เสรี

เสรี

ผู้เยี่ยมชม

  การทำสัญญาเช่าบ้านกับปัญหาการเช่าช่วงและการครอบครองปรปักษ์ (1634 อ่าน)

18 พ.ย. 2559 11:15

อยากเรียนในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ...
ยายของผมได้ให้คนมาเช่าบ้านเพื่อทำธุรกิจอย่างหนึ่ง ตั้งแต่ 40 ปีก่อน ตอนนี้ยายเสียแล้ว แต่แม่และน้องสาวแม่ (เป็นผู้ได้รับมรดก) ได้ให้ผู้นั้นเช่าต่อจนถึงปัจจุบัน (ปี 2559) โดยมีการทำสัญญาเช่าบ้างไม่ทำบ้าง
และสัญญาเช่าล่าสุดที่ทำ หมดอายุไปตั้งแต่ปี 2548 ทั้งนี้ผู้เช่าได้จ่ายค่าเช่าอย่างต่อเนื่องไม่มีผิดนัด โดยในช่วงก่อนนั้นจ่ายเป็นเช็คเงินสด ในช่วงหลัง (ปี 2559) เพื่อความสะดวกของผู้ให้เช่า จึงจ่ายเงินสดเข้าบัญชีธนาคารของน้องสาวแม่
ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นการเช่ามาเป็นเวลานาน ผู้คนแถวนั้นส่วนใหญ่ (ยกเว้นเพื่อนสนิทของทางแม่) คิดว่าเป็นบ้านของผู้เช่า
อยากเรียนถามว่า
1. ผู้เช่า สามารถใช้สิทธิครอบครองปรปักษ์ได้หรือไม่
2. ผมควรจะแก้ไขอย่างไร
3. ผมในฐานะลูก หากจะทำสัญญาเช่ากับเขา ผมจะเป็นผู้ให้เช่าในสัญญาได้ไหมครับ เนื่องจากแม่และน้องสาวแม่มีอายุมากแล้ว (70+ ปี)

ขขขขขข

อยากเรียนถามว่า
ผู้เช่าบ้าน ได้มาเช่าบ้าน (บ้านนี้มีเจ้าของสองคน คือแม่ผมกับน้องสาวแม่) เพื่อทำธุรกิจ ตั้งแต่ 40 ปีก่อน (เช่าตั้งแต่สมัยคุณยายยังมีชีวิตอยู่) โดยได้ทำสัญญาเช่ากันบ้างไม่ทำบ้าง และสัญญาเช่าล่าสุดหมดอายุไปตั้งแต่ปี 48
ต่อมา ปี 2559 เขามาบอกน้องสาวแม่ว่า ธุรกิจเดิมไม่ค่อยดี คิดจะเปลี่ยนไปทำธุรกิจใหม่ในบ้านเช่าเดิม ... น้องสาวแม่ก็อนุญาตไปด้วยวาจา ... ต่อมาทราบข่าวว่าเขาไม่ได้ทำธุรกิจนั้นคนเดียวเหมือนแต่ก่อน (เขาก็ไม่บอกว่ามีหุ้นส่วน แต่บอกแค่ว่าเขาทำเอง)
โดยที่ทราบข่าวมามี 4 หุ้นส่วน ที่ลงทุนกันคนละ 25% ...
จึงมีคำถามว่า
1. ในกรณีนี้ ถือว่าเป็นการเช่าช่วงหรือไม่ (ได้ข่าวว่าเขาบอกหุ้นส่วนว่าเขาเช่าบ้านมาในราคาที่สูงกว่าราคาที่เช่าจริงด้วย)
2. หากผมจะไปทำสัญญาเช่า และอนุญาตให้มีหุ้นส่วนได้ ผมควรระบุในสัญญาอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดการเช่าช่วงในกรณีอื่น
3. คู่สัญญาที่เซ็นกับผม จะรวมถึงหุ้นส่วนเขาด้วยหรือไม่ หรือเพียงทำสัญญาเช่ากับเขาคนเดียวก็พอ
4. หากสัญญาเช่ายุติลงในภายหลังไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไร หุ้นส่วนของเขาจะไม่ยอมรับการยุติลงของสัญญาได้หรือไม่

5. ผมขอถามอีกข้อในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องว่า เนื่องจากสัญญาเช่าเก่าที่เคยทำล่าสุดยุติไปตั้งแต่ปี 48 และเขาเช่าบ้านนั้นมาเป็นเวลานานกว่า 40 ปี ผู้คนแถวนั้นส่วนใหญ่คิดว่าเป็นบ้านของผู้เช่าเอง ยกเว้นเฉพาะเพื่อนสนิททางฝ่ายแม่ และแม้เขาจ่ายค่าเช่าอย่างต่อเนื่องทุกเดือน แต่เราก็ไม่มีหลักฐานการรับเงินค่าเช่าเลย (ก่อนนั้นเขาจ่ายด้วยเช็คเงินสด แล้วช่วงหลังจ่ายด้วยเงินสดเข้าบัญชีธนาคารของน้องสาวแม่)
จึงอยากถามว่า เขาจะครอบครองปรปักษ์ได้มั้ยครับ และทางผมควรแก้ไขอย่างไร

