ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

  ปรึกษาปัญหากฎหมายทั่วไปได้ที่นี่ครับ.. (29466 อ่าน)

30 มี.ค. 2553 10:15

สามารถปรึกษาปัญหากฎหมายทั่วไปได้ในกระทู้นี้ได้เลยครับ
ผมเปิดเป็นกระทู้ไว้สำหรับผู้สงสัยปัญหากฎหมายและข้อสงสัย
ผมและทีมงานทนายความของเราจะตอบทุกข้อปัญหาครับ
*********************************************************

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

น้องออย

น้องออย

ผู้เยี่ยมชม

30 มี.ค. 2553 10:25 #1

เพิ่งได้รับหมายศาลมา จะต้องทำอย่างไรบ้างคะ

น้องออย

น้องออย

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้เยี่ยมชม

30 มี.ค. 2553 16:08 #2

สวัสดีครับ
ก่อนอื่นต้องให้น้องระบุประเภทหมายศาล เพราะจะมีหลายประเภท โดยดูที่หมายนะครับว่า เป็นหมายศาลไหน คดีแพ่งหรือคดีอาญา ในหมายจะระบุไว้นะครับว่าให้ไปศาลเพื่อทำอะไร วันที่เท่าไหร่ ด้านหลังหมายจะมีคำเตือนว่าหากไม่ไปจะมีผลเป็นอย่างไร ให้น้องออยระบุให้ชัดเจนครับ เด๋วตอบไม่ตรงตามที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น หมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล ก็ต้องไปศาลตามที่ระบุไว้ หากไม่ไปจะมีความผิดฐานขัดขืนหมายศาลอาจถูกออกหมายจับได้, หมายเรียกให้ส่งพยานเอกสาร ก็ต้องส่งเอกสารไปตามที่หมายกำหนด ไม่ส่งก็มีความผิด, หมายเรียกและสำเนาคำฟ้องคดีแพ่ง ก็ต้องทำคำให้การต่อสู้คดีภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น  ช่วยระบุก่อนนะครับจะได้ตอบให้ชัดเจน ขอบคุณครับ

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้เยี่ยมชม

น้องออย

น้องออย

ผู้เยี่ยมชม

30 มี.ค. 2553 17:40 #3

เพิ่งได้รับหมายศาลมาทางบ้านค่ะ บอกให้ไปศาลเกี่ยวกับกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
ก่อนหน้านี้ก็ผ่อนมาตลอดนะคะ แต่ที่รู้เค้าให้เราผ่อนได้ 15 ปี แต่ตอนนี้รายรับไม่พอจ่ายเลยไม่ได้ผ่อน จะทำยังไงดีคะ ขอบคุณมากค่ะ

น้องออย

น้องออย

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้เยี่ยมชม

2 เม.ย 2553 11:57 #4

สวัสดีครับ
หาก กยศ.ฟ้องคดีแล้วและมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยตกลงผ่อนชำระเป็นรายเดือน ดังนั้น หากรายรับไม่พอกับรายจ่ายไม่ได้ผ่อนก็ต้องติดต่อเพื่อขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ใหม่ 
         แต่หากกำลังยื่นฟ้องคดีต่อศาล เจ้าหน้าที่ศาลจะส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องมาที่บ้าน น้องก็ไปศาลตามที่หมายแจ้งไว้ โดยไปเจรจาทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลและขอผ่อนชำระกับโจทก์ได้ หากไม่ไปศาลก็จะมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีไปเลย 
         เมื่อศาลพิพากษาแล้ว หรือผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จะต้องบังคับคดีภายใน 10 ปีนับแต่วันพิพากษา หากไม่มีทรัพย์สินอะไรให้ยึดก็ไม่ต้องห่วง โจทก์จะยึดทรัพย์สินของพ่อแม่ญาติพี่น้องไปชำระหนี้ไม่ได้ แต่หากเป็นพนักงานเงินเดือน กฎหมายให้อายัดเงินเดือนได้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นเท่านั้น โดยต้องเหลือให้จำเลยใช้จ่ายเดือนละ 10,000 บาท เช่น หากมีเงินเดือน 12,000 บาท ก็จะถูกอายัดเพียง 2,000 บาท เท่านั้น หากเงินเดือนไม่ถึงหนึ่งหมื่นบาทก็ไม่ถูกอายัดแต่อย่างใด
         ดังนั้น น้องก็พยายามผ่อนต่อไปนะ  มีน้อยก็จ่ายน้อย มีเยอะก็จ่ายเยอะ แล้วแต่สถานการณ์
         การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ..................

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้เยี่ยมชม

กิตติ

กิตติ

ผู้เยี่ยมชม

3 พ.ค. 2553 16:52 #5

เรียนทนายภูวรินทร์ รบกวนครับ

   ญาติผม โดนฟ้องคดีล้ม  ในวันสุดท้ายของอายุความ 10 ปี แพ่งเดิมครับ  ครบเมื่อ กพ.53  ที่ผ่านมา     มีนัดศาลล้ม ปลาย พค.53    ทุนทรัพย์ 1.7ลบ.   ตอนนี้มีทรัพย์สินเกินกว่าทุนฯ  ประมาณ 2.6ลบ.   และมีงานทํามานานกว่า 27 ปี   ซึ่งทรัพย์ที่รวมมีนั้นมีมาหลายปีทั้ง บัญชีฝาก และโฉนดที่ดิน ไม่ใช่ว่าเพิ่งมี    ในเบื้องต้นหลายคนบอกให้สู้คดี   ถ้าเป็นเช่นนี้มีโอกาสชนะไหมครับ  สมมุติศาลยกฟ้อง  ส่วนมากโจทก์จะอุทธรณ์หรือไม่ครับ    และหากจะสู้คดีผมต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างครับ  (ค่าใช้จ่ายเบ็ดเสร็จขอทาง mail ครับ)

