจเลยหรือไม่
2.ถ้าเขาร้องขอเป็นผู้มีอำนาจในการปกครองเด็กต่อศาล เขาจะได้อำนาจนั้นและมีสิทธิ์เลยหรือไม่ เพราะดิฉันเองก็ยังมีชีวิตอยู่และมิได้เป็นไร้ความสามารถ มีงานทำ
3. หากจะต้องทำหนังเดินทางสองสัญชาติของเด็ก เพื่อจะนำเด็กไปเรียนอยู่ต่างประเทศโดยคนเป็นพ่อ จะต้องให้ทำบัตรประชาชนไทยก่อนใช่มั่ยคะ ตอนนี้น้องอายุ 6 ขวบย่าง 7 ขวบ ( เดือนสิงหาคมนี้ 7 ขวบ )

ในกรณีของดิฉันนี้การดำเนินการเกี่ยวลูกจะต้องได้รับความยินยอมจากดิฉันเท่านั้นใช่มั้ยคะ
ขอรบกวนตอบให้ทางอีเมลด้วยก็ดีค่ะ ทั้งจากที่ดิฉันถาม และรายละอียดอื่นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรณีของดิฉันด้วยค่ะ
และขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

อีเมล์ : orawan0892464253@gmail.com

Single mom

Single mom

ผู้เยี่ยมชม

เลขาทนายภูวรินทร์  081-9250-144

เลขาทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

24 มี.ค. 2560 16:25 #12

เนื่องจากคุณทนายภูวรินทร์ติดธุระทำคดีที่ศาลต่างจังหวัดประมาณ 3-4 วัน ดิฉันจึงได้ฝากข้อความ เรื่องราวและคดีความรวมถึงทุกปัญหาที่ทุกท่านได้ฝากไว้ให้กับทางคุณทนายภูวรินทร์แล้วค่ะ 
ซึ่งคุณทนายภูวรินทร์ขอเรียนแจ้งว่า สำหรับทุกปัญหานั้นคุณทนายจะรีบกลับมาตอบให้อีกครั้งและจะติดต่อกลับทุกท่านที่มีความทุกข์ใจด้านกฎหมายค่ะ 
กรณีที่ต้องการสอบถามข้อกฎหมายเร่งด่วนนั้นสามารถติดต่อคุณทนายภูวรินทร์ได้ที่เบอร์  081-9250-144หรือสอบถามไปทางไลน์ ID LINE  081-9250-144

 ขอขอบคุณและขออภัยในความล่าช้าค่ะ

เลขาทนายภูวรินทร์  081-9250-144

เลขาทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

29 มี.ค. 2560 16:24 #13

 ตอบคำถามคุณ Single mom

กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน บิดาจะต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายก่อน จึงจะมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรตามกฎหมาย
แม้ศาลจะพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาแล้วก็ตาม แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้บิดาหรือมารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ศาลจะต้องพิจารณาจากพฤติการณ์และข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆ ไป เมื่อบิดาไม่เคยสนใจ ไม่เคยให้การช่วยเหลือคุณในการอุปการะบุตรมาก่อน หรือให้แต่เล็กน้อย การที่จะมาฟ้องแล้วเอาบุตรไปอยู่ด้วยเป็นเรื่องยาก (ฟ้องได้ แต่ไม่ชนะคดี) ไม่ใช่มีเงินก็ทำได้ แต่ศาลจะพิจารณาจากการเลี้ยงดู ความรักความอบอุ่น การดูแลเอาใจใส่ เป็นต้น ดังนั้น จึงไม่ต้องกังวลใจหากคุณให้การอุปการะบุตรอย่างดี สามารถนำสืบหลักฐานเพื่อไม่ให้สามีได้บุตรไปแน่นอน
กรณีคุณไม่ได้จดทะเบียน ถือว่าเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายฝ่ายเดียว สามารถไปทำหลักฐานที่เขตหรืออำเภอว่าเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองฝ่ายเดียว แล้วไปดำเนินการขอออกหนังสือเดินทางได้ แต่หากฝ่ายสามีเป็นผู้ดำเนินการต้องฟ้องศาลเพื่อเป็นบิดาที่ชอบกฎหมายเสียก่อน และต้องให้ศาลพิพากษาว่าเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองฝ่ายเดียวเท่านั้น จึงจะทำได้ ยกเว้นคุณไปให้ความยินยอมในการออกหนังสือเดินทาง

