biu

biu

ผู้เยี่ยมชม

  การแบ่งแย่งโฉนดที่ดินกรรมสิทธิ์ร่วม(ชื่อคนตาย) (3350 อ่าน)

20 ก.พ. 2558 20:35

1. คุณตา(เสียชีวิตแล้ว)
2. ลูกสาวพี่ชายคุณตา(มีชีวิตอยู่)
3. พี่สาวคุณตา(เสียชีวิตแล้ว)

คุณยาย(จดทะเบียนสมรส) ต้องแบ่งแยกโฉนดส่วนของคุณตา จำนวน 6 ไร่
ต้องดำเนินการอย่างไรบ้างครับ


หมายเหตุ: โฉนดที่ดินติดจำนองเฉพาะส่วนลูกสาวของพี่ชายคุณตาที่ธนาคาร

ปล. ทายาททั้ง 3 ฝ่าย ได้ตกลงและแบ่งส่วนที่ดินกันไว้เรียบร้อยแล้ว

ขอบพระคุณล่วงหน้าสำหรับคำแนะนำครับ

biu

biu

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

20 ก.พ. 2558 22:31 #1

หลักกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
          มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรค 2แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย 
(6) ลุง ป้า น้า อา 
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635 
                มาตรา 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการ รับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้
(1) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับ มรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่ง เสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
(2) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) แต่มี ทายาทตาม มาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง
(3) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (4) หรือ (6) และทายาทนั้น ยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือมีทายาทตาม มาตรา 1629 (5) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้มรดกสองส่วนในสาม
(4) ถ้าไม่มีทายาทดั่งที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 คู่สมรสที่ยังมี ชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด  มาตรา 1639 ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตาม มาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อน เจ้ามรดกตายถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัด มิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับ มรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคล เป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย
          ตามคำถาม ตา กับ ยาย จดทะเบียนสมรสกัน (ไม่บอกว่ามีลูกด้วยกันหรือไม่) มีที่ดินจำนวน 6 ไร่ แต่คำถามไม่ได้บอกว่าที่ดินเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวของตา ดังนั้น จึงขอตอบแบบเป็นสินสมรสว่า จะต้องแบ่งที่ดินที่เป็นสินสมรสให้ตากับยายคนละ 3 ไร่ เสียก่อน ส่วนของตา 3 ไร่ จึงเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทตามมาตรา 1629   โดยยายยังมีสิทธิรับมรดกของตาตามมาตรา 1635 อีกด้วย
          หากตากับยายมีลูกด้วยกัน ก็จะเอาจำนวนลูกและยายมาหารเพื่อแบ่งที่ดินเท่ากัน เช่น มีลูก 2 คน บวกยายอีกหนึ่งก็จะได้มรดกที่ดินคนละ 1 ไร่ เป็นต้น แต่หากไม่มีลูกมรดกจะตกทอดไปยังทายาทลำดับที่ 3 ของมาตรา 1629 คือ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน คือ พี่น้องของตา และเมื่อพี่น้องของตาที่มีสิทธิรับมรดกเสียชีวิตไปก่อน ก็ให้ลูกซึ่งเป็นผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ได้ตามมาตรา 1639
          กรณีที่มีทายาทอันดับที่ 3 สัดส่วนของการแบ่งจะต้องเป็นไปตามมาตรา 1635 (2) คือ ยายจะได้รับมรดกที่ดินของตาจำนวนกึ่งหนึ่งคือ 1.5 ไร่ ที่เหลืออีก 1.5 ไร่ จะตกแก่พี่สาวและพี่ชายของตา สรุปยายจะได้รับส่วนแบ่งมากกว่าโดยจะได้รับที่ดินจำนวน 3 ไร่ กับมรดกอีก 1.5 ไร่ รวมเป็น 4.5 ไร่
          อันนี้เป็นการแบ่งมรดกที่ถูกต้องตามหลักกฎหมาย
          ในส่วนคำถามที่ต้องการทราบว่าจะดำเนินการแบ่งกรรมสิทธิ์กันอย่างไรนั้น ก็ต้องให้ยายยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วเอาคำสั่งศาลไปทำการแบ่งแยกและโอนกรรมสิทธิ์ต่อไป

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้