คง

คง

ผู้เยี่ยมชม

  คดียักยอกทรัพย์ (1339 อ่าน)

11 เม.ย 2557 14:29

อยากปรึกษาทนายครับ
ก่อนอื่นนะครับ ผมเป็นกรรมการบริษัทร่วมกับเพื่อน และเป็นผู้ถือหุ้น51เปอเซ็น เพื่อน 49 โดยเงินในบัญชีกระแสและทุกอย่างให้เพื่อนมีอำนาจเซ็นคนเดียว แต่บัญชีกระแสรายวันทำบริการโอนเงินออนไลน์ไ้ด้วย ที่นี้ผมได้ทำการโอนเงินเข้าบัญชี ตัวเองหลายครั้งทั้งเป็นค่าใช้จ่ายในบริษัทและ ใช้ส่วนตัวด้วย ทีนี้เพื่อนรู้เรื่องเข้าก็เป็นเรื่องขึ้น แต่ผมก็บอกว่าจะทำสัญญาเป็นเงินกู้และใช้คืนให้ คุณทนาย มีคำแนะนำอย่างไรบ้างครับ ช่วยผมหน่อย

คง

คง

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

12 เม.ย 2557 13:15 #1

            ความผิดฐานยักยอก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 บัญญัติว่า “ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
            องค์ประกอบความผิดคือ 1.ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กล่าวคือทั้งตนเองและผู้อื่นเป็นเจ้าของร่วมกัน 2.เบียดบังเอาทรัพย์สินนั้นเป็นของตน หรือ เป็นของบุคคลที่สาม  3.โดยทุจริต คือแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย 4.เจตนา
            บริษัท เป็นนิติบุคคลที่กฎหมายสมมุติขึ้นมา แยกต่างหากจากกรรมการ มีผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าของ โดยมีบุคคลผู้แสดงเจตนาแทนคือ กรรมการบริษัท ซึ่งจะต้องกระทำการแทนบริษัทภายในขอบเขตอำนาจของการเป็นกรรมการด้วย ดังนั้น หากคุณมีสิทธิทำบริการโอนเงินออนไลน์ในบัญชีกระแสรายวัน เพื่อบริหารจัดการค่าใช้จ่ายภายในบริษัท แล้วโอนเงินเข้าบัญชีส่วนตัวเพื่อประโยชน์ของตนเองโดยไม่มีสิทธิ ก็มีความผิดฐานยักยอก เป็นความผิดที่ยอมความเพื่อให้คดีอาญาระงับได้ แต่หากไม่มีอำนาจกระทำการดังกล่าว ก็อาจมีความผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งเป็นคดีอาญาแผ่นดินที่ไม่สามารถยอมความได้ การยอมความกันไม่ทำให้สิทธิในการดำเนินคดีอาญาระงับ ซึ่งก็ต้องถามใจคุณเองว่า สิ่งที่ทำลงไปคุณมีสิทธิและหน้าที่มากน้อยแค่ไหน และทำด้วยเจตนาหรือไม่ คำตอบจึงอยู่ที่ตัวคุณว่าผิดหรือไม่ผิด
            วิธีการที่จะทำให้เรื่องจบคือต้องนำเงินมาคืนบริษัทเท่านั้น ส่วนการทำเป็นสัญญากู้ยืมเงินนั้น หากเพื่อนยินยอมก็สามารถทำนิติกรรมเป็นการกู้ยืมเงินเพื่อให้เป็นเรื่องทางแพ่ง และใช้สิทธิเรียกร้องทางแพ่ง
 

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

คง

คง

ผู้เยี่ยมชม

12 เม.ย 2557 14:46 #2

ขอบคุณคุณทนายมากครับ

คง

คง

ผู้เยี่ยมชม

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้