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

นิตยา

นิตยา

ผู้เยี่ยมชม

26 มิ.ย. 2560 21:39 #14

สวัสดีคะ
ขอรบกวนสอบถามดังนี้คะ. สามีภรรยาหย่ากัน. ตามคำสั่งศาลให้ปกครองบุตรร่วมกัน ลูกอยู่กับสามีคะ คราวนี้สามีจะพาเด็กไปทำพาสปอร์ต ต้องให้แม่เซ็นต์ยินยอม พร้อมใช้เอกสารของแม่ ได้ติดต่อกับแม่เด็ก แม่ของเด็กนิ่งเฉยไม่ใส่ใจเลย กรณีเช่นนี้มีวิธีทำอย่างไรได้บ้างคะ ที่จะให้เด็กทำพลาสปอร์ตได้ เด็กอายุ 12 ปีคะ เด็กอยู่กับพ่อก่อนเลิกกับแม่ พ่อแม่หย่า มา 6 เดือนแล้วคะ 5tcgnj5

นิตยา

นิตยา

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

9 ก.ค. 2560 23:43 #15

ตอบคำถามคุณนิตยา
      กรณีตามคำถามต้องฟ้องศาลเพื่อเพิกถอนอำนาจปกครองของมารดาเด็กก่อน เพื่อให้บิดามีอำนาจปกครองแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นครับ เมื่อฟ้องศาลแล้ว หากมารดามาศาลก็ไกล่เกลี่ยกันหรือตกลงไปทำหนังสือเดินทางก่อนพิจารณาคดีได้ หากไม่มาศาล ก็สืบพยานฝ่ายเดียว เมื่อศาลพิพากษาให้มีอำนาจปกครองคนเดียวแล้ว ก็สามารถไปทำหนังสือเดินทางให้ลูกได้ครับ

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

suthiphong

suthiphong

ผู้เยี่ยมชม

26 ส.ค. 2560 11:23 #17

ขอนุญาตเรียนถามครับ หากหย่า และต้องการเลี้ยงดูบุตรซึ่งตั่งแต่เด็กเกิดมาก็เลี้ยงดูอยู่บ้านผมตลอด แต่หากหย่ากันแล้วผมกับแม่เด็กตกลงกันไม่ได้ว่าใครจะดูแล คือทั้ง2ฝ่ายก็อยากดูแลครับ กรณีแบบนี้ศาลจะตัดสินแบบไหนครับ