ขอบคุณครับ

กิตติ

กิตติ

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้เยี่ยมชม

3 พ.ค. 2553 22:40 #6

เรียนคุณกิตติ
                ก่อนอื่นขอเรียนผลของการถูกศาลพิพากษาล้มละลายว่า การถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย นั้น เมื่อศาลพิจารณาได้ความจริงว่าลูกหนี้เป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว   ก็จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผลตามกฎหมายคือ ลูกหนี้จะจัดการหรือกระทำการเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตนไม่ได้ รวมทั้งจะต้องส่งมอบบรรดาทรัพย์สินของตนให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ที่ยื่นขอรับชำระหนี้ ดังนั้น หากสามารถต่อสู้คดีได้ ก็จะต้องสู้คดีครับ
การต่อสู้คดีล้มละลายตามกฎหมาย หากลูกหนี้สามารถนำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลจะพิพากษายกฟ้อง  การที่ญาติคุณกิตติ ถูกฟ้องคดีล้มละลายมีทุนทรัพย์จำนวน 1.7 ล้านบาท แต่ปัจจุบันมีทรัพย์สินรวมกันประมาณ 2.6 ล้านบาท ซึ่งเกินกว่าทุนทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งเข้าหลักกฎหมายว่า อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด กรณีนี้จึงถือว่าลูกหนี้ไม่ใช่บุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว นอกจากนี้แล้วปัจจุบันญาติคุณกิตติ ประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งมีรายได้แน่นอนสามารถขวนขวายชำระหนี้ได้  จึงมีเหตุที่ไม่ควรให้ล้มละลายอีกด้วย
สำหรับการต่อสู้คดีล้มละลายโดยนำสืบว่ามีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินนั้น เป็นการเปิดเผยทรัพย์สินให้โจทก์รู้ ซึ่งมีผลเสียก็คือ หากยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด โจทก์ก็จะไปบังคับคดีในภายหลังได้ แต่กรณีญาติคุณกิตตินั้น เนื่องจากคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องนั้นขาดอายุความในการดำเนินการบังคับคดีตามกฎหมายแล้ว กรณีนี้จึงไม่มีผลเสียครับ ยกเว้นกรณีที่โจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินรายการใดภายใน 10 ปีแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีก็สามารถบังคับคดีเฉพาะทรัพย์สินรายการนั้นต่อไปได้แม้จะพ้นกำหนดดังกล่าวแล้ว
หากศาลพิพากษายกฟ้องแล้ว ส่วนมากโจทก์จะอุทธรณ์หรือฎีกาครับ ยิ่งเป็นสถาบันการเงินแล้วก็จะอุทธรณ์ จนกว่าจะสิ้นสุดกระบวนการตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้ แต่ก็ต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆไป เช่น หากไม่สามารถอุทธรณ์หักล้างพยานหลักฐานของลูกหนี้ได้เช่นกรณีญาติคุณกิตติ หากนำสืบได้ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ศาลอุทธรณ์ก็ต้องพิพากษายืนอย่างแน่นอนครับ กรณีนี้โจทก์อาจจะไม่อุทธรณ์ก็ได้ครับ
ขอบคุณครับ

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้เยี่ยมชม

กิตติ

กิตติ

ผู้เยี่ยมชม

4 พ.ค. 2553 20:25 #7

เรียนทนายภูวรินทร์ ครับ

เป็นคดีฟ้องที่ศาลล้มละลายกลาง 29 กพ.53   โดย บสท.

เรียนสอบถามเพิ่มครับ

เนื่องจากคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องนั้นขาดอายุความในการดำเนินการบังคับคดีตามกฎหมายแล้ว กรณีนี้จึงไม่มีผลเสียครับ ยกเว้นกรณีที่โจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินรายการใดภายใน 10 ปีแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีก็สามารถบังคับคดีเฉพาะทรัพย์สินรายการนั้นต่อไปได้แม้จะพ้นกำหนดดังกล่าวแล้ว

คําพิพากษาแพ่ง 29 กพ.43  เดิมทีพิพากษาให้ชําระ xxx,xxx  พร้อมดบ. ....  หากไม่ชําระให้ขายทรัพย์จํานอง   ซึ่งทรัพย์จํานองนั้น  ขายทอดตลาดไปแล้ว ปี 47 

เช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการต่ออายุความบังคับคดีในทรัพย์อื่นใช่ไหมครับ  

เพิ่มเติมใน mail ต่อ

กิตติ

กิตติ

ผู้เยี่ยมชม

กิตติ

กิตติ

ผู้เยี่ยมชม

4 พ.ค. 2553 22:32 #8

เรียนทนายภูวรินทร์ ครับ

ในเรื่องการสู้คดีจําเลข ต้องยื่นคําให้การมีกําหนดเมื่อไหร่ครับ  ตอนนี้ยังยื่นได้อยู่ใช่ไหมครับ 

  หากกรณีเอกสารบางอย่างออกไม่ทันในนัดแรก 31 พค.53 นี้  สามารถยื่นเพิ่มภายหลังได้ไหมครับ

ขอบคุณครับ

กิตติ

กิตติ

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้เยี่ยมชม

5 พ.ค. 2553 14:11 #9

สวัสดีครับคุณกิตติ ผมขอตอบคำถามดังนี้ครับ

            1. เรื่องกำหนดเวลาบังคับคดี

              กำหนดระยะเวลาบังคับคดีตามคำพิพากษาคดีแพ่งนั้น โจทก์จะต้องร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ผมจึงอยากทราบว่าคดีแพ่งที่ศาลมีคำพิพากษา นั้น ได้มีการอุทธรณ์ หรือฎีกา หรือไม่ ในกรณีที่ไม่มีการอุทธรณ์ เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน คือภายในวันที่ 31 มีนาคม 2543 ถ้าคู่ความไม่อุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 31 มีนาคม คือกำหนดระยะเวลาบังคับคดีต้องนับแต่วันที่ 1 เมษายน ครับ จึงครบกำหนด 10 ปี ในวันที่ 1 เมษายน 2553 ในชั้นอุทธรณ์ก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันครับ แต่ในชั้นฎีกาคดีจะถึงที่สุดเมื่อฟังคำพิพากษาศาลฎีกา

ตามที่คุณกิตติถามว่า ได้มีการบังคับคดีขายทรัพย์จำนองแล้วเมื่อปี 2547 นั้น ไม่ถือเป็นการต่ออายุความบังคับคดีครับ เพราะกำหนดเวลาบังคับคดีภายใน 10 ปี นั้น เป็นระยะเวลาที่กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาใช้สิทธิบังคับคดีเท่านั้นครับ ไม่ใช่อายุความ ดังนั้น การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไปยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่ทำให้กำหนดเวลาบังคับคดีสะดุดหยุดลง หรือขยายออกไปครับ

ทรัพย์สินรายการใด เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ดำเนินการบังคับคดีภายใน 10 ปี แล้ว แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปทำการยึดหลังจาก 10 ปีแล้ว ก็ถือว่าได้ร้องขอบังคับคดีภายใน 10 ปี แต่ถ้าทรัพย์สินรายการใด เจ้าหนี้ไม่ร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปี ก็หมดสิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินรายการนั้นครับ

ดังนั้น ในปัจจุบันนี้ ก็ถือว่าโจทก์ไม่สามารถดำเนินการบังคับคดีจากลูกหนี้ล้มละลายได้อีกแล้วครับ 

