เครียดมาก

เครียดมาก

ผู้เยี่ยมชม

  บริษัทค้างค่าจ้างพนักงานและแจ้งว่าบริษัทไม่มีเงินที่จะจ่าย (3806 อ่าน)

9 พ.ย. 2556 17:27

ขอรบกวนสอบถามหน่อยนะครับ บรืษัทค้างค่าจ้างพนักงานครึ่งเดือนครับ และผัดผ่อนมาหลายครั้งเป็นระยะเวลาเกือบครึ่งปี จนล่าสุดแจ้งว่าบริษัทไม่มีเงินจ่ายให้พนักงานทำใจว่าอาจจะได้นิดหน่อยหรือไม่ได้เลย แบบนี้ผมต้องดำเนินการอย่างไรดีครับ

เครียดมาก

เครียดมาก

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

12 พ.ย. 2556 12:38 #1


               กรณีตามคำถามสามารถไปยื่นร้องเรียนบริษัทนายจ้างที่สำนักงานคุ้มครองแรงงานพื้นที่ที่บริษัทนายจ้างตั้งอยู่ หรือไปพบนิติกรศาลแรงงานพื้นที่ตั้งของนายจ้างเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น และควรรีบดำเนินการโดยเร็วที่สุดครับ

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

เครียดมาก

เครียดมาก

ผู้เยี่ยมชม

15 พ.ย. 2556 07:34 #2

ขอบคุณครับ ล่าสุดผมพยายามติดต่อเขาไปเจรจา แต่ทางเขาแจ้งมาว่าถ้าฟ้องร้องกันทางเขาไม่ได้กังวลใดๆ เนื่องจากเขาไม่มีทรัพย์สินอะไรเลย และในส่วนของผู้ถือหุ้นก็ได้ชำระทุนจดทะเบียนครบหมดแล้ว คือถ้าเป็นแบบนี้ผมฟ้องร้องไป ก็ไม่ได้เงินเดือนคงค้างในส่วนนั้นใช่มั้ยครับ (ข้อมูลที่เขาแจ้งมามีเป็นลายลักษณ์อักษรครับ)

เครียดมาก

เครียดมาก

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

15 พ.ย. 2556 11:29 #3


       การยื่นคำร้องและการพิจารณาคำร้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
       (1) มาตรา 123 ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัตินี้ และลูกจ้างมีความประสงค์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ในกรณีที่เกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าลูกจ้างถึงแก่ความตายให้ทายาทโดยธรรมมีสิทธิยื่น คำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้
       (2) มาตรา 124 เมื่อมีการยื่นคำร้องตาม มาตรา 123 ให้พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่งภายใน 60 วันนับแต่วันที่รับคำร้อง
       เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนแล้วปรากฏว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่ง
       (3) มาตรา 125 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตาม มาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมขอ ลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่พอใจคำสั่งนั้นให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคำสั่ง
       ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งนั้น จึงจะฟ้องคดีได้
       เมื่อคดีถึงที่สุดและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินจำนวนใด ให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตา ให้ศาลมีอำนาจจ่ายเงินที่นายจ้างวางไว้ต่อศาลให้แก่ลูกจ้างหรือ ทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายได้
       (4) หากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่ได้โต้แย้งคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานโดยการนำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดเวลาตามข้อ (3) คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานจะถึงที่สุด
       (5) เมื่อคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานถึงที่สุด และนายจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจในการดำเนินคดีอาญาฐานขัดคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานต่อนายจ้างได้ และการที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน นายจ้างจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 146 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท  
       (6) ในการดำเนินคดีอาญาของพนักงานตรวจแรงงาน ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล พนักงานตรวจแรงงานจะฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องกรรมการฯ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นจำเลยที่ 2 หากท้ายสุดนายจ้างไม่สามารถนำเงินมาวางตามที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งโดยไม่สามารถแถลงถึงเหตุผลให้ศาลรับฟังได้ ศาลอาจใช้ดุลพินิจในการลงโทษทางอาญาตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368 ในความผิดฐานขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ (ความผิดลหุโทษ) โดยมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากศาลใช้ดุลพินิจในการลงโทษจำคุกด้วย โทษจำคุกนี้กรรมการฯ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องเข้ามาเป็นผู้รับโทษ เนื่องจาก นิติบุคคลเป็นบุคคลที่กฎหมายสมมุติขึ้นจึงไม่อาจรับโทษจำคุกทางอาญาได้
       (7) ในส่วนของลูกจ้างเมื่อนายจ้างได้รับคำสั่งจากพนักงานตรวจแรงงานให้นำเงินมาวางแล้ว แต่นายจ้างไม่ปฏิบัติจนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานถึงที่สุดแล้ว ลูกจ้างสามารถดำเนินการยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานกลางให้นายจ้างปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานได้
       ดังนั้น กรณีนี้สามารถใช้สิทธิยื่นคำร้องที่พนักงานตรวจแรงงานเพื่อมีคำสั่งก่อน เพื่อให้กรรมการของบริษัทปฏิบัติตามและหากไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษทางอาญาที่มีสภาพบังคับที่ดีกว่าตามขั้นตอนที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น โดยใช้หลักฐานทั้งหมดที่มีประกอบการยื่นคำร้อง ส่วนยื่นแล้วจะได้เงินหรือไม่ เมื่อบริษัทแจ้งมาว่าไม่มีเงิน ก็ไม่ต้องคาดหวัง แต่ควรทำไปเพื่อไม่ให้บริษัทลอยนวลหรืออยู่แบบไม่มีความรับผิดชอบง่าย ๆ อย่างนี้
 

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้