suthiphong

suthiphong

ผู้เยี่ยมชม

บัญชา ทองแม้น

บัญชา ทองแม้น

ผู้เยี่ยมชม

8 ก.ย. 2560 02:11 #19

ด้วยความเคารพครับกระผมมีข้อซักถามซึ่งมีเนื้อหาดังนี้
ผมและภรรยาได้แต่งงานกันตามประเพณี มีลูกด้วยกันสองคนและก่อนหน้าที่จะมีลูกเราได้สัญญาตกลงกันเอาไว้ว่าถ้ามีลูกเราจะเลียงกันเองแม้ว่าจะต้องทุกข์ยากลำบากสักแค่ไหนก็ตามโดยมิให้พ่อแม่ของทั้งสองฝา่ยต้องเดือดร้อนหรือเข้ามาเกี่ยวข้องและถ้าหากวันหนึ่งวันใดมีเหตุคให้ต้องเลิกราหรือแยกทางกันถ้าใครจะเป็นฝ่ายได้เลี้ยงลูกจะต้องเอาลูกไปเลี้ยงทั้งสองคนเพราะเป็นลูกสาวทั้งคู่จึงไม่อยากให้ลูกต้องแยกจากกันเพราะกลัวว่าลูกจะเหงา และก็มีเหตุให้ต้องแยกทางกันจริงๆส่วนลูกในช่วงสองสามเดือนแรกเราแบ่งกันเลี้ยงคนละตนโดยผมเอาคนโตมาเลี้ยงส่วนภรรยาก็เอาคนเล็กเพราะเขายังเล็กมากแต่ก็ให้ยายมารับไปนอนด้วยกันทุกวันศุกร์และใก้นำมาส่งคืนในวันอาทิตย์ก่อนตะวันตกดินเพื่อจะได้ไปโรงเรียนในวันจันทร์แต่พักลังพอฝ่ายภรรยามารับไปแล้วก็มาส่งช้าบ้างไม่ส่งคืนบ้างจนบางครั้งลูกสาวคนโตต้องขาดเรียน ผมก็ตอ้งไปรับลูกกลับมาเองพอบ่อยๆเข้าผมสังเกตุเห็นว่าลูกมีอาการซึมเหมือนจะคิดถึงแม่กับน้องมาก ผมอดสงสารลูกไม่ได้ก็เลยปล่อยให้เขาเอาลูกไปอยู่ด้วยกันทังคู่ซึ่งตอนนั้นเป็นช่วงปิดเทอมพอดี..ส่วนผมก็คอยไปเยี่ยมลูกเป็นประจำ แต่พอนานๆเข้าผมรู้สึกว่าทางฝ่ายภรรยาจะไม่อยากต้อนรับผมสักเท่าไหร่นักความห่างเหินจึงเริ่มเว้นระยะของผมกับลูกมากขึ้นตามลำดับพอลูกไปอยู่กับแม่ได้ประมาณสองเดือนผมได้ยินข่าวว่าภรรยาจะไปทำงานกรุงเทพเพราะกลัวว่าผมจะมาอ้อนวอนขอคืนดีด้วยซึ่งภรรยาไม่ประสงค์แต่สำหรับตัวผมเองนั้นยังงัยก็ได้แต่ถ้าเลือกไผมก็จะทำให้ครอบครัวกลับมาเหมือนเดิมซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อกับแม่ควรกระทำเพื่อลูกมิใช่หรือแต่สุดท้ายมันก็เป็นไปไม่ได้ดังนั้นผมจึงเข้าไปเจรจาเพื่อขอลูกมาเลี้ยงเองโดยอันดีบแรกได้พูดคุยเจรจากับผู้เป็นพ่อของภรรยาว่าจะให้ผมทำยังงัยกับเรื่องลูกผมได้รับคำตอบอย่างเป็นกลางกลับมาว่าแล้วแต่พวกเราสองคนจะตกลงกันเอาเอง ผมจึงได้ไปถามภรรยาต่ออีกว่าตกลงจะไปทำงานจริงหรือ ภรรยาตอมว่าใช่จะไปทำงานหาเงินส่วนลูกก็จะปล่อยไว้ให้อยูู่กับยายผมจึงได้โอกาสทวงสัญญาทีเคยตกลงกันไว้..และถามภรรยาซ้ำอีกว่าจะไปทำงานหรือจะอยูู่เลียงลูกถ้าจะอยู่เลียงลููกก็ไม่ต้องไปทำงานผมจะเป็นฝ่ายไปทำงานหาเงินส่งเสียลูกเองอย่างน้อยๆก็ให้ลูกเห็นว่าเรายังเป็นครอบครัวอยู่แต่ภรรยาผมเขาก็ยังยืนยันคำเดิมว่าจะไปผมกเลยขอลูกมาเลี้ยงเองฝ่ายภรรยาก็ยอมแต่โดยดีเพราะเหตุผลของคนจะไป แต่ความจริงแล้วผมก็ไม่อยากเอาลูกมาเท่าไหร่นักหรอกเพราะสงสารลูกที่ต้องก่างจากแม่โดยที่ไม่ได้รูเรื่องรู้ราวอะไรดว้ยเลย