praklom

praklom

ผู้เยี่ยมชม

  ชาวต่างชาติเสียชีวิตทายาทไม่อยู่ในประเทศไทย (9412 อ่าน)

24 มี.ค. 2560 18:56

ขอเรียนปรึกษาว่า กรณีชาวต่างชาติเสียชีวิตในไทยมีทรัพย์สินพวก รถยนต์ เงินฝาก แต่ไม่มีทายาทอยู่ในประเทศไทย จะมอบหมายให้คนรู้จักที่อยู่ในประเทศไทยดำเนินการให้ได้ไหมคะแล้วต้องทำอย่างไร หรือหากทายาทเดินทางมาประเทศไทยเองสามารถจัดการทรัพย์สินได้ ไหมซึ่งกรณีนี้มีทายาทหลายคนแต่จะมอบให้คนใดคนหนึ่งเดินทางมาดำเนินการแทนจะได้ไหมต้องมีเอกสารอะไรมาแสดงคะ อีกประเด็นคือ ชาวต่างชาติที่ตายนั้นสาเหตุการตายเกิดจากการขับขี่รถไปชนกันกับคู่กรณีคนไทย และยังเป็นคดีความในส่วนของคดีหากจะมอบให้คนไทยที่รู้จักดำเนินการเรื่องคดีให้ต้องทำอย่างไร

praklom

praklom

ผู้เยี่ยมชม

เลขาทนายภูวรินทร์  081-9250-144

เลขาทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

24 มี.ค. 2560 21:37 #1

เนื่องจากคุณทนายภูวรินทร์ติดธุระทำคดีที่ศาลต่างจังหวัดประมาณ 3-4 วัน ดิฉันจึงได้ฝากข้อความ เรื่องราวและคดีความรวมถึงทุกปัญหาที่ทุกท่านได้ฝากไว้ให้กับทางคุณทนายภูวรินทร์แล้วค่ะ 
ซึ่งคุณทนายภูวรินทร์ขอเรียนแจ้งว่า สำหรับทุกปัญหานั้นคุณทนายจะรีบกลับมาตอบให้อีกครั้งและจะติดต่อกลับทุกท่านที่มีความทุกข์ใจด้านกฎหมายค่ะ 
กรณีที่ต้องการสอบถามข้อกฎหมายเร่งด่วนนั้นสามารถติดต่อคุณทนายภูวรินทร์ได้ที่เบอร์  081-9250-144
หรือสอบถามไปทางไลน์ ID LINE  081-9250-144

ขอขอบคุณและขออภัยในความล่าช้าค่ะ

เลขาทนายภูวรินทร์  081-9250-144

เลขาทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

29 มี.ค. 2560 13:59 #2

        ตามหลักกฎหมายเมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท ส่วนกองมรดกของผู้ตายที่จะตกทอดแก่ทายาท ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้
        ทายาทโดยธรรมที่จะมีสิทธิรับมรดกมี 6 ลำดับ แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ
        (1) ผู้สืบสันดาน
        (2) บิดามารดา
        (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
        (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
        (5) ปู่ ย่า ตา ยาย
        (6) ลุง ป้า น้า อา

        คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในอัตราตามทายาทลำดับที่ 1 – 6
        ส่วนแบ่งของทายาทแต่ละลำดับ กรณีผู้ตายมีบุตรซึ่งเป็นทายาทชั้นผู้สืบสันดานหลายคนก็จะแบ่งมรดกในอัตราคนละส่วนเท่ากัน หากมีทายาทลำดับที่ 2 คือ บิดามารดาของผู้ตาย ก็จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับผู้สืบสันดาน เช่นมีบุตร 2 คน พ่อกับแม่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ ก็จะแบ่งมรดกเป็น 4 ส่วน ตกได้คนละส่วนเท่ากัน

        ตามกฎหมายเมื่อทายาทลำดับที่ 1 – 2 มีชีวิต ทายาทลำดับที่ 3 ลงไปจะหมดสิทธิรับมรดกโดยปริยาย
        สำหรับส่วนแบ่งของคู่สมรส หากผู้ตายมีบุตรจะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเท่ากับทายาทลำดับที่ 1 คือได้ส่วนแบ่งเท่าๆกันกับบุตร หากผู้ตายมีทายาทลำดับที่ 2 หรือ 3 แล้วแต่กรณี คู่สมรสจะมีสิทธิได้รับมรดกถึงกึ่งหนึ่งเลยทีเดียว แต่หากผู้ตายไม่มีทายาทลำดับที่ 1 – 3 แต่มีทายาทรับมรดกลำดับที่ 4 – 6 แล้วแต่กรณี คู่สมรสจะมีสิทธิได้รับมรดก 2 ใน 3 ส่วน สุดท้ายหากผู้ตายไม่มีทายาทลำดับที่ 1 – 6 คู่สมรสจะได้รับมรดกทั้งหมดเลย