2. การยื่นคำให้การ

ขอตอบคำถามข้อต่อไปนะครับ ในเรื่องการสู้คดีจําเลย  คดีล้มละลายนั้น ตามกฎหมายลูกหนี้ไม่ต้องให้การสู้คดีเช่นคดีแพ่งทั่วไปครับ เพราะกฎหมายล้มละลายมีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลาย แต่ศาลจะต้องพิจารณาความจริงว่าลูกหนี้เป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ และมีเหตุที่จะฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือไม่ครับ

แต่อย่างไรก็ตาม ลูกหนี้ก็ต้องยื่นคําให้การต่อสู้คดีเพื่อแสดงให้เห็นว่า อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด เพราะมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน จึงไม่เป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว โดยยื่นคำให้การในนัดแรกวันที่ 31 พ.ค.53 ครับ หรือกรณีที่ไม่สามารถยื่นทันวันนั้น ลูกหนี้ต้องไปศาลและแถลงขอเลื่อนไปยื่นวันหลังภายในเวลาอันสมควรได้ครับ  หากเอกสารบางอย่างหาไม่ทันในนัดแรก ก็สามารถยื่นเพิ่มภายหลังหรือในวันสืบพยานได้ครับ

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้เยี่ยมชม

ธาตรี

ธาตรี

ผู้เยี่ยมชม

28 พ.ค. 2553 00:57 #10

คุณพ่อของผมเสียชีวิตไป มีบัญชีเงินฝากและรถยนต์ กระผมเป็นบุตรต้องการไปนำเงินออกมาจากบัญชี และโอนรถยนต์เป็นชื่อของผม วันนี้(27 พ.ค.)ไปธนาคาร เจ้าหน้าที่บอกว่าให้ไปยื่นคำร้องที่ศาลขอเป็นผู้จัดการมรดก ส่วนคุณแม่ของผมยังมีชีวิตอยู่แต่ไม่สะดวกที่จะจัดการ กระผมจึงประสงค์จะเป็นผู้จัดการมรดกเอง ต้องทำอย่างไรบ้างครับ และการนำเงินออกจากบัญชีและโอนรถยนต์เป็นชื่อของกระผมมีขั้นตอนอย่างไรบ้างครับ ขอบคุณครับ

ธาตรี

ธาตรี

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

28 พ.ค. 2553 01:27 #11

          การถอนเงินก็ดี การโอนรถยนต์ก็ดี หรือทรัพย์สินที่มีทะเบียน  จะต้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกก่อนครับ
ผู้มีสิทธิยื่นคือคุณธาตรี และคุณแม่ หากคุณแม่ไม่สะดวกที่จะจัดการก็ทำหนังสือยินยอมให้คุณธาตรีเป็นผู้จัดการมรดก โดยยื่นต่อศาลที่คุณพ่อมีทะเบียนบ้าน ไม่ทราบว่าคุณพ่ออยู่อำเภอและจังหวัดไหนครับ 
       ส่วนเอกสารที่ใช้ในการจัดการมรดก มีดังนี้
1. หลักฐานแสดงความสัมพันธ์ของคุณธาตรีกับคุณพ่อ คือ สูติบัตร สำเนาทะเบียนบ้าน
2. ในมรณบัตรของผู้ตาย
3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตาย
4. หลักฐานเกี่ยวกับทรัพย์สิน คือ สมุดเงินฝาก  ทะเบียนรถยนต์
5. บัญชีเครือญาติ
6. หนังสือแสดงความยินยอมของทายาทให้ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก 

      เมื่อยื่นคำร้องแล้วเจ้าหน้าที่ศาลจะประกาศหนังสือพิมพ์ และนัดวันไต่สวนคำร้องใช้เวลาประมาณ 30 - 45 วัน เมื่อถึงวันนัดก็จะมีการสืบพยานโดยคุณธาตรีเบิกความต่อศาล ซึ่งศาลจะไต่สวนว่าคุณธาตรีเป็นทายาทผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ เป็นผู้ที่เหมาะสมและไม่ต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ โดยจะพิจารณาเรียงลำดับดังนี้

1. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องกับผู้ตาย
2. วันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย สาเหตุการตาย และภูมิลำเนาของผู้ตาย
3. ทรัพย์มรดกของผู้ตายมีอะไรบ้าง เอาเท่าที่ตรวจสอบพบ
4. เหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ก็คือ ไม่สามารถโอนได้หรือเบิกถอนเงินได้
5. เรื่องบัญชีเครือญาติ มีใครเป็นทายาทบ้าง
6. ความยินยอมของทายาท
7. คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดก คือ บรรลุนิติภาวะ ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือคนวิกลจริต หรือคนไร้ความสามารถครับ
      เมื่อศาลไต่สวนแล้วก็จะมีคำสั่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ในกรุงเทพมหานครจะได้รับคำสั่งในวันนั้นเลยครับ ส่วนต่างจังหวัดอาจใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์  เมื่อได้รับคำสั่งแล้วก็นำคำสั่งศาลที่เจ้าหน้าที่รับรองสำเนาถูกต้อง  ไปประกอบการขอเบิกเงินและโอนรถยนต์ได้เลยครับ บางหน่วยงานก็ต้องการหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดประกอบการโอนด้วยนะครับ
      มีปัญหาสงสัยประการใดก็สอบถามเพิ่มเติมได้นะครับ

