ชาย
ครอบครองปรปักษ์ได้หรือไม่คะ (936 อ่าน)
29 ต.ค. 2557 13:36
เรียน ทนายภูวรินทร์ครับ. พอดีน้าแกไม่มีผัว ไม่มีลูก อยู่คนเดียวแต่แกเอาผมมาเลี้ยงตอนเด็กซึ่งผมเป็นลูกพี่สาวแท้ๆของแก และมีที่นาอยู่ผืนนึงซึ่งแกก็ทำนามาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วและก็มีนาพี่สาวพี่ชายอยู่ติดๆกันด้วยและต่างคนต่างก็เข้าใจว่าที่แต่ละแปลงก็ต่างเป็นของใครของมันแล้วรวมถึงแปลงของแกด้วย พอมาวันนึงแกป่วยก็เลยว่าจะทำพินัยกรรมให้ผมแต่พอไปตรวจสอบดูที่แปลงนี้มันไม่ใช่ชื่อแกแต่เป็นชื่อของลูกพี่ชายซึ่งพี่ชายก็เสียชีวิตตั้งนานแล้วและลูกคนนั้นก็ไม่ได้มาดูหรือว่าทำอะไรในที่นาตรงนั้นเลยเป็นเวลา 10-20 ปีและแกก็ทำนาๆมาทุกปีๆซึ่งผมกับแม่ก็ช่วยทำมาโดยตลอด แต่ตอนนี้แกเสียชีวิตแล้วก็เลยอยากจะถามว่า ผมหรือแม่ผมสามารถฟ้องครอบครองปรปักษ์แทนแกได้ไหมครับ ...ขอบคุณครับ
ชาย
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
13 พ.ย. 2557 21:49 #1
ตอบคำถามคุณชาย
ก่อนอื่นต้องขออภัยที่ตอบคำถามล่าช้าเนื่องจากติดภารกิจคดีความครับ
ตามกฎหมายทายาทที่จะมีสิทธิรับมรดกของน้า (น้องสาวแม่) มี 6 ลำดับก่อนหลังกันดั่งต่อไปนี้ คือ (1) ผู้สืบสันดาน (2) บิดามารดา (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน(5) ปู่ ย่า ตา ยาย (6) ลุง ป้า น้า อา ส่วนคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635
ดังนั้น ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เมื่อน้าเสียชีวิต โดยบิดามารดาเสียชีวิตแล้ว และไม่มีคู่สมรส ไม่มีบุตร ที่นาจึงเป็นมรดกตกทอดไปยังพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน คือต้องแบ่งกันระหว่างพี่น้องของน้าคนละส่วนเท่ากัน
กรณีที่ต้องการคำตอบเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์นั้น คุณไม่สามารถฟ้องแทนน้าได้ การที่จะฟ้องได้จะต้องฟ้องโดยตนเองเป็นผู้ฟ้อง ซึ่งจะต้องสร้างข้อเท็จจริงให้เข้ากับข้อกฎหมายก่อนคือ คุณต้องเป็นคนครอบครองทำกิน โดยสงบ เปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีจึงจะมีสิทธิยื่นได้ ส่วนหากจะให้แม่คุณเป็นฝ่ายร้องศาล โดยอ้างว่าได้รับสิทธิทางปรปักษ์จากน้าก็จะมีคนอื่นร่วมด้วยหลายคนคงไม่ค้มค่ากับการฟ้องคดีเพราะต้องเสียความเป็นญาติพี่น้อง เนื่องจากที่ดินพิพาทมีชื่อของลูกพี่ชายเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์
หมายเหตุ ที่ดินที่จะร้องครอบครองปรปักษ์ได้จะต้องเป็นที่ดินออกโฉนดแล้วเท่านั้น ที่ดินประเภท น.ส.3 น.ส.3ก. หรือ ส.ค. หรือ ภบท ไม่สามารถร้องครอบครองปรปักษ์ได้
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
ผู้ดูแล