         ตามคำถามชาวต่างชาติเสียชีวิตในประเทศไทย บุคคลที่มีสิทธิได้รับมรดกก็คือทายาทตามลำดับที่ 1 – 6 ดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น บุคคลที่จะมีสิทธิมาจัดการมรดก โดยยื่นคำร้องต่อศาลที่ชาวต่างชาติเสียชีวิตได้แก่ทายาทลำดับที่ 1 – 6 คือ หากมีบุตร หรือภรรยา ก็สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลแต่งตั้งบุคคลใดก็ได้เป็นผู้จัดการมรดก (คนยื่นต้องเป็นทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกเท่านั้น)

       ผู้จัดการมรดกไม่ใช่ผู้มีสิทธิรับมรดกก็ได้ เพราะผู้จัดการมรดกมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกและแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทที่มีสิทธิได้รับ หากจัดการมรดกไม่ถูกต้องเช่นเอาไปเป็นของตนก็มีสิทธิถูกดำเนินคดีอาญาข้อหายักยอกมีโทษจำคุกได้

เอกสารที่ต้องใช้ดูบทความมรดกของศาลแพ่งด้านล่างนี้

           ส่วนกรณีชาวต่างชาติถูกกระทำละเมิดจนเสียชีวิต หากมีบุตร (ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) หรือภรรยา หรือบิดามารดา บุคคลเหล่านี้สามารถฟ้องผู้กระทำละเมิดให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการขาดไร้อุปการะได้ครับ
 
ความรู้เกี่ยวกับการจัดการมรดกของศาลแพ่ง
ความหมายของมรดก
        มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายที่มีอยู่ก่อนถึงแก่ความตาย รวมทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ เช่น กรรมสิทธิ์ในที่ดิน รถยนต์ ห้องชุด สิทธิการเช่าซื้อ (แต่เงินบำเหน็จตกทอด เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ และเงินประกันชีวิตของผู้ตาย ไม่เป็นมรดกเพราะเป็นทรัพย์สินที่ได้มาภายหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้ว)
        ส่วนหนี้สินก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทด้วย  แต่ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน
 
บุคคลที่มีสิทธิรับมรดก
        ๑. ทายาทโดยธรรม
        ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และแต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ
        (1)  ผู้สืบสันดาน (รวมทั้งบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว และบุตรบุญธรรมด้วย)
        (2)  บิดามารดา
        (3)  พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
        (4)  พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
        (5)  ปู่ ย่า ตา ยาย
        (6)  ลุง ป้า น้า อา
        คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกเช่นกัน โดยสามีภริยาที่ร้างกัน หรือแยกกันอยู่โดยยังมิได้หย่าขาดจากกันตามกฎหมาย มิได้สิ้นไปซึ่งสิทธิโดยธรรมในการสืบมรดกซึ่งกันและกัน
        ๒. ผู้รับพินัยกรรม
ความหมายของผู้จัดการมรดก
        ผู้จัดการมรดก คือ บุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก โดยสิทธิตามกฎหมายในฐานะทายาทโดยธรรม หรือโดยพินัยกรรม ในฐานะผู้รับพินัยกรรม เพื่อทำหน้าที่รวบรวม ทำบัญชี และแบ่งมรดกให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย

เหตุที่ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
      ๑. เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่ต่างประเทศ หรือเป็นผู้เยาว์
      ๒. เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทโดยธรรมไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือแบ่งมรดก
      ๓. เมื่อข้อกำหนดตามพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ
ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
      ๑. ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก
      ๒. ผู้มีส่วนได้เสียในมรดก
      ๓. พนักงานอัยการ

คุณสมบัติของผู้จัดการมรดก
      ๑. บรรลุนิติภาวะ (มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์)
      ๒. ไม่เป็นคนวิกลจริต
      ๓. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
      ๔. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
หน้าที่ของผู้จัดการมรดก
       ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปและมีหน้าที่รวบรวมมรดกเพื่อแบ่งให้ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม ตลอดจนชำระหนี้สินของเจ้ามรดกแก่เจ้าหนี้ ทำบัญชีมรดกและทำรายการแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งมรดก โดยต้องจัดการไปในทางที่เป็นประโยชน์แก่มรดก ผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมใด ๆ ที่เป็นปรปักษ์ต่อมรดกไม่ได้
       หากผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ เช่น ปิดบังมรดกต่อทายาท หรือเพิกเฉยไม่แบ่งมรดกให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก หรือผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่าง อื่นที่สมควรก็ได้