ขอบคุณครับ
เสรี

เสรี

เสรี

ผู้เยี่ยมชม

เสรี

เสรี

ผู้เยี่ยมชม

18 พ.ย. 2559 11:22 #1

ขอโทษครับ copy&paste เกินไป ... ผมขอถามแค่ส่วนด้านล่างนี้ครับ

อยากเรียนถามว่า
ผู้เช่าบ้าน ได้มาเช่าบ้าน (บ้านนี้มีเจ้าของสองคน คือแม่ผมกับน้องสาวแม่) เพื่อทำธุรกิจ ตั้งแต่ 40 ปีก่อน (เช่าตั้งแต่สมัยคุณยายยังมีชีวิตอยู่) โดยได้ทำสัญญาเช่ากันบ้างไม่ทำบ้าง และสัญญาเช่าล่าสุดหมดอายุไปตั้งแต่ปี 48
ต่อมา ปี 2559 เขามาบอกน้องสาวแม่ว่า ธุรกิจเดิมไม่ค่อยดี คิดจะเปลี่ยนไปทำธุรกิจใหม่ในบ้านเช่าเดิม ... น้องสาวแม่ก็อนุญาตไปด้วยวาจา ... ต่อมาทราบข่าวว่าเขาไม่ได้ทำธุรกิจนั้นคนเดียวเหมือนแต่ก่อน (เขาก็ไม่บอกว่ามีหุ้นส่วน แต่บอกแค่ว่าเขาทำเอง)
โดยที่ทราบข่าวมามี 4 หุ้นส่วน ที่ลงทุนกันคนละ 25% ...
จึงมีคำถามว่า
1. ในกรณีนี้ ถือว่าเป็นการเช่าช่วงหรือไม่ (ได้ข่าวว่าเขาบอกหุ้นส่วนว่าเขาเช่าบ้านมาในราคาที่สูงกว่าราคาที่เช่าจริงด้วย)
2. หากผมจะไปทำสัญญาเช่า และอนุญาตให้มีหุ้นส่วนได้ ผมควรระบุในสัญญาอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดการเช่าช่วงในกรณีอื่น
3. คู่สัญญาที่เซ็นกับผม จะรวมถึงหุ้นส่วนเขาด้วยหรือไม่ หรือเพียงทำสัญญาเช่ากับเขาคนเดียวก็พอ
4. หากสัญญาเช่ายุติลงในภายหลังไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไร หุ้นส่วนของเขาจะไม่ยอมรับการยุติลงของสัญญาได้หรือไม่

5. ผมขอถามอีกข้อในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องว่า เนื่องจากสัญญาเช่าเก่าที่เคยทำล่าสุดยุติไปตั้งแต่ปี 48 และเขาเช่าบ้านนั้นมาเป็นเวลานานกว่า 40 ปี ผู้คนแถวนั้นส่วนใหญ่คิดว่าเป็นบ้านของผู้เช่าเอง ยกเว้นเฉพาะเพื่อนสนิททางฝ่ายแม่ และแม้เขาจ่ายค่าเช่าอย่างต่อเนื่องทุกเดือน แต่เราก็ไม่มีหลักฐานการรับเงินค่าเช่าเลย (ก่อนนั้นเขาจ่ายด้วยเช็คเงินสด แล้วช่วงหลังจ่ายด้วยเงินสดเข้าบัญชีธนาคารของน้องสาวแม่)
จึงอยากถามว่า เขาจะครอบครองปรปักษ์ได้มั้ยครับ และทางผมควรแก้ไขอย่างไร

6. ผมในฐานะลูก หากจะทำสัญญาเช่ากับเขา ผมจะเป็นผู้ให้เช่าในสัญญาได้ไหมครับ เนื่องจากแม่และน้องสาวแม่มีอายุมากแล้ว (70+ ปี

ขอบคุณครับ
เสรี

เสรี

เสรี

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

22 พ.ย. 2559 11:05 #2

      1. การเช่าช่วงคือ ผู้เช่าเอาทรัพย์สินที่ได้รับการเช่า ไปให้บุคคลอื่นเช่าต่ออีกทอดหนึ่ง แต่หากเช่ามาแล้วมาประกอบธุรกิจหลายคน ไม่ถือเป็นการเช่าช่วง 
     2. การทำสัญญาเช่า หากผู้เช่าประกอบธุรกิจหลายคน ก็ควรให้คนใดคนหนึ่งมาทำสัญญาเช่าโดยมีหนังสือมอบอำนาจจากหุ้นส่วนที่เหลือให้หมด และระบุในสัญญาเช่าไปว่า ห้ามนำไปให้คนอื่นเช่าช่วง หากผิดสัญญา ผู้ให้เช่าสามารถเลิกสัญญาได้
    3. ตอบไปแล้วข้อ 2.
    4. สัญญาเช่าถือว่าผูกพันหุ้นส่วนทุกคนหากทำสัญญาตามที่ได้ตอบในข้อ 2. เมื่อสัญญาสิ้นสุดทุกคนต้องย้ายออก หากไม่ย้ายก็ฟ้องผู้เช่า ส่วนคนอื่น ๆ ก็เป็นบริวาร เมื่อคนเช่าไม่มีสิทธิอยู่ บริวารก็ไม่มีสิทธิอยู่ด้วยเช่นกัน 
   5. ทำสัญญาใหม่ครับ จะปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไปทำไม ทางแก้ไขคือต้องทำสัญญาเช่าใหม่ มีข้อตกลงว่าจะให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าด้วยวิธีใดก็ระบุให้ชัดเจน
   6. เป็นผู้รับมอบอำนาจได้ครับ
   7. ข้อแนะนำ สัญญาต้องร่างโดยผู้รู้กฎหมาย หากไปเอาแบบฟอร์มสัญญาเปล่ามาทำกันเอง อาจมีข้อตกลงที่ทำให้เสียเปรียบหรือไม่รัดกุมได้ 

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้