คนบ้านๆ

คนบ้านๆ

ผู้เยี่ยมชม

  คดียักยอกทรัพย์ (5535 อ่าน)

17 ส.ค. 2556 14:04

ผมขอรบกวนช่วยแนะนำ ผมมีพี่สาวเค้าเอาเงินที่จะต้องนำไปเข้าบัญชีมาใช้10000บาทมาแล้วเจ้าของเงินไปแจ้งความจนเวลาผ่านไป5ปีก็มีหมายเรียกมาที่บ้านแต่เจ้าตัวไม่อยู่แล้วหมายเรียกมาเมื่อเดือนกุมภาที่ผ่านมา แล้วเจ้าของเงินก็ได้ไปขอถอนแจ้งความแต่ทางตำรวจไม่ได้ถอนให้. ไม่ทราบว่าจะถอนได้หรือไม่จนตอนนี้ผมรู้ว่าทางตำรวจเค้าพยายามตามจับอยู่ ส่วนทางเจ้าของเงินก็ได้เข้าไปหาตำรวจอีกครั้งเมื่อวันที่14สิงหาเพื่อไปบอกว่าเค้าไม่ติดใจเอาความและไม่ต้องการเงินคืนแล้ว ไม่ทราบว่าจะถอนแจ้งความได้หรือไม่และจะต้องทำอย่างไรบ้าง. ช่วยตอบผมด้วยครับสงสารหลานที่ไม่อยู่กับแม่เลย

คนบ้านๆ

คนบ้านๆ

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

19 ส.ค. 2556 11:22 #1


เรื่องนี้ ต้องพิจารณาจากข้อหาที่พนักงานสอบสวนตั้งข้อหาตั้งแต่แรกว่า การกระทำหรือข้อเท็จจริงตามที่ผู้เสียหายได้แจ้งความเมื่อ 5 ปีก่อนเป็นข้อหาอะไร เพราะหากเป็นข้อหาลักทรัพย์ ก็เป็นคดีอาญาแผ่นดินที่ผู้เสียหายไม่สามารถถอนคำร้องทุกข์ได้ พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
แต่หากเป็นข้อหายักยอกซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้ ผู้เสียหายมีสิทธิถอนคำร้องทุกข์โดยทำเป็นหนังสือแจ้งให้พนักงานสอบสวนทราบ หรือไปถอนที่สถานีตำรวจได้เลยโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากตำรวจแต่อย่างใด หรือผู้เสียหายจะทำเป็นหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ต้องหาก็ได้ว่าไม่ติดใจเอาความแล้ว ก็ถือเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายเป็นเหตุให้สิทธิในการดำเนินคดีอาญาระงับได้เช่นกัน และเมื่อเป็นเช่นนั้น ตำรวจก็ไม่มีอำนาจสอบสวนและส่งเรื่องฟ้องศาล

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

คนบ้านๆ

คนบ้านๆ

ผู้เยี่ยมชม

19 ส.ค. 2556 18:10 #2

ขอบคุณครับ แต่จนกระทั่งวันนี้ทางตำรวจก็ยังไม่ได้เรียกเจ้าของเงินเข้าไปคุยอีกผมไม่เข้าใจว่ามันต้องใช้เวลานานมากแค่ไหนครับทางตำรวจเข้าถึงจะดำเนินการให้ รู้แค่ว่าเขาจะเรียกเข้าไปสอบสำนวนใหม่ต้องใช้เวลานานไหมครับทั้งที่จะไปถอนแจ้งความอย่างเดียว (เป็นคดียักยอกทรัพย์ครับ) ขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ

คนบ้านๆ

คนบ้านๆ

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

20 ส.ค. 2556 18:33 #3


ประมวลกฎหมายอาญา
หมวด 5 ความผิดฐานยักยอก
       มาตรา 352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคล ที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
       ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์ สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียง กึ่งหนึ่ง
       มาตรา 353 ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นหรือ ทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วย ประการใด ๆ โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
       มาตรา 354 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 352 หรือ มาตรา 353 ได้กระทำในฐานที่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของ ผู้อื่น ตามคำสั่งของศาล หรือตามพินัยกรรม หรือในฐานเป็นผู้มีอาชีพ หรือธุรกิจ อันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ผู้กระทำต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
       มาตรา 355 ผู้ใดเก็บได้ซึ่งสังหาริมทรัพย์อันมีค่า อันซ่อนหรือฝัง ไว้โดยพฤติการณ์ซึ่งไม่มีผู้ใดอ้างว่าเป็นเจ้าของได้ แล้วเบียดบังเอา ทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
       มาตรา 356 ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้
 

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

20 ส.ค. 2556 18:36 #4


ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้
(1) โดยความตายของผู้กระทำผิด
(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
(3) เมื่อคดีเลิกกันตาม มาตรา 37
(4) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
(5) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิดยกเลิกความผิด เช่นนั้น
(6) เมื่อคดีขาดอายุความ
(7) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ
 

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

20 ส.ค. 2556 18:41 #5


ตามหลักกฎหมายดังกล่าว คดียักยอกเป็นความผิดต่อส่วนตัวและเป็นความผิดอันยอมความกันได้ หากผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ สิทธิในการดำเนินคดีอาญาย่อมระงับ หรือหากมีบันทึกยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ผู้เสียหายทำบันทึกว่าไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาดังกล่าวกับผู้ต้องหาอีกต่อไป มีพยานลงชื่อสองคน และแนบเอกสารส่วนตัวของคู่กรณี ย่อมถือเป็นการยอมความกันถูกต้องตามกฎหมาย แล้วนำหลักฐานนั้นไปมอบแก่ตำรวจ แค่นี้ก็ไม่ต้องไปทำสำนวนอะไรขึ้นมาใหม่เลย ส่วนเรื่องที่ตำรวจบอกมานั้น ไม่มีบัญญัติในกฎหมาย ไม่ต้องใช้เวลาอะไรมากแค่ลงบันทึกประจำวันถอนแจ้งความก็เสร็จสิ้น จึงตอบไม่ได้ว่าจะใช้เวลานานเท่าใด เพราะขึ้นอยู่กับอารมณ์ของตำรวจคนทำงานมากกว่า

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

ขอคำปรึกษา

ขอคำปรึกษา

ผู้เยี่ยมชม

13 ก.ย. 2557 16:10 #6

อยากทราบว่าน้องสาวได้ทำงานแบงค์ทุจริตนำเงินลูกค้าไปใช้ยอด 1.8 ล้านบาท จะมีโทษอย่างไรบ้าง (เพราะตอนนี้ไม่มีเงินนำไปคืน):k::k::k:

ขอคำปรึกษา

ขอคำปรึกษา

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

20 ก.ย. 2557 23:50 #7

~~ เงินที่ลูกค้านำฝากเข้าบัญชีของลูกค้าไว้กับธนาคาร ถือเป็นเงินของธนาคารและอยู่ในความครอบครองของธนาคาร ไม่ได้อยู่ในความครอบครองของพนักงาน เพียงแต่ธนาคารมีหน้าทีคืนเมื่อลูกค้าขอเบิกถอนเท่านั้น ดังนั้น กรณีอาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ของนายจ้างซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินห้าปีซึ่งมากกว่าลักทรัพย์ธรรมดา(ไม่เกินสามปี) และหากทำผิดคือเอาเงินธนาคารมาหลายครั้ง ก็ต้องรับผิดทุกครั้งด้วย เช่น ทำผิด 20 ครั้งรวมเป็นเงิน 1.8 ล้าน ก็ต้องเอาจำนวนครั้งคูณกับจำนวนโทษที่ศาลจะลง เป็นต้น ดูตัวอย่างคดีที่ศาลเคยตัดสินไว้ ได้แก่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1104/2545
          จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย ตำแหน่งพนักงานธนากรมีหน้าที่รับฝากและถอนเงินให้ลูกค้า แต่เงินที่ลูกค้านำฝากเข้าบัญชีของลูกค้าไว้กับผู้เสียหายเป็นของผู้เสียหายและอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย มิได้อยู่ในความครอบครองของจำเลย การที่จำเลยใช้ใบถอนเงินหรือแก้ไขบัญชีเงินฝากของลูกค้าผู้ฝากต่างกรรมต่างวาระในรูปแบบทางเอกสารเป็นกลวิธีในการถอนเงินของผู้เสียหายจนเป็นผลสำเร็จแล้วทุจริตนำเงินนั้นไป จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์มิใช่ยักยอก
           จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษน้อยลงและรอการลงโทษ แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่รับฎีกาข้อนี้ของจำเลยเนื่องจากเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาได้รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยข้ออื่นในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาด้วยว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษแก่จำเลยนั้นเหมาะสมหรือไม่เพียงใด และมีเหตุรอการลงโทษให้แก่จำเลยหรือไม่
________________________________
          โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) จำเลยลักเงินของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ผู้เสียหายสาขาบางเขน ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยไปโดยทุจริต ในการลักทรัพย์ดังกล่าวจำเลยได้ทำเอกสารสิทธิปลอมโดยนำใบฝากเงินและใบถอนเงินมากรอกข้อความลงลายมือชื่อเจ้าของบัญชีและผู้รับเงินเป็นเจ้าของบัญชีปลอมแล้วจำเลยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของนายสงวน เดชประดิษฐ์นายนาม บุตรรักษ์ นางบุหงา ยังนึก นางมณฑา รูปขจร และพลตรีมนูญรูปขจร เอาเป็นของตนโดยทุจริต อันเป็นการกรอกข้อความและลงลายมือชื่ออันเป็นเท็จเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารฉบับที่แท้จริง ซึ่งความจริงแล้วบุคคลที่มีชื่อดังกล่าวไม่ได้เบิกถอนหรือรับเงินไปจากผู้เสียหายและไม่ได้ทำเอกสารสิทธิปลอมดังกล่าวขึ้นตามรายละเอียดที่กรอกข้อความปลอมไว้ อีกทั้งไม่ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้ถอนเงินและผู้รับเงินแต่อย่างใดและจำเลยใช้เอกสารสิทธิปลอมดังกล่าวอ้างแสดงต่อผู้เสียหายเพื่อให้หลงเชื่อโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลที่มีชื่อดังกล่าว ผู้เสียหาย ผู้อื่น และประชาชน โดยได้กระทำรวม 11 ครั้ง รวมเป็นเงินที่จำเลยลักไปทั้งสิ้น 3,114,158.35 บาท ซึ่งผู้เสียหายได้ให้ชดใช้ให้แก่เจ้าของบัญชีไปเป็นเงิน 2,374,428.29 บาท ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264, 265, 268, 335, 91 ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินจำนวน 2,374,428.29 บาท แก่ผู้เสียหาย
          จำเลยให้การปฏิเสธ
          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265, 268 (ที่ถูกมาตรา 265, 268วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 265 ซึ่งต้องวางโทษตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 ตามมาตรา 268 วรรคสอง), 335(11) วรรคแรก รวม 11 กระทง การกระทำของจำเลยในแต่ละกระทงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(11) วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 3 ปี เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 แล้วรวมจำคุก 33 ปี คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา นับเป็นเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงให้จำคุกเพียง 20 ปี (ที่ถูกลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 22 ปี แต่รวมโทษทุกกระทงแล้ว คงจำคุกได้เพียง 20 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91(2)) ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินจำนวน 2,374,428.29 บาท แก่ผู้เสียหาย