เอกสารที่ใช้ร้องขอจัดการมรดก
๑ . กรณีบุตรกับบิดา / มารดา หรือบิดา / มารดากับบุตร
     ๑ . ๑ ใบสำคัญการสมรส หรือใบสำคัญการหย่าของบิดา มารดา ( กรณีสูญหายใช้ สำเนาทะเบียนสมรส หรือ ข้อมูลทะเบียนครอบครัว หรือ ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว หรือสำเนาทะเบียนการหย่า ที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแทน)
     ๑. ๒ สูติบัตรของบุตร ( กรณีสูญหายใช้สำเนาทะเบียนคนเกิด หรือ แบบรับรองรายการทะเบียนคนเกิดที่รับรองสำเนาถูกต้องโดย เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแทน) หรือ สำเนาทะเบียนบ้านของบุตรที่มีเลขประจำตัวประชาชนของบิดา หรือมารดา (กรณีไม่มีเลขประจำตัวของบิดาหรือมารดาให้ติดต่อสำนักงานเขตตามสำเนาทะเบียนบ้านของบุตรเพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการให้ หรือ ทะเบียนการรับรองบุตร หรือ ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม
      ๑.๓ บัตรประจำตัวของผู้ร้องและผู้ตาย
      ๑.๔ มรณบัตรของผู้ตายหรือ แบบรับรองรายการทะเบียนคนตายของผู้ตาย
      ๑. ๕ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตาย หรือ แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร
      ๑. ๖ หลักฐานเกี่ยวกับมรดกของผู้ตาย เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด เงินฝากในธนาคาร ปืน รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หุ้น (กรณีที่ดิน หรือห้องชุดสูญหายหรือจดทะเบียนจำนองไว้ ใช้สำเนาโฉนดที่ดินหรือสำเนาหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่ รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแทน) สมุดคู่ฝากของธนาคาร คู่มือรายการจดทะเบียน รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ใบหุ้น ใบอนุญาตให้มี และใช้อาวุธปืน (กรณีสูญหายใช้สำเนาที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแทน)
      ๑. ๗ บัญชีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก
      ๑.๘ หนังสือให้ความยินยอมของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวที่รับรอง สำเนาถูกต้องโดยทายาทดังกล่าว (กรณีทายาทเป็นผู้เยาว์ใช้สูติบัตร)
      ๑.๙ มรณบัตรของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย เช่น บิดา มารดา คู่สมรส บุตร
      ๑.๑๐ หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อหรือชื่อสกุล ของผู้ร้อง หรือผู้ตาย หรือทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก

๒. กรณีคู่สมรส
      ๒. ๑ ใบสำคัญการสมรสของผู้ตาย (กรณีสูญหายใช้สำเนาทะเบียนสมรส หรือ ข้อมูลทะเบียนครอบครัว หรือ ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว) 
      ๒. ๒ เอกสารตามข้อ ๑.๓ ถึง ๑.๑๐
๓. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
      ๓.๑ สูติบัตรของผู้ร้องและผู้ตาย (กรณีสูญหายใช้ สำเนาทะเบียนคนเกิด หรือ แบบรับรองรายการทะเบียนคนเกิด ที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแทน) หรือ
      ๓. ๒ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ร้องและผู้ตายที่มีเลขประจำตัวประชาชนของบิดา และมารดา
      ๓.๓ เอกสารตามข้อ ๑.๓ ถึง ๑.๑๐
๔. ผู้รับพินัยกรรมหรือผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรม
      ๔ . ๑ พินัยกรรม
      ๔ . ๒ เอกสารตามข้อ ๑.๓ ถึง ๑.๑๐


 
 

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

์nannapas

์nannapas

ผู้เยี่ยมชม

17 ต.ค. 2560 11:09 #3

ขอเรียนปรึกษาว่า กรณีชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตในไทยมีทรัพย์สินเป็น เงินฝาก ที่เมืองไทย
มีญาติซึ่งเป็นน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกันเป็น ต้องการเป็นยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดก (
โดยมีเอกสารเป็นภาษาญี่ปุ่นจากศาลญี่ปุ่นของ พี่ชายกับลูกชายว่าไม่ขอรับมรดก บิดามารดา และภรรยาเสียชีวิต )

ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการยื่นเป็นผู้จัดการมรดก ไม่สะดวกเดินทางมาดำเนินการที่ไทยหลายรอบ จึงอยากสอบถามว่ามีขั้นตอนและเอกสารอะไรบ้างที่เค้า จะสามารถดำเนินการเอาเงินออกจากบัญชีให้แล้วเสร็จโดยการเดินทางมาไทยแค่ 2 ครั้งได้หรือไม่คะ

์nannapas

์nannapas

ผู้เยี่ยมชม

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้