แต่กระนั้นแม่ของลูกก็ไม่มีท่าทีว่าจะหวงแหนหรือเหนี่ยวรั้งที่จะยื้แย่งเอาลูกไว้กับตัวเองเลยแ้มแต่น้อย ผมจึงได้เอ่ยถามย้ำเป็นครั้งที่สามว่า แน่ใจแล้หรือที่จะยอมให้ผมเอาลูกไป ภรรยาผมตอบกลับมาว่าถ้าอยากได้ก็เอาไปเลยเดี๋ยวมันโตมันก็มาเิงแหละ ผมจจึงไม่รีรอรีบตัดสินใจพาลูกขึ้นรถกลับมาอยู่กับผมทันทีอย่างไม่ลังเล พอไมนานก็ได้ยินข่าวว่าภรรยาของผมไปแต่งงานใหม่และมีลูกกับสามีใหม่อีกหนึ่งคน จนเวลาผ่านไปสามปีเกือบสี่ปีก็ไม่มีการการมาแสดงสิทธิไดๆเพื่อผลประโยชน์ของลูกประการใดเลยทั้งที่ตัวเองมีสิทธิ์เต็มทีในตัวลูกอยูแล้วทุกประการแต่ก็ไม่ยอมทำ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมผิดหวังในตัวแม่ของลูกเป็นอย่างมาก ตลอดระยะเวลาสี่ปีผมยอมทำทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเยียวยาสภาพจิตใจของลูกเพื่อให้ลูกอยู่ได้อย่าเข้มแข็งในเวลาที่ต้องอยู่ลำพังซึ่งอาจไม่มีทั้งพ่อทั้งแม่(ผมหมายถึงเมื่อเขามีครอบครัวครับ)และผมก็พยามตลอดเวลาที่จะพยามติดต่ออดีตภรรยาเพื่อตกลงเจรจาโดยมีเจตนาที่แท้จริงคือเพื่อให้เขามารับผิดชอบตามหน้าที่ตามกฏหมายและให้คำมั่นสัญญายืนยันอย่างเป็นลายลักษ์อักษรเพื่อที่ผมจะได้รับขอรองบุตรเพื่อใหผมได้มีโอกาสดูแลส่งเสียลูกบ้างเวลาที่ไม่ไดอยู่กับผมแล้วและเพื่อให้ลูกๆของผมได้รับสิทธิอย่างเต็มที่ในการรับมรดกในส่วนของผมในอนาคตซึ่งก็เป็นจำนวนมหาศาลพอสมควรซึ่งอาจจะมากว่าของทุกคนทีานี่นี่เมื่อนำมารวมกัน ซึ่งผมผู้เป็นพ่อไม่อาจปล่อยปละเลยให้เรื่องแบบนี้ผ่านไปโดยที่ไม่มีนิติกรรมใดๆมิได้ แต่ก็ไม่เคยเลยที่เขาจะมาเคลียปัญหาด้วยตัวเอง ซํ้าทางครอบครัวยังช่วยกันปกปิดทั้งเบอโทรทั้งที่อยู่ทุกช่องทางที่จะสามารถติดต่อได้เห็ตผลเพราะกลัวว่าผมจะไปทำร้ายกลัวผมจะไปก่อกวนกลัวผมจะไปพาแม่ของลูกกลับมา ซึ่งก็เป็นแค่ข้ออ้างแถมยังให้ร้ายผมอีกด้วยซึ่งผมเองก็พยายามอดทนเรื่อยมาซึ่งในบางครั้งก็แทบจะทนไม่ได้แต่พอนึกถึงลูกก็ทำให้ทุกอย่างเย็นลง พรรคหลังเวลาผมต้องการเจรจาเรื่องเดิมๆเขาก็ส่งแต่พ่อกับแม่และญาติๆมาซึ่งก็ถูกผมไล่ตะเพิดกลับไปทุกทีผมจะไม่มีวันเจรจรจาด้วยเป็นอันขาดเพราะผมเห็นว่านี่มันไม่ใช่เรื่องของพวกเขาเลยแต่เรื่องของลูกมันจะต้องเป็นหน้าที่ของพ่อและแม่ผู้มีสามัญสำนึกเท่านั้นที่จะต้องมีหน้าที่เพื่อวางรากฐานชีวิตทีดีที่สุดเท่าที่พ่อแม่คนหนึ่งจะมีความสามารถทำได้ในทางกลับกันเขากลับไม่ยอมทำอะไรเลย..โดยปกติผมจะอนุญาติให้ไปหาลูกที่โรงเรียนได้โดยที่ไม่ต้องบอกกล่าวก็ได้และอนุญาติให้มารับไปไปนอนค้างได้เดือนละ1-2ครั้งหากไม่ติดธุระสำคัญใดๆที่ลูกจะต้องอยู่ร่วมด้วยโดยวันที่ไปให้ตรงกับวันศุกร์เย็นให้มารับที่บ้านหลังเลิกเรียนและนำมาส่งคืนในวันอาทิตย์ก่อนตะวันตกดินแต่ก็ไม่เคยนำกลับมาส่งตรงเวลาเลยแม้แต่ครังเดียวพอผมไม่ให้ไปก็พาลโกรธเกลียดพูดจาว่าเสียๆหายๆต่างๆนาซึ่งไม่เคยคำนึงเลยว่าที่ผ่านมาผมต้องทนทุกข์แทบกลั้นน้ำตาไม่อยู่เป็นประจำที่ตต้องนั่มองลูกนอนน้ำตาไหลสะอึกสะอื้นจนหลับทุกวัน..