แมน

แมน

ผู้เยี่ยมชม

  อายุความ (7401 อ่าน)

19 ต.ค. 2558 21:33

คดีอาญาข้อหาชิงทรัพย์ มีอัตราโทษ 5 - 10 ปี
จำเลยได้รับการประกันตัวตลอดมา ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
พิพากษา จำคุกจำเลย 6 ปี จำเลยหลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษาศาลฎีกา
ศาลฎีกาจึงอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยโดยพิพากษาจำคุกจำเลย 6 ปี
(ศาลอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยวันที 10 สิงหาคม 2548)
ขอเรียนถามว่า
1.ศาลจะออกหมายจับจำเลยเมื่อไหร่
จะออกหมายจับจำเลยตั้งแต่วันที่อ่านคือวันที่ 10 สิงหาคม 2548 หรือไม่
2.หมายจับจำเลยมีอายุความกี่ปีครับ
3.คดีนี้ขาดอายุความวันที่เท่าไหร่ครับ
ขอบคุณมากครับ

แมน

แมน

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

28 ต.ค. 2558 08:50 #1

ตอบคำถามดังนี้
              1. ศาลจะออกหมายจับในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกานัดแรก ส่วนวันอ่านจริงลับหลัง เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายเมื่อออกหมายจับแล้ว แต่จับตัวไม่ได้ ศาลมีอำนาจอ่านลับหลังเท่านั้น 
             2.  หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาตามหมายนั้นขาดอายุความ หรือศาลซึ่งออกหมายนั้นได้ถอนหมายคืน
              3. อายุความ 15 ปี นับแต่วันหลบหนี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 98  บัญญัติว่า
              "เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด  ผู้นั้นยัง มิได้รับโทษก็ดี ได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้ายังมิได้ ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่ วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนีแล้วแต่กรณี เกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ เป็นอันล่วงเลยการลงโทษจะลงโทษผู้นั้นมิได้
(1) ยี่สิบปี สำหรับโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุก ยี่สิบปี
(2) สิบห้าปี สำหรับโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(3) สิบปี สำหรับโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
(4) ห้าปี สำหรับโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีลงมาหรือโทษอย่างอื่น "
 

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

แมน

แมน

ผู้เยี่ยมชม

2 พ.ย. 2558 19:37 #2

เรียนถามเพิ่มเติมครับ
คดีนี้ จำเลยหลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษาศาลฎีกา
ต่อมาศาลฎีกาอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย จำคุกจำเลย 6 ปี
ทำไมถึงนับอายุความตาม ป.อาญา มาตรา 98(2) คือ 15 ปีครับ
เพราะ ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยถึงที่สุดเพียง 6 ปี
จึงควรนับอายุความตาม 98(3)สิบปี สำหรับโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
ขอบคุณครับ

แมน

แมน

ผู้เยี่ยมชม

pornwisa

pornwisa

ผู้เยี่ยมชม

5 ธ.ค. 2559 09:40 #3

ถ้าศาลชั้นต้นตัดสินมา25ปีแล้วประกันตัวออกมา แต่ไม่ไปฟังคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ ซึ่งก็ยืนตามศาลชั้นต้น กรณีเช่นนี้ จะนับอายุความเริ่มจากตอนไหนครับ จากวันกระทำความผิด หรือจากวันที่ศาลชั้นต้นตัดสิน หรือจากวันที่ศาลอุทธรณ์ตัดสิน ขอบคุณครับ

pornwisa

pornwisa

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

12 ม.ค. 2560 14:45 #4

ตอบคำถามคุณ pornwisa 
        กฎหมายบัญญัติไว้ดังนี้ครับ 
         "เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ใด  ผู้นั้นยัง มิได้รับโทษก็ดี ได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้ายังมิได้ ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่ วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนีแล้วแต่กรณี เกินกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ เป็นอันล่วงเลยการลงโทษจะลงโทษผู้นั้นมิได้

(1) ยี่สิบปี สำหรับโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุก ยี่สิบปี

(2) สิบห้าปี สำหรับโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี

(3) สิบปี สำหรับโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี

(4) ห้าปี สำหรับโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีลงมาหรือโทษอย่างอื่น "  

           ดังนั้น อายุความในการนำตัวจำเลยมาลงโทษจะเริ่มนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด หรือหากรับโทษแล้วแต่หลบหนีก็เริ่มนับแต่วันที่หลบหนีครับ
คดีถึงที่สุดเมื่อใด เมื่อศาลชั้นต้นส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ แล้วคุณไม่ไปฟังคำพิพากษาตามวันนัด ศาลชั้นต้นจะออกหมายจับตัวเพื่อมาฟังคำพิพากษา และเลื่อนคดีออกไปประมาณ 1 เดือนเศษ เมื่อถึงวันนัดที่เลื่อนแล้ว หากยังจับตัวไม่ได้ ศาลจะอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย และฝ่ายจำเลยมีสิทธิยื่นฎีกาภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อครบกำหนดแล้ว ไม่มีการยื่นฎีกา คดีก็จะถึงที่สุดในวันนั้น 

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้