จ๊ะโอ๋

จ๊ะโอ๋

ผู้เยี่ยมชม

  คดียักยอกทรัพย์ และสมรู้ร่วมคิด ทำให้ผู้อื่นสูญหายทรัพย์ิไป (9239 อ่าน)

11 เม.ย 2556 15:15

ขอรบกวน ช่วยแนะนำด้วยนะคะ พอดีเกิดปัญหาที่ว่า
ดิฉันได้มีการคบหาดูใจกับผู้ช่ายท่านหนึ่ง โดยไม่มีอะไรกัน คบหาเป็นแฟน กำลังจะแต่งงานกัน ซึ่งเป็นระยะเวลา 8 จะเข้าปีที่ 9 แล้ว โดยปี5 ทางครอบครัว ดิฉันคือพ่อแม่ อนุญาติให้ชายท่านนี้มาอยู่ที่บ้านโดยมีห้องส่วนตัวให้และให้จ่ายเป็นค่าเช่าบ้าน เดือนละ 1000 บาท
ต่อมาเดือน มิถุนายน ขายท่านนี้ได้ลาออกจากงาน เนืองจากดิฉันจับได้มีใจให้หญิงอีกคนในที่ทำงาน ดิฉันกับชายท่านนี้จึงมีเรื่องระหองระแหงกัน และชายท่านนี้ได้ขอให้ดิฉันอภัยให้เค้า และเค้าจึงลาออก และได้ทำงานที่ไหม่ในเวลาต่อมา และสิงหาคม ได้มีการเจรจากับดิฉันและพ่อแม่ว่า จะไปอยู่ห้องเช่าของออฟฟิศใหม่ที่เค้าจัดหาให้ โดยได้ย้ายออกจากบ้านดิฉันมา ต้นเดือน กันยายน 2555 ดิฉันและครอบครัวได้รับทราบว่า ชายท่านนี้ได้ออกจากบ้านกัน และเค้าได้ขอเอารถกะบะ และมอเตอร์ไซด์ไปใช้ เพื่อจะได้มาหาดิฉันได้สะดวก (รถ2คันชื่อดิฉัน)
ต่อมาดิฉันได้ติดต่อกับชายท่านนี้ค่อนข้างลำบาก มีความไม่เข้าใจกันบ้าง จนชายท่านนี้ได้ติดต่อโทรเข้ามาที่บ้านได้คุยกะแม่ว่า เค้าไม่ได้คิดจะเลิกกับดิฉัน แม่ถามไปว่าก้อไม่ด้ติดต่อมาหาเลยนึกว่าขนของออกไปหมดแล้ว ชายท่านนี้จึงได้เอ่ยออกมาว่า ไม่ได้เอาไปหมด อยู่บนห้อง แม่และดิฉันจึงขึ้นไปดูของข้างบนห้องว่ามีอะไรบ้าง เพราะนับตั้งแต่ชายท่านนี้ออกจากบ้านไป ก้อไม่ได้ขึ้นไปดูสภาพห้องเลย ปรากฏว่า สิ่งที่หลงเหลืออยู่คือ กระเป๋าที่ชายท่านนี้เก็บทองไว้ เตรียมจะขนออกไป และดิฉันได้เปิดตู้ทีเราเก็บของร่วมกันปรากฏว่าทองหายไปประมาณ 6 บาท สันนิฐานว่า ชายท่านนี้เอาออกไปก่อนหรือเอาไปในวันที่ออกไปครั้งแรกแล้ว ด้วยความโมโหดิฉันได้โทรไปหาขายท่านนี้ว่าทำไมเอาของออกจากบ้านไปโดยไม่บอก เพราะทองอันนิ้ดิฉันซื้อไว้จะเป็นสินสอด โดย 80%เป็นเงินของดิฉัน และ 20% เป้นเงินของชายท่านนี้ โดยชี้แจงได้ว่าเส้นไหนใครซื้อค่ะ และดิฉันก้อเอาทาองที่เหลือในกระเป๋าที่เค้าเก็บไว้นั้