และนานถึงสองปีกว่าที่ผมพยายามทุ่มเททั้งร่ายจิตใจใช้จิตวิทยาพื้นฐานสรรหาวีคิดวิทยาการต่างๆนาเพื่อมาบำบัติเยียวยาฟื้นฟูสภาพจิตใจของลูกทั้งสองคนจนทำให้ลูกเข้าใจเหตผลเกิดเขึ้นและอยู่ได้อย่างเด็กปกติทั่วไปผมพยายามรีบเร่งซึมซับวิถีชีวิตให้ลูกเพื่อความอยูรอดในอนาคตโดยการทุ่มเทเวาลาทั้งหมดหมดคลุกคลีอยู่กับลูกฝึกพื้นฐานให้ลูกทุกศาสตร์ทุกแขนงโดยใช้วิธีการให้ลูกฝึกลงมือปฏิบัติจริงตามความสามาถที่ประเมินแล้วว่าลูกของผมจะทำได้โดยให้ลูกฝึกการใช้ชีวิตทุกอย่างแบบรู้จักคิด คาดคเน วิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นจากเที่มาด้วยเหตุและผลและการเรียงลำดับความสำคัญอย่างเป็นขั้นเป็นตอนแล้วลูกก็ทำได่ดีมากจนทำให้ผมหายหว่วงเมื่อถึงเวลาที่ไม่มีผมอยู่ด้วยแล้วนั้นเพราะผมรู้ดีว่ามันสมควรแก่เวลาเวลาแล้วที่ลูกจะต้องได้อยู่อกับแม่ได้อย่างปลอดภััยผมจึงค่อยๆลองปล่อยให้ลูกอยู่ลำพังเวลาที่ไม่มีทั้งพ่อและแม่อยู่ด้วยลูกจะมีความรับผิดชอบหรือไม่จะดูและปฏบัติต่อกันอย่างไรซึ่งผมแค่แอบซุ่มดูอยูไม่ได้หนีห่างไปไหนจนมั่นใจว่าลูกอยูู่ได่อละพร้อที่จะรืนลูกให้แม่แต่โดยดีด้วยการมาเจรจาวางแผนอนาตร่วมกันก่อนเพื่อที่ผมเองก็จะได้ขอรับรองบุตรเพื่อทำหน้าที่พ่อให้สมบูีณร์.แต่แม่ของลูกก็ยังไม่ยอมลดทิตถิ
ไม่มีวีแววที่จะยอมพูดคุยเจรจาไดๆจนผมรู้สึกว่าถ้าหากเอาพฤติกรรมเปรียบเทียบในเชิงจิตวิทยาลักษณะอาอารเข้าข่ายมีปัญหาทางจิตระยะทีหนึ่งถึงขั้นที่สองแล้วซึ่งมีสาเหตุมาจากพื้นฐานทางความคิดและจิตใจที่ถูกสมองซึ่งได้รับมาและเก็บสะสมไว้เป็นเวลานานสังการออกมาเองโดยที่ไม่ได้คัดกรองสาเหุตหลักก็คือพื้นฐานการเลี้ยงดูตามวีถีที่ผิดๆมานเป็นนิิจจนเป็นนิสัยหรือสันดานหรืออาจเกิดจากการได้รับการกระทบกระเทือนทางสมองจนเป็นเหตให้เส้นสมองบางส่วนเสียหายกระบวนการทำงานของสมองจึงผิดเพี้ยนไปจากคนอื่นๆที่ปกติธธรรมดาทั่วไป ด้วยเหตุผลทั้งปวงที่ได้กล่าวมาบ้างแล้วข้างต้นนี้ทำให้ผมผู้เป็นพ่อซึ่งเป็นผู้อยู่ดูแลส่งเสียลูกแลีียงดูลูกแลอยูกับลูกตลอดเวลาไม่สามารถยินยอมปล่อยให้ลูกไปช้ชีวิตความเป็นอยู่แบบสุ่มเสียงกับมารดาได้หากแต่ยินยอมให้ไปมาหาสูู่ได้ตามความเหมาะสมตามหลักการของคุณธรรมจรยธรรมแต่มีขอบเขตซึ่งจะต้องเจรจาและตกลงกำหนดขึ้นเองตามความเหมาะสมและยอมรับได้ของทั้งสิงฝ่าย ดังนั้นกัรผมจึงขอยื่นคำร้องขออำนาจศาลสั่งให้ถอดถอนสิทธิการปกครองบุุตรขอของนางสาวรัติกาล พบพล และขอใช้สิทธิปกครองบุตรผู้เยาแต่เพียงผู้เดียว