          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1) วรรคแรก ในกระทงความผิดที่ 1 ถึงที่ 8 และกระทงที่ 11 และมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265, 268 วรรคแรกในกระทงความผิดที่ 4 ที่ 6 ถึงที่ 8 และกระทงที่ 9 จำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมเอง ต้องลงโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมในกระทงความผิดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 วรรคสอง แต่ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอมในกระทงความผิดที่ 4 และกระทงที่ 6 ถึงที่ 8 เป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานลักทรัพย์ในกระทงเดียวกันให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1) วรรคแรก อันเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 เรียงกระทงลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์กระทงที่ 1 ถึงที่ 8 และกระทงที่ 11 และความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมในความผิดกระทงที่ 9 จำคุกกระทงละ 3 ปี คำให้การจำเลยในชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาเฉพาะกระทงความผิดที่ 8 มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แต่ให้ลงโทษจำคุกตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 20 ปี ให้ยกฟ้องสำหรับกระทงความผิดที่ 10 ส่วนกระทงความผิดที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และกระทงที่ 11 ให้ยกฟ้องเฉพาะข้อหาความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม สำหรับความผิดกระทงความผิดที่ 9 ให้ยกฟ้องเฉพาะข้อหาความผิดฐานลักทรัพย์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
          จำเลยฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยเฉพาะที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับมาว่า การกระทำของจำเลยในกระทงที่ 1 ถึงที่ 8 และกระทงที่ 11 เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือเป็นความผิดฐานยักยอก ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 ซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นพนักงานของผู้เสียหาย ตำแหน่งพนักงานธนากรมีหน้าที่รับฝากและถอนเงินให้ลูกค้า จำเลยได้ทุจริตใช้ใบถอนเงินที่ไม่มีชื่อลูกค้าในบัญชี หรือบางครั้งใช้ใบถอนเงินที่เป็นเท็จถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกค้าที่มีอยู่จริง หรือบางครั้งแก้ไขบัญชีเงินฝากของลูกค้าว่าลูกค้าได้ถอนเงินจากบัญชีทั้งหมด โดยได้นำเงินส่วนหนึ่งฝากกลับเข้าในบัญชีเดิมโดยไม่ครบจำนวน แล้วนำเงินส่วนที่เหลือไปเป็นของจำเลย โดยยังคงมีตัวเลขเงินฝากครบจำนวนในสมุดเงินฝากแล้วนำเงินของผู้เสียหายตามใบถอน หรือที่ได้แก้ไขบัญชีเงินฝากที่กล่าวมาไปเข้าบัญชีหรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากของนายยุทธการ รูปขจร แล้วนายยุทธการได้ถอนเงินที่จำเลยนำเข้าบัญชีออกไปโดยทุจริตรวม 9 ครั้ง ศาลฎีกาเห็นว่า แม้จำเลยจะมีหน้าที่รับฝากเงินและถอนเงินให้ลูกค้าของผู้เสียหายดังที่กล่าวมา แต่เงินที่จำเลยทุจริตเอาไปนั้นล้วนแต่เป็นเงินที่ลูกค้าได้นำฝากเข้าบัญชีของลูกค้าไว้กับผู้เสียหายทั้งสิ้น เงินฝากดังกล่าวจึงเป็นของผู้เสียหายและอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย มิได้อยู่ในความครอบครองของจำเลยและจำเลยใช้ใบถอนเงินหรือแก้ไขบัญชีเงินฝากของลูกค้าผู้ฝากต่างกรรมต่างวาระมาในรูปแบบทางเอกสารเป็นกลวิธีในการถอนเงินของผู้เสียหายจนเป็นผลสำเร็จแล้วทุจริตนำเงินนั้นไป การกระทำดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์มิใช่ความผิดฐานยักยอกดังที่จำเลยฎีกา ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ในกระทงที่ 1 ถึงที่ 8 และกระทงที่ 11 นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่จำเลยอ้างมานั้น ข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ อนึ่ง จำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1) วรรคแรก จึงเป็นการปรับบทมาตราไม่ถูกต้อง ชอบที่ศาลฎีกาจะปรับบทเสียใหม่
          ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษน้อยลงและรอการลงโทษนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่รับฎีกาข้อนี้ของจำเลยเนื่องจากเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาได้รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยข้ออื่นในปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาด้วยว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษแก่จำเลยนั้นเหมาะสมหรือไม่เพียงใด และมีเหตุรอการลงโทษให้แก่จำเลยหรือไม่ เห็นว่า จำเลยกระทำการลักทรัพย์หลายครั้งหลายคราวติดต่อกันตามพฤติการณ์แห่งคดีที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้นั้นชอบแล้ว แต่ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทุกกระทงความผิดกระทงละ 2 ปี รวม 20 ปี มานั้น เห็นว่า จำนวนเงินที่จำเลยลักทรัพย์ไปมีมากบ้างน้อยบ้าง ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยกระทำความผิดอย่างใดมาก่อน ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 2 ปี นั้น จึงหนักเกินไป ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย แต่เห็นสมควรลงโทษให้เบากว่านี้ตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งการกระทำความผิด"
          พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(11) วรรคแรก สำหรับกระทงที่ 1 ถึงที่ 8 และกระทงที่ 11 จำคุกกระทงละ 1 ปี และฐานเป็นผู้ปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมสำหรับกระทงที่ 9 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 265, 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 265 ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 265 ตามมาตรา 268 วรรคสอง จำคุก 1 ปี คำให้การจำเลยในชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงจำคุกกระทงละ 8 เดือนรวม 10 กระทง จำคุกจำเลย 80 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
 ( กุลพัชร์ อิทธิธรรมวินิจ - พูนศักดิ์ จงกลนี - ปัญญา สุทธิบดี )
 
