นาซา

นาซา

ผู้เยี่ยมชม

  เรื่องมรดกครับ (2737 อ่าน)

15 พ.ค. 2556 12:05

พ่อเป็นหนี้ 7.8 ล้าน เป็นที่ดินติดจำนอง 5.4 ล้าน และ หนี้บัตร เครดิต 1.2 ล้าน และ เป็นหนี้ลุงอีก 1.2 ล้าน
มีเงินจาก 6.7 กองทุนของพ่อ ที่พ่อแบ่งให้ ผม 30% กับ ลูกอีกคน และ เมียใหม่ 70 %
และเงินประกันชีวิต 5 ล้าน ให้ลุง

ผม กับ ลูกอีกคน เมียใหม่ แม่ผมไม่ได้มีใครได้จดทะเบียนสมรส และไม่ได้รับรองใครเป็นบุตร
ลุงมาขอให้ผม แต่งตั้งลุงเป็นผู้จัดการมรดก

อยากถามว่า ผมมีสิทธิ์ แต่งตั้งลุงได้ หรือ ไม่ แล้วถ้าผมมีสิทธิผม สามารถเป็น เองได้ หรือไม่
แล้วถ้าผมจัดการโดย การรวมเงินทั้งหมด แล้วนำไปใช้หนิ้สิน แล้ว ค่อยมา หาร 2 กับ ระหว่าง ผม กับ ลูกอีกคน
จะได้หรือปล่าว ครับ

นาซา

นาซา

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

16 พ.ค. 2556 14:13 #1


        ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
        มาตรา 1629 บัญญัติว่า “ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ
                                              (1) ผู้สืบสันดาน
                                              (2) บิดามารดา
                                              (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
                                              (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
                                              (5) ปู่ ย่า ตา ยาย
                                              (6) ลุง ป้า น้า อา
                                               คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635”
        มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้
        ดังนั้น แม้บิดามารดาจะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร แต่หากบิดาได้รับรองตามความเป็นจริงว่าเป็นลูก เช่น ให้ใช้นามสกุล ส่งเสียให้การศึกษา เป็นต้น ก็ถือเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว และมีสิทธิรับมรดกในฐานะเป็นทายาทชั้นบุตรตามมาตรา 1629 (1) ครับ
        ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกตามมาตรา 1629 นั้น หากมีทายาทลำดับที่ 1 แล้ว ทายาทลำดับถัดลงไปจะหมดสิทธิรับมรดกโดยอัตโนมัติ ยกเว้น ลำดับที่ 2 คือบิดามารดา กฎหมายให้มีสิทธิรับร่วมกับผู้สืบสันดาน โดยได้ส่วนแบ่งเท่ากัน
        การเป็นผู้จัดการมรดกนั้น ผู้ที่จะยื่นต้องเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกเท่านั้น ทายาทอื่น ๆ ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ แต่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้ คือ ไม่มีสิทธิยื่น แต่มีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกได้ โดยให้ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกยื่นเพื่อให้ตนเองเป็นผู้จัดการมรดกก็ได้  ดังนั้น หากคุณบรรลุนิติภาวะแล้ว ก็สามารถยื่นเอง เป็นเอง และจัดการชำระหนี้สิน และแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกได้เองโดยได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ส่วนคนอื่นที่ไม่ใช่ทายาทก็ไม่มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งแต่อย่างใด 
 

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้