นิ

นิ

ผู้เยี่ยมชม

  การลาออกจากงาน (3077 อ่าน)

18 ก.ค. 2557 09:40

รบกวนสอบถามคะ คือดิฉันทำงานกับบริษัทต่างชาติโดยบริษัทในเมืองไทยจดทะเบียนแบบ representative office ดิฉันได้เซ็นสัญญาว่าจ้าง ในสัญญาระบุว่าถ้าจะออกจากงานต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้บริษัทหาคนมาทำแทน ดิฉันอยากทราบว่าดิฉันได้งานใหม่แต่ที่ใหม่เค้าบอกว่าไม่สามารถรอนานได้ถึง 3 เดือน ฉะนั้นหากดิฉันแจ้งล่วงหน้า 1 เดือนในการลาออกจะถือว่าผิดสัญญาในกฏหมายแรงงานไทยไหมคะ แล้วเค้ามีสิทธิเรีียกร้องค่าเสียหายไหมคะขอบคุณคะ

นิ

นิ

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

23 ก.ค. 2557 23:18 #1

ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541
                มาตรา 17 สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
                ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน
                ตามมาตรา 17 วรรคหนึ่ง หมายความว่า สัญญาจ้างกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดสัญญาจ้างกันไว้ เมื่อครบกำหนดตามสัญญาดังกล่าว สัญญาย่อมสิ้นสุดทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าว ส่วนวรรคสอง เป็นกรณีที่สัญญาจ้างไม่ได้กำหนดเวลากันไว้ ทั้งสองฝ่ายย่อมแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจ้างโดยการแจ้งล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้า 1 เดือน แต่ไม่ต้องเกินกว่าสามเดือน  ดังนั้น ตามกฎหมายให้สิทธิลูกจ้างที่จะบอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยบอกกล่าวล่วงหน้าหนึ่งเดือนเท่านั้น  แม้สัญญาจ้างจะตกลงกันไว้ที่สามเดือนก็ตาม แต่ก็ถือว่าขัดต่อกฎหมายแรงงาน เพราะมิฉะนั้น นายจ้างทุกคนก็จะกำหนดให้ต้องบอกกล่าวล่วงหน้านานหลายเดือนซึ่งลูกจ้างย่อมไม่ได้รับความเป็นธรรม
                ดังนั้น จึงต้องปฏิบัติตามหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น แต่ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม การที่ฝ่ายลูกจ้างลาออกโดยบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ถึงหนึ่งเดือน หรือไม่ถึงสามเดือนตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ก็ตาม แม้จะเป็นการผิดสัญญา แต่หากนายจ้างต้องการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย นายจ้างจะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า การที่ลูกจ้างบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ถึงเวลาที่กฎหมายกำหนดนั้น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างด้วย และต้องเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ๆ ไม่ใช่มโนเอาเองว่าจะเกิด แต่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะแม้จะบอกกล่าวไม่ครบ แต่หากไม่เกิดความเสียหายเนื่องจากมีลูกจ้างคนอื่นอีกหลายคนปฏิบัติงานทดแทนกันได้ ศาลย่อมไม่พิพากษาให้นายจ้างได้รับชดใช้ค่าเสียหาย
 

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้