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

คนที่กลุ้มมาก..จะไม่ให้เพื่อนก็จะเสีย

คนที่กลุ้มมาก..จะไม่ให้เพื่อนก็จะเสีย

ผู้เยี่ยมชม

30 พ.ค. 2553 10:18 #12

สวัสดีค่ะ คุณทนายภูวรินทร์ พอดีเพื่อนสนิทแอ้มจะขอยืมเงินแอ้มเพื่อไปลงทุนเนื่องจากร้านที่ทำโดน เสื้อแดงเผา............เป็นเพื่อนที่รักและสนิทกันมากมาตั้งแต่เรียนประถม แต่จำนวนเงินที่จะยืมค่อนข้างมากประมาณ 4 แสนกว่าบาท ซึ่งถือเป็นเงินจำนวนมาก...โดยที่บอกเงื่อนไขว่าจะขอจ่ายดอกเบี้ยให้อีก เป็นเดือนๆละ x,xxx บาท ซึ่งแอ้มก็คิดว่าเป็นดอกเบี้ยที่น่าสนใจกว่าที่จะ เอาเงินไปเก็บไว้แบงค์แต่ก็กลัวเพื่อนสนิทโกง....ขอรบกวนถามคุณทนายฯ ดังนี้ค่ะ
1. กรณีนี้หากแอ้มไม่ให้เพื่อนเขียนสัญญา...มีโอกาสเสี่ยงมากไหมที่เพื่อน จะเบี้ยวไม่จ่าย..
2. การเขียนสัญญายืมเงินในกรณีนี้จะทำยังไงให้ไม่น่าเกลียดและเพื่อนยอม เซ็นได้บ้างคะ แล้วเอกสารที่ใช้เขียนเอง จะมีผลกับทางกฎหมายได้ไหม ใช้ฟ้องกรณีเพื่อนแอ้มเชิดเงินหนีไปได้หรือเปล่าคะ
3. ระหว่าง - เอกสารที่พิมพ์ โดยพิมพ์ขึ้นเอง - เอกสารที่เขียนระหว่างคนยืมและผู้ให้ยืม (กะว่าจะเขียนกันเองแบบคนนี้ยืม คนนี้ให้ยืม เพื่อเป็นหลักฐานจะได้ดูไม่น่าเกลียด) - แอบตั้งกล้องอัด... - แอบอัดเสียง (ใช้มือถืออัด) แบบไหนใช้ประกอบรูปคดีเพื่อเวลาสู้ศาลได้บ้างคะ
รบกวนคุณทนายตอบด้วยนะคะ จะไม่ให้ก็กลัวเสียเพื่อนไม่มองหน้ากันอีก.. เพื่อนเพื่อนคนนี้กำลังเดือดร้อนมากค่ะ ขอบคุณมากค่ะ
---------------------------------------------------------------------------
สวัสดีครับ คุณแอ้ม ผมขอตอบคำถามและแนะนำคุณแอ้มดังนี้นะครับ
สุภาษิตไทยครับ รักกันชอบกัน อย่า...ยืม...ตังค์กัน
    การลงทุนเป็นการเสี่ยงอยู่แล้วครับ แต่การให้ผู้อื่นยืมเงินนั้นเสี่ยงยิ่งกว่า เพราะเวลาให้ยืมให้ไปเป็นก้อน แต่พอคืนกว่าจะได้แต่ละบาทนั้นลำบากมาก หากไม่ยอมคืนก็ต้องฟ้องศาล เสียทั้งเงินเสียเวลา แถมเสียความรู้สึกอีก นอกจากนี้ เมื่อได้คำพิพากษามาแล้วใช่ว่าจะได้เงินคืนทันที ต้องมีการบังคับคดียึดทรัพย์สินกันอีก หากลูกหนี้ไม่มีอะไรให้ยึด ประเภทไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย เจอแบบนี้ทำได้อย่างเดียวครับ คือทำใจ โดยเฉพาะเป็นเพื่อนกันการทวงถามก็ลำบากใจหนักเข้าไปอีก
     หากไม่ใช่เพื่อนที่คุณสนิทไว้เนื้อเชื่อใจได้ก็ไม่ควรจะให้ยืมครับ หาเหตุผลที่เพื่อนรับได้ แบบว่าบัวไม่ให้ซ้ำน้ำไม่ให้ขุ่น อาจจะบอกถึงความจำเป็นต้องใช้เงิน หรือไม่มีตอนนี้ยังลำบากอยู่ก็ได้
          แต่หากคุณจะให้เพื่อนยืมเพราะมีเงินเหลือกินเหลือใช้ (เพราะไม่มีเวลาใช้ตังค์) หรือรักเพื่อนมาก จะเป็นเพราะด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะต้องทำหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือลงชื่อผู้ยืมเป็นประการสำคัญ ให้มีบุคคลค้ำประกันอีกสัก 2 คนครับ แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนทั้งผู้กู้และผู้ค้ำประกันด้วย ดอกเบี้ยก็คิดกันได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี เกินกว่านี้เป็นโฆมะ
          สำหรับคำถามนั้นขอตอบเป็นข้อๆ ดังนี้ครับ

        1. กรณีนี้หากแอ้มไม่ให้เพื่อนเขียนสัญญา...มีโอกาสเสี่ยงมากไหมที่เพื่อนจะเบี้ยวไม่จ่าย.. 
ตอบ     ขนาดมีสัญญากู้ยืมยังเสี่ยงเลยครับ หากไม่ทำสัญญาไม่ต้องพูดถึงเตรียมเสียเงินเสียใจไว้ล่วงหน้าได้เลยครับ
        2. การเขียนสัญญายืมเงินในกรณีนี้จะทำยังไงให้ไม่น่าเกลียดและเพื่อนยอมเซ็นได้บ้างคะ แล้วเอกสารที่ใช้เขียนเอง จะมีผลกับทางกฎหมายได้ไหม ใช้ฟ้องกรณีเพื่อนแอ้มเชิดเงินหนีไปได้หรือเปล่าคะ 
ตอบ     ก่อนจะให้ยืมก็ต้องคุยกันเรื่องนี้ให้ชัดเจนครับ หนังสือสัญญาใช้แบบไหนก็ได้ ขอให้มีลายมือชื่อของผู้กู้เป็นประการสำคัญ 
        3. ระหว่าง - เอกสารที่พิมพ์ โดยพิมพ์ขึ้นเอง - เอกสารที่เขียนระหว่างคนยืมและผู้ให้ยืม(กะว่าจะเขียนกันเองแบบคนนี้ยืมคนนี้ให้ยืม เพื่อเป็นหลักฐานจะได้ดูไม่น่าเกลียด) - แอบตั้งกล้องอัด...- แอบอัดเสียง (ใช้มือถืออัด) แบบไหนใช้ประกอบรูปคดีเพื่อเวลาสู้ศาลได้บ้างคะ
ตอบ    สัญญาที่พิมพ์หรือเขียนแบบไหนก็ได้ครับ การใช้กล้องอัดหรืออัดเสียงใช้เป็นพยานหลักฐานในการฟ้องร้องคดีกู้ยืมเงินไม่ได้ครับ เพราะ
กฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ยืมเท่านั้นจึงจะฟ้องร้องได้ครับ