บัญชา ทองแม้น

บัญชา ทองแม้น

ผู้เยี่ยมชม

ภูเบศร์

ภูเบศร์

ผู้เยี่ยมชม

3 พ.ย. 2560 09:56 #20

อำนาจปกครองบุตรอยู่กับภรรยา สลักหลังใบหย่าว่าศุกร์เสาร์อาทิตย์ ปิดเทอมลูกมาอยู่กับผมได้ แต่หลังจากนั้นเค้ากีดกันไม่ให้ผมได้พบเจอลูกอีกเลยไปหาก็ไม่ยอมให้รับลูกออกมา ผมจะทำอย่างไรครับต้องการลูกมาเรียนด้วย หรือถ้าไม่ได้ไม่ชนะขอแค่แบ่งเวลาลูกตามเดิมให้ผมบ้างครับ

ภูเบศร์

ภูเบศร์

ผู้เยี่ยมชม

รักจัง

รักจัง

ผู้เยี่ยมชม

10 พ.ค. 2561 21:55 #21

ขอเรียนปรึกษาค่ะ
น้องชายของดิฉันอยู่กินฉันสามีภรรยากับน้องสะใภ้มีบุตรด้วยกัน1คนต่อมาปี57น้องชายดิฉันเสียชีวิตลูกอายุได้1ปีเศษหลังจากนั้นดิฉันและปู่ย่าก็ได้เลี้ยงดูมาตลอด แม่ของเด็กไปทำงานต่างจังหวัดส่งเงินมานับครั้งได้พอเด็กอายุได้6ปีแม่ของเด็กจะมาเอาเด็กไปอยู่ด้วยอ้างว่าจะพาไปเรียนที่ กทม. แต่ก็ตกลงกันได้ว่าให้เด็กเรียนอยู่ที่เดิม แต่ต่อมาไม่นานแม่ของเด็กได้แอบไปที่โรงเรียนเพื่อจะไปเอาตัวเด็กไปกับตัวเองแต่ทางโรงเรียนไม่ให้ แม่เด็กจึงเข้าไปหาปู่ย่าเพื่อจะขอเอาเด็กไปอยู่ด้วยทางปู่ย่าเลยบอกว่าไม่ได้ห้ามแต่เด็กพึ่งเปิดเรียนรอให้โตกว่านี้ค่อยเอาไปได้ไหมแต่ทางแม่เด็กก็พยายามบังคับเอาเด็กไปแต่เด็กไม่ไปจึงขึ้นรถไปกับดิฉันแม่เด็กจะไปฟ้องศาลดิฉันจะทำยังไงได้บ้างเพราะเด็กก็ไม่อยากไป

รักจัง

รักจัง

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

6 ก.ย. 2561 11:23 #22

ประกาศทราบ
​ช่วงนี้ทนายความไม่ได้เข้ามาตอบคำถามบ่อย หากมีปัญหากฎหมายที่ต้องการคำตอบเร่งด่วน รบกวนส่งคำถามมาที่อีเมลล์ phuwarinlawyer@hotmail.com หรือโทรศัพท์ หรือแอดไลน์มาพูดคุยสอบถามเบื้องต้นได้ก่อนนะครับ 
เบอร์โทร-ไอดีไลน์ 081-9250-144 (ใส่ - ด้วย)

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ปิยรัตน์  ไตรยวงค์

ปิยรัตน์ ไตรยวงค์

ผู้เยี่ยมชม

14 ก.ค. 2562 16:28 #23

บิดาสลักหลังค่ะ ใช้อำนาจกับเรา
ตอนนี้เราอยากเลี้ยงลุกเองบ้าง แต่เขาไม่ยอม ต้องทำไงบ้าง
อยากได้ลูกคืนมา ไม่อยากให้บิดาสลักหลัง
อีกอย่างเค้ามีเมียใหม่ เราไม่อยากให้ลูกเราไปยุกะแม่เลี้ยง
แต่ฝ่ายนั้นไม่ยอม เอาอำนาจสลักหลังมาใช้กับเรา ขอความเป็นธรรมด้วยค่ะ

ปิยรัตน์  ไตรยวงค์

ปิยรัตน์ ไตรยวงค์

ผู้เยี่ยมชม

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้