หมายเหตุ 
          จำเลยเป็นพนักงานธนากรของธนาคารมีหน้าที่รับฝากและถอนเงินให้ลูกค้าของธนาคาร เงินที่ลูกค้านำมาฝากธนาคารก็ดี เงินที่ธนาคารนำมาเตรียมไว้ให้ลูกค้าถอนไปก็ดี เป็นเงินของธนาคารซึ่งอยู่ในความครอบครองของธนาคาร ส่วนจำเลยเป็นเพียงผู้ดูแลรักษาเงินในระหว่างดำเนินงานเท่านั้น จำเลยเอาเงินไปโดยทุจริตจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 มิใช่ยักยอกตามมาตรา 352
           แต่ถ้าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ดูแลรักษาเงินนั้น แม้จะไม่ได้เป็นผู้ครอบครองเงิน เมื่อเบียดบังเงินไปโดยทุจริต ย่อมมีความผิดตามมาตรา 147(เทียบคำพิพากษาที่ 4000/2528)มิใช่ความผิดฐานลักทรัพย์เท่านั้น
           ไพโรจน์ วายุภาพ

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

Yot

Yot

ผู้เยี่ยมชม

27 เม.ย 2558 10:54 #8

อยากทราบว่า ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน คืออะไรหรอค่ะ

Yot

Yot

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

2 พ.ค. 2558 20:45 #9

ตอบคำถามคุณ yot
      คำว่า ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน หมายความถึงประโยชน์สิ่งตอบแทนใดๆที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเงินเท่านั้น แต่คือประโยชน์ใด ๆ ที่สามารถคำนวนออกมาเป็นทรัพย์สินได้ แต่การขู่ไม่ให้เป็นพยานหรือขู่ให้ส่งบุตรสาวไปเป็นภรรยาไม่ใช่ขู่ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน  

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

Pantipa

Pantipa

ผู้เยี่ยมชม

21 ธ.ค. 2560 03:04 #10

หยิบเงินมาจากถุง1000บาทโดยเจ้าของรับรุ้ แต่มาบอกว่าเราเอาเงินไป เรามีความผิดยังงัยค่ะ

Pantipa

Pantipa

ผู้เยี่ยมชม

Pantipa

Pantipa

ผู้เยี่ยมชม

21 ธ.ค. 2560 03:07 #11

แต่เราเอาใส่เงินคืนไปแล้ว แต่เจ้าของบอกว่าไม่มี

Pantipa

Pantipa

ผู้เยี่ยมชม

Pantipa

Pantipa

ผู้เยี่ยมชม

21 ธ.ค. 2560 03:10 #12

แต่เราเอาใส่เงินคืนไปแล้ว แต่เจ้าของบอกว่าไม่มี

Pantipa

Pantipa

ผู้เยี่ยมชม

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้