คนที่กลุ้มมาก..จะไม่ให้เพื่อนก็จะเสีย

คนที่กลุ้มมาก..จะไม่ให้เพื่อนก็จะเสีย

ผู้เยี่ยมชม

ถึงทนายภูวรินทร์ค่ะ รบกวนด้วยค่ะ

ถึงทนายภูวรินทร์ค่ะ รบกวนด้วยค่ะ

ผู้เยี่ยมชม

30 พ.ค. 2553 11:38 #13

มีเรื่องรบกวนคุณทนายภูวรินทร์ค่ะ ดิฉันอยากจะหย่ากับสามีแต่เห็นในเว็บคุณทนายที่บอกรายละเอียดเหตุผลถึงการหย่าที่บอกไว้ว่าจะมีเหตุผลหย่ายังไง
จึงรบกวนขอถามเพิ่มค่ะ
ข้อ (๑๐) สามีหรือภริยาทำผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือ ในเรื่องความประพฤติ อีก ฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ เช่น สามีขี้เหล้า ชอบเล่นการพนัน ย่อมทำหนังสือทัณฑ์บนไว้กับ ภริยาว่าตนจะไม่ประพฤติเช่นนั้นอีก แต่ต่อมากลับฝ่าฝืน เช่นนี้ ภริยาฟ้องหย่าได้ ดิฉันกับสามีแต่งงานกันได้ประมาณ 7 ปีแล้ว ตอนแรกเค้าดีกับดิฉันมาก จนมีลูกตอนนี้ 5ขวบ แล้วพฤติกรรมเค้าก็เปลี่ยนไป จากแต่ก่อนกินเหล้าบ้าง ก็กลายเป็นทานมากขึ้นจนทำงานไม่ได้ แฟนของดิฉันชอบกินเหล้ามาก มากจนระยะหลังที่บริษัทเลิกจ้างงานช่วงแรกก็ขับแท็กซี่จน ทุกวันนี้กลายเป็นดิฉันต้องหาเลี้ยงแฟน แต่ก่อนเค้าขับแท็กซี่แต่ระยะหลังเอาเงินไปกินเหล้าจนหมดแถมยัง มีเมียน้อยจนดิฉันทนไม่ไหว ทุกวันต้องเอาเงินมาให้เค้าก่อนไปทำงาน ปัจจุบันดิฉันมีลูกสาวคนนึง กลัวมากว่าจะติดภาพ พ่อที่กินเหล้าแล้วเหมือนเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีกับลูก ถามว่ารักเค้าไหม รักมากค่ะ แต่ระยะหลังเริ่มไม่ไหว คือเค้าเริ่มมีเมียน้อย แล้วเมื่อต้นปีเค้าเอา ลูกดิฉันไปอยู่ที่ห้องที่เค้าอยู่กับเมียน้อยตอนที่ดิฉันไปทำงานแล้วดิฉันมารู้ทีหลังว่าเค้าเป็น เมียน้อย..ทั้งที่อยู่ในแฟลตเดียวกัน ดิฉันกลับมาไม่เจอแต่มารู้จากปากลูก น้ำตาร่วงเลยค่ะ.....ผู้ชายที่ฉันรัก ไม่นึกว่าจะเป็นแบบนี้ ทั้งที่ดิฉันหากินทำงานเหนื่อยแทบขาดใจ (เป็นแม่บ้านดูแลผู้สูงอายุ)บางทีต้องเช็ดขี้เช็ดเยี่ยว คนอื่น...ลำบากได้ไม่ว่าเพื่อลูก เพื่อแต่นี่ต้องเลี้ยงสามีที่แอบไปมีเมียน้อยให้เสียใจทุกคืน อีกอย่าง ดิฉันไม่ได้กลับบ้านทุกวันค่ะ แทบไม่ได้ใช้อินเตอร์เน็ตคุยโทรศัพท์เลยเพราะต้อง ดูแลคนสูงอายุแบบค้างคืน จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เค้านอกใจค่ะ...ดิฉันก็ทำใจแล้วเพราะ เรียนมาน้อย ไม่มีทางเลือก ถ้ารักแล้วต้องทนเป็นเมียหลวงที่สามีมีเมียน้อยแล้ว ดิฉันก็ทนไม่ไหวค่ะ แต่ก็กลัวเค้าไม่ยอมหย่าเพราะเค้าไม่ได้ทำงานทุกวันนี้ ดิฉันต้องเลี้ยงเค้า จ่ายเงินให้เค้ากินอยู่ทุกวันค่ะ ตอนนี้เลิกขับแท็กซี่แล้ว ขอถามคุณทนายภูวรินทร์ค่ะว่า ดิฉันจะหย่าจากสามีดิฉันได้อย่างไรบ้างคะ แบบถูกต้องตามกฎหมาย แล้วถ้าเค้าไม่ยอมจะทำยังไงดีคะ(เค้าไม่น่ายอมหย่าค่ะ) แล้วลูกของดิฉัน ๆอยากเลี้ยงเอง ตั้งใจว่าจะฝากพ่อกับแม่ที่ตจว.เลี้ยง จะทำยังไงบ้างคะ ฉันไม่อยากให้เค้าเจอพ่ออีกได้ไหม เพราะไม่อยากให้เจอพ่อไม่ดีกลัวแกโตมาแล้วจะรู้สึกไม่ดีที่แม่ต้องเลี้ยงพ่อ ดิฉันไม่รู้เรื่องกฎหมายเลย เรียนมาน้อยขอแบบภาษาคนบ้านๆอย่างดิฉัน เข้าใจนะคะ
-------------------------------------------------------------------------------------

สวัสดีครับ ขออนุญาตตอบคำถามเรื่องการฟ้องหย่าดังนี้นะครับ
กรณีของคุณฟ้องหย่าได้ครับ

