PP

PP

ผู้เยี่ยมชม

  ปรึกษาเรื่องสัญญาเงินกู้ครับ (1266 อ่าน)

2 ก.ค. 2557 14:06

ขออนุญาติครับ...

คนรู้จักกันได้นำที่ดินมาขายให้ โดยที่ผมได้ทำสัญญาไว้ 2 ฉบับคือ สัญญาซื้อขาย กับ สัญญาเงินกู้ มาทราบภายหลังว่าที่ดินผืนดังกล่าวมีปัญญา คืิิอ ที่ดินที่เอามาขาย รุ่นพ่อเค้าซื้อที่ไว้เป็น 10 ปีแล้ว ให้เงินไปแล้วแต่ไม่มีเอกสารหรือ "ใบ" ใดๆที่แสดงการครอบครอง(คือให้อยู่เฉย)ต่อมาเจ้าของเดิมเค้าฟ้องเอาที่ดินคืนแล้วชนะคดี ความซวยเลยตกมาถึงผม

จึงเรียนมาเพื่อปรึกษาว่า ผมจะให้สัญญาเงินกู้ฟ้องเรียกเงินคืนครับ เป็นไปได้มั๊ย?
ช่วยแนะนำขั้นตอน และสิ่งที่ควรทำ ควรรู้อื่นๆ ให้ด้วยครับ

ขอบพระคุณครับ

PP

PP

ผู้เยี่ยมชม

PP

PP

ผู้เยี่ยมชม

2 ก.ค. 2557 14:35 #1

เพิ่มเติมครับ

ผมควรใช้สัญญาฉบับไหนในการฟ้องคดีครับ?

ขอบพระคุณครับ

PP

PP

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

4 ก.ค. 2557 16:24 #2

สัญญาซื้อขาย เมื่อผู้ขายผิดสัญญา ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ได้ ผู้ซื้อก็มีสิทธิเลิกสัญญา คู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม ผู้ขายต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่รับเงินไป จนกว่าจะชำระเสร็จ นอกจากนี้ หากผู้ซื้อมีความเสียหายอื่นอีก เช่น ต้องขาดกำไร หรือลงทุนเกี่ยวกับที่ดินนั้นไปแล้ว ย่อมฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมได้อีกส่วนหนึ่ง (ต้องสืบหลักฐานให้ได้ศาลจึงจะพิพากษาให้)

ส่วนสัญญากู้ยืมเงินนั้น อาจแปลงหนี้มาจากหนี้อื่นก็ได้ ต้องดูว่าคิดดอกเบี้ยกันเท่าไร หากคิดอัตราสูงสุด 15 % ต่อปี ก็ย่อมดีกว่าฟ้องตามสัญญาซื้อขายเพราะคิดดอกเบี้ยได้แค่ร้อยละ 7.5 ต่อปี

การจะใช้สัญญาใดฟ้องร้องนั้น นอกจากพิจารณาเรื่องดอกเบี้ยแล้ว ยังต้องพิจารณาเนื้อหาของสัญญาว่าอันไหนสมบูรณ์ ไม่มีข้อโต้แย้งมากกว่ากันด้วย
หากจะให้สัญญากู้ฟ้องก็ต้องนำสืบให้ได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงมูลหนี้จากซื้อขายมาเป็นการกู้เงิน มีการทำสัญญาคนละวันเวลากัน เพราะหากสัญญากู้ทำขึ้นพร้อมกับสัญญาซื้อขายในวันเดียวกัน คู่กรณีย่อมต่อสู้ว่า ไม่ได้มีการกู้เงินกันจริง ความจริงเป็นเรื่องการซื้อขายที่ดินกัน แต่โจทก์ให้จำเลยทำสัญญากู้ขึ้นมาอีกหนึ่งฉบับ โดยที่จำเลยไม่ได้ประสงค์จะกู้ยืมเงินหรือผูกพันตามสัญญากู้แต่อย่างใด สัญญากู้จึงเป็นนิติกรรมอำพราง เป็นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7229/2552
        “โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินและรับเงินสดไปจากโจทก์ จำเลยให้การและนำสืบต่อสู้ว่าจำเลยเคยนำเช็คไปขายลดแก่กลุ่มของโจทก์ ต่อมากลุ่มของโจทก์อ้างว่าจำเลยยังเป็นหนี้ประมาณ 700,000 บาท หากจำเลยยอมทำสัญญากู้จะลดยอดหนี้ให้เหลือ 500,000 บาท จำเลยจึงลงชื่อในสัญญากู้เงินโดยไม่เคยได้รับเงิน ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยถึงรายละเอียดที่มาแห่งมูลหนี้ในการทำสัญญากู้เงินระหว่าง โจทก์กับจำเลยที่โต้แย้งกันนั้นได้ ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์จริง ไม่ว่ามูลหนี้จะเป็นการกู้ยืมเงินสดหรือเป็นหนี้เงินที่ค้างชำระจากการขายลดเช็ค สัญญากู้ก็มีผลบังคับได้”

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4252/2528
          “จำเลยทำสัญญากู้ยืมไว้แก่โจทก์แทนการวางมัดจำเป็นเงินสดตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สัญญากู้ยืมดังกล่าวจึงมีมูลหนี้มาจากการที่จำเลยมีหนี้ที่จะต้องวางมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเมื่อจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวซึ่งโจทก์มีสิทธิริบเงินมัดจำโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับตามสัญญากู้ยืมได้เพราะมีมูลหนี้ต่อกันและกรณีเช่นนี้ถือได้ว่าได้มีการส่งมอบเงินให้ผู้กู้แล้ว เมื่อสัญญากู้ยืมครบกำหนด จำเลยไม่ชำระหนี้โจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินได้โดยถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญากู้ยืมเป็นต้นไปและเรียกค่าเสียหายร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่ากับดอกเบี้ยโดยคิดตั้งแต่วันผิดนัดได้ด้วย”

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้