ตามเหตุฟ้องหย่า  (๑), (๖) และ (๘)  และควรฟ้องเพิกถอนอำนาจปกครองบุตรของสามีไปพร้อมกันด้วยนะครับ
เหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายมีดังต่อไปนี้
                    (๑) สามีหรือภริยา อุปการะเลี้ยงดู หรือ ยกย่อง ผู้อื่น ฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้ หรือ มีชู้ หรือ ร่วมประเวณีกับ ผู้อื่น เป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
                    (๒) สามีหรือภริยา ประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้น จะเป็นความผิดอาญา หรือไม่ ถ้า เป็นเหตุให้ อีกฝ่ายหนึ่ง
                            (ก) ได้รับ ความอับอายขายหน้า อย่างร้ายแรง
                            (ข) ได้รับ ความดูถูกเกลียดชัง เพราะเหตุที่ คงเป็น สามีหรือภริยา ของฝ่ายที่ประพฤติชั่ว อยู่ต่อไป หรือ
                            (ค) ได้รับ ความเสียหาย หรือ เดือนร้อนเกินควร ในเมื่อเอา สภาพ ฐานะ และ ความเป็นอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา มาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
                    (๓) สามีหรือภริยา ทำร้าย หรือ ทรมาน ร่างกายหรือจิตใจ หรือ หมิ่นประมาท หรือ เหยียดหยาม อีกฝ่ายหนึ่ง หรือ บุพการี ของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
                    (๔) สามีหรือภริยา จงใจละทิ้งร้าง อีกฝ่ายหนึ่งไป เกิน หนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
                    (๔/๑) สามีหรือภริยา ต้องคำพิพากษา ถึงที่สุด ให้จำคุก และ ได้ถูกจำคุกเกิน หนึ่งปี ในความผิด ที่อีกฝ่ายหนึ่ง มิได้มีส่วน ก่อให้เกิด การกระทำความผิด หรือ ยินยอม หรือ รู้เห็นเป็นใจ ในการกระทำความผิดนั้นด้วย และ การเป็นสามีภริยากันต่อไป จะเป็นเหตุให้ อีกฝ่ายหนึ่ง ได้รับความเสียหาย หรือ เดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
                    (๔/๒) สามีและภริยา สมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา ได้โดยปกติสุข ตลอดมาเกิน สามปี หรือ แยกกันอยู่ ตามคำสั่งของศาล เป็นเวลาเกิน สามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
                    (๕) สามีหรือภริยา ถูกศาลสั่งให้เป็น คนสาบสูญ หรือ ไปจากภูมิลำเนาหรือ ถิ่นที่อยู่ เป็นเวลาเกิน สามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่า เป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
                    (๖) สามีหรือภริยา ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง ตามสมควร หรือ ทำการเป็นปฏิปักษ์ ต่อการที่เป็น สามีหรือภริยากัน อย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้า การกระทำนั้น ถึงขนาดที่ อีกฝ่ายหนึ่ง เดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอา สภาพ ฐานะ และ ความเป็นอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา มาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
                    (๗) สามีหรือภริยา วิกลจริต ตลอดมาเกิน สามปี และ ความวิกลจริตนั้น มีลักษณะ ยากจะหายได้ กับทั้ง ความวิกลจริต ถึงขนาดที่จะ ทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยา ต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
                    (๘) สามีหรือภริยา ผิดทัณฑ์บน ที่ทำให้ไว้ เป็นหนังสือในเรื่อง ความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่าได้
                    (๙) สามีหรือภริยา เป็นโรคติดต่อ อย่างร้ายแรง อันอาจเป็นภัย แก่อีกฝ่ายหนึ่ง และ โรคมีลักษณะ เรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้น ฟ้องหย่าได้
                    (๑๐) สามีหรือภริยา มีสภาพแห่งกาย ทำให้ สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องหย่า

ถึงทนายภูวรินทร์ค่ะ รบกวนด้วยค่ะ

ถึงทนายภูวรินทร์ค่ะ รบกวนด้วยค่ะ

ผู้เยี่ยมชม

พ่อผมต้องผ่อนกูญแจทั้งที่รถหายไหมคับ

พ่อผมต้องผ่อนกูญแจทั้งที่รถหายไหมคับ

ผู้เยี่ยมชม

30 พ.ค. 2553 16:54 #14


มอไซค์ผมหายครับ ตั้งแต่วันศุกร์ที่นี่ผ่านมา จอดไว้หน้าหอ ตื่นขึ้นมามันหายไปแล้ว ผมต้องทำยังไงบ้างครับ ตอนแรกนึกว่าโดนเพื่อนแกล้ง แต่คงไม่ใช่แล้ว ตอนนี้เลยเครียดมากกลัวเตี่ยกับอาม่ารู้ เย็นนี้คุยกับเพื่อนแล้ว มันคงหายไปแน่..จะแจ้งความก็ กลัวที่บ้านรู้เพราะพ่อเป็นคนซื้อให้ และยังผ่อนไม่หมด ซื้อมาเมื่อปลายปี หากหายจริงๆแล้วพ่อผมยังต้องผ่อน ลูกกุญแจหรือเปล่าคับ (ตอนนี้ผมยังเรียนอยู่ พ่อให้มอไซค์ เป็นของขวัญที่เอ็นติด) เครียดมากครับกลัวทุกอย่าง ต้องทำไงดีครับ
----------------------------------------------------------------------------------------------------
สวัสดีครับ    เรื่องมอเตอร์ไซค์หายทำไงดี ..
     รถหายก่อนอื่นต้องทำใจครับ..แล้วรีบไปแจ้งความครับ ไม่ควรจะปิดบังพ่อกับแม่ ท่านคงเข้าใจเพราะไม่ได้เกิดจากความผิดของเรา ..จริงๆไม่ช้าท่านเองก็ต้องรู้อยู่ดี....
สำหรับกรณีรถคันที่เช่าซื้อกับทางบริษัทไฟแนนซ์ได้สูญหายไประหว่างอายุสัญญาเช่าซื้อนั้น ตามสัญญาเช่าซื้อ ส่วนมากแล้วจะระบุถึงข้อสัญญาเกี่ยวกับกรณีว่า

หากทรัพย์สินที่เช่าซื้อสูญหายหรือเสียหายไป ไม่ว่าเป็นความผิดของผู้เช่าซื้อหรือไม่ก็ตาม ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดใช้ราคา หรือค่าเสียหายแห่งทรัพย์สินที่เช่าซื้อนั้น เพราะฉะนั้นเมื่อรถที่เช่าซื้อสูญหายไป คุณพ่อก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยการติดตามรถที่หายไปคืนมาเพื่อคืนให้แก่ทางบริษัทไฟแนนซ์ หรือหากติดตามคืนไม่ได้ ก็ต้องใช้ราคารถให้แก่ทางบริษัทไฟแนนซ์ หรือที่คุณบอกว่าผ่อนลูกกุญแจนั่นแหละครับ หากไม่ผ่อนชำระต่อบริษัทก็จะฟ้องร้องเรียกให้ส่งมอบรถคืนหรือให้ชดใช้ราคาส่วนที่เหลือ
*ดังนั้น เมื่อรถหายก็ต้องจ่ายเงินส่วนที่เหลือตามสัญญาครับ แม้จะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากรถนั้นแล้วก็ตาม
ขอให้โชคดีได้รับรถกลับคืนมาเร็วไวนะครับ

ทนายภูวรินทร์


พ่อผมต้องผ่อนกูญแจทั้งที่รถหายไหมคับ

พ่อผมต้องผ่อนกูญแจทั้งที่รถหายไหมคับ

ผู้เยี่ยมชม

เณรน้อยเจ้าปัญญา

เณรน้อยเจ้าปัญญา

ผู้เยี่ยมชม

30 พ.ค. 2553 21:23 #15

......เข้ามารออ่านคำตอบเหมือนกันคับ .. อยากรู้เหมือนกัน ความจริงผมตามมาจากเว็บที่คุณทนายภูวรินทร์ถูกพาดพิงในพันทิพย์ ผมชื่นชมนะที่คุณกล้าลงท้ายเว็บไซท์ ไม่เช่นนั้นผมและคนอื่นๆที่มีปัญหา อยากได้คนที่มีประสบการณ์จริงๆจะไม่มีทางออกและอาจจะได้คนอย่าง แมงกุ๊ดจี่มาตอบ555:]: ล้อเล่นครับ ผมหมายถึงถ้าไปถามคนอื่นอาจจะได้คนที่ไม่รู้กฎหมายจริงมาตอบ ผมว่าเว็บคุณมีประโยชน์ต่อคนที่ไม่รู้ข้อกฎหมายมากทีเดียว ผมเองก็ยัง เรียนกฎหมายอยู่เหมือนกันแต่ยังไม่จบ จึงยังไม่รู้ว่าที่คิดถูกมั้ย สู้ๆนะครับ ในวงการไซเบอร์ยังต้องการคนแบบคุณอีกครับ

เณรน้อยเจ้าปัญญา

เณรน้อยเจ้าปัญญา

ผู้เยี่ยมชม

อัญมณี

อัญมณี

ผู้เยี่ยมชม

31 พ.ค. 2553 10:59 #16

ตามมาจากเว็บพันทิพย์เหมือนกันค่ะ ชอบคำตอบที่คุณตอบมากเพราะได้ความรู้ดี
ค่ะขอเป็นกำลังใจให้

ทำดีได้ดีมีคนเห็น ทำชั่วนานๆไปก็จะมีคนรู้เท่าทันความคิดคนทำเองค่ะ ..เชื่อว่า
คนที่เข้ามาคงมีเรื่องเดือดร้อนและต้องการทนายตัวเป็นๆมาช่วยเหมือนกันไม่ใช่
ดีแต่ปากแล้วช่วยเค้าไม่ได้ :R:

เป็นกำลังใจให้ทนายดีๆแบบคุณค่ะ




อัญมณี

อัญมณี

ผู้เยี่ยมชม

chaovanaj

chaovanaj

ผู้เยี่ยมชม

1 มิ.ย. 2553 12:44 #17

สวัสดีค่ะ มีคำถามอยากจะถามเกี่ยวกับการออกนอกประเทศค่ะ พอดีช่วงที่ผ่านมาโดนคดีต่อเิติมบ้านโดยไม่ได้ขออนุญาต ซึ่งเป็นคดี อาญา ตอนนี้เรื่องอยู่ที่ตำรวจกำลังจะส่งไปที่อัยการ ที่ผ่านมาก็ไปพิมพ์ลาย นิ้วมือที่สถานีตำรวจมาแล้ว อยากทราบว่าถ้าต้องการจะเดินทางไปต่างประเทศ ประมาณ 1 สัปดาห์ จะสามารถไปได้หรือเปล่าคะ ถ้าไปได้ต้องขออนุญาตใครหรือ เปล่าคะ เคยได้ข่าวว่าหลายคนโดนกักตัวที่สนามบิน ช่วยตอบด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ
----------------------------------------------------------------------------
สวัสดีครับ ผมต้องขออภัยด้วยครับที่ตอบคำถามล่าช้าไปนิดนึงนะครับ
คำถามที่ถามมาผมขอตอบดังนี้ครับ
 เมื่อถูกดำเนินคดีอาญาไม่ว่าคดีจะอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน อัยการ หรือศาล หากไม่มีหมายจับ หรือได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ก็สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ตามปกติ โดยให้มาตรงตามวันเวลาที่พนักงานสอบสวน อัยการ และศาล นัดไว้ ก็ไม่ถูกออกหมายจับ
กรณีผู้ถามสามารถเดินทางไปได้ตามปกติเลยครับ ไม่ต้องขออนุญาตใคร แต่ควรสอบถามพนักงานสอบสวนเจ้าของสำนวนก่อนว่าจะส่งตัวฟ้องประมาณวันไหน ตรงกับที่อยู่ต่างประเทศหรือไม่ เพราะหากตำรวจออกหมายเรียกไปพบเพื่อส่งตัวให้อัยการระหว่างที่อยู่ต่างประเทศ ตำรวจอาจขอต่อศาลเพื่อออกหมายจับได้ คุณแจ้งตำรวจไปเลยครับว่าจะไปต่างประเทศแค่สัปดาห์เดียว เพราะคดีผิดพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร เป็นคดีเล็กน้อย
กรณีที่ศาลออกหมายจับแล้ว ไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ครับ เนื่องจากหมายจับจะถูกส่งไปยังสำนักงานตรวจเข้าเมือง ( ต.ม.)  ส่วนคนที่ถูกรวบตัวที่สนามบินเป็นเพราะมีหมายจับนั่นเองครับ หากไม่มีหมายจับ เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีอำนาจควบคุมตัวได้เลย ยกเว้นกระทำความผิดซึ่งหน้าครับ

หมายเหตุ 

         ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถ้าไม่แจ้งตามขั้นตอนมีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
         นอกจากต้องระวางโทษดังกล่าวแล้ว ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง  
         นอกจากนี้ ความผิดดังกล่าวตามกฎหมายกำหนดให้คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีมีอำนาจเปรียบเทียบได้ถ้าเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรถูกฟ้องร้องหรือได้รับโทษถึงจำคุก ให้กำหนดค่าปรับซึ่งผู้ต้องหาจะพึงชำระ ถ้าผู้ต้องหาและผู้เสียหาย ถ้ามี ยินยอมตามนั้น เมื่อผู้ต้องหาได้เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา       
         ในกรณีที่พนักงานสอบสวนเห็นว่า ผู้ต้องหายินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีตามวรรคหนึ่งภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบอีกด้วย
          แต่กรณีที่เรื่องส่งถึงอัยการ หากอัยการสั่งฟ้อง ก็จะนัดไปศาลเพื่อฟ้อง ซึ่งดูตามอัตราโทษแล้วถือว่าเป็นคดีเล็กน้อย ถ้าขึ้นศาลน่าจะไม่ถึงขั้นถูกจำคุก  แต่อาจให้มีการรื้อถอน    
          ดังนั้น ควรจะขออนุญาตก่อนต่อเติม เพื่อที่จะไม่ต้องมีเรื่องยุ่งยากครับ

chaovanaj

chaovanaj

ผู้เยี่ยมชม

เลขาทนายภูวรินทร์

เลขาทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

1 มิ.ย. 2553 21:36 #18

คุณทนายภูวรินทร์ฝากขอขอบคุณกำลังใจจากทุกท่านค่ะ  ตอนนี้คุณทนายภูวรินทร์ทำคดีอยู่ต่างจังหวัดค่ะ
จึงฝากขอบคุณมาล่วงหน้า และแจ้งว่าอาจจะไม่ค่อยมีเวลาสะดวกตอบคำถามทางเว็บมากนักค่ะ ซึ่งจะมี
กำหนดกลับช่วงกลางสัปดาห์หน้าค่ะ

แต่หากท่านใดมีข้อกฎหมายสงสัยเร่งด่วนประการใด หรือมีเรื่องทุกข์ร้อนใจที่ต้องการคำตอบ รบกวนฝาก
คำถามไว้ทาง E-mail หรือทิ้งคำถามไว้ก่อนได้ค่ะ  คุณทนายภูวรินทร์ยินดีตอบคำถามทุกข้อกฎหมายและ
ต้องขออภัยที่ตอบล่าช้าด้วยค่ะ


ขอบคุณมากค่ะ 
...............................................................................................................................................................

เลขาทนายภูวรินทร์

เลขาทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

Rita

Rita

ผู้เยี่ยมชม

1 มิ.ย. 2553 21:37 #19

สวัสดีคะ คุณทนาย พอดีมีเรื่องขอคำปรึกษาครับ
พอดีเราได้ไปซื้อคอนโดที่โครงการหนึ่ง แถวสุขุมวิท ต่อมาทางบริษัทก็มีหนังสือแจ้งให้ไปตรวจห้องเพื่อนัดโอน แต่พอดีแฟนเค้าไม่ค่อยว่างอ่ะคะ แต่เราก็ได้มีการติดต่อกับพนักงานตลอด ว่าเลื่อนไปก่อน เพราะติดธุระ จนกระทั้งมีหนังสือแจ้งว่า เราไม่มีสิทธิ์ตรวจห้องแล้ว ต้องโอนเลยเท่านั้น แต่เราคิดว่ามันไม่ถูกต้อง เราจึงติดต่อพนักงานว่า ยังงัยก็ขอตรวจห้องก่อน โดยเราขอจ่ายเงินเพิ่มให้อีกส่วนหนึ่ง เพื่อขอดูห้องทางพนักงานก็ตกลง เราจึงไปจ่ายเงินเพิ่มให้ส่วนหนึ่งพร้อมกับเข้าไปตรวจห้อง ปรากฏว่าห้องต้องแก้ไข ทางพนักงานก็แจ้งว่าจะซ่อมให้ แต่หลังจากนั้นไม่กี่วัน ก็มีหนังสือบอกเลิกสัญญา พร้อมริบเงินทั้งหมด เราก็โทรหาพนักงาน ทางพนักงานบอกว่าเป็นขั้นตอนของบริษัท เรายังโอนได้เหมือนเดิมก่อนหมด มาตราการกระตุ้น พอถึงกำหนดตรวจห้องเราก็ไป พนักงานพาเราไปตรวจห้องได้ซัก 10 นาที ปรากฏว่า พนักงานแจ้งให้เราว่า ทางบริษัทไม่ให้เราตรวจห้องและให้เราออกจากห้องทันที เพราะเราไม่มีสิทธิ์ ในห้องนี้อีกต่อไป อีกทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นอีกข้อที่สำคัญ คือห้องนี้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นเกินกว่าที่กฏหมายกำหนด คือ เกินมาประมาน 6% แต่ทางบริษัทจะลดให้เรา ครึ่งหนึ่ง แต่ตอนนี้เราไม่พอใจบริษัท แล้วเราก็ไม่ต้องการคอนโดนี้ แล้ว อยากถามว่าอย่างงี้หากเราขอบอกเลิกสัญญาเรื่องพื้นที่เพิ่มเติมที่เกินขึ้นมา เราสามารถขอเงินคืนได้ทั้งหมด มั้ยคะ

Rita

Rita

ผู้เยี่ยมชม

Rita

Rita

ผู้เยี่ยมชม

1 มิ.ย. 2553 21:40 #20

ไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไรบ้างคะ รบกวนขอคำปรึกษา พร้อมต้องการว่าจ้างทนายในการฟ้องร้องขอเงินคืนด้วยคะ ไม่ทราบว่าค่าใช้จ่ายประมานเท่าไหรคะ รบกวนติดต่อกลับ ด่วนนะคะ ขอบคุณมากๆๆคะ 081-809-9828 rita393@gmail.com
------------------------------------------------------------------------------------------------------
สวัสดีครับคุณ RITA .

ต้องขออภัยด้วยครับที่ตอบล่าช้า ...ผมขออนุญาตตอบคำถามเป็นข้อๆดังนี้นะครับ  
1. กรณีตามคำถามยังไม่ถือว่าคุณผิดนัดหรือผิดสัญญาครับ เพราะเป็นเพียงหนังสือแจ้งให้ไปตรวจสอบห้องเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการนัดโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งหากคุณไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์จึงจะถือว่าผิดสัญญา ดังนั้น กรณีนี้จึงไม่ถือว่าคุณผิดสัญญา บริษัทไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินทั้งหมดครับ

          นอกจากนี้ เมื่อคุณไปตรวจห้องแล้ว พนักงานของบริษัทยังแจ้งว่าห้องต้องแก้ไข และแจ้งว่าจะซ่อมให้ แสดงว่าห้องยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ กรณีจึงถือว่าบริษัทไม่พร้อมที่จะโอนกรรมสิทธิ์อีกด้วย เพราะซื้อมาใช้นะไม่ได้ซื้อมาซ่อม ส่วนต่อมาบริษัทมีหนังสือบอกเลิกสัญญา และริบเงินทั้งหมด  ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายครับ

ประการสุดท้ายห้องมีพื้นที่เพิ่มขึ้นเกินกว่าที่กำหนด คือ เกินมาประมาณ 6 % ตามกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจนคือ หากได้ระบุจำนวนเนื้อที่ทั้งหมดไว้ และผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินน้อยหรือมากไปกว่าที่ได้สัญญา ผู้ซื้อจะปัดเสีย หรือจะรับเอาไว้ และใช้ราคาตามส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก
          แต่ถ้าขาดตกบกพร่อง หรือล้ำจำนวน ไม่เกินกว่าร้อยละห้า แห่งเนื้อที่ทั้งหมด อันได้ระบุไว้ ผู้ซื้อจำต้องรับเอา และ ใช้ราคาตามส่วน แต่ว่า ผู้ซื้ออาจจะเลิกสัญญาเสียได้ ในเมื่อขาดตกบกพร่อง หรือ ล้ำจำนวน ถึงขนาด ซึ่งหากผู้ซื้อได้ทราบก่อนแล้วคงจะมิได้ เข้าทำสัญญานั้น

ดังนั้น คุณจึงมีสิทธิบอกปัดไม่รับ และบอกเลิกสัญญาได้ แต่บริษัทได้บอกเลิกสัญญาโดยคุณมิได้ปฏิบัติผิดสัญญา และริบเงินไปแล้วนั้น เป็นเหตุให้คุณเสียหาย ก็ต้องฟ้องเรียกร้องเอาเงินที่ริบไปคืนครับ
ยินดีที่ได้ให้คำปรึกษาครับ
            ทนายภูวรินทร์

Rita

Rita

ผู้เยี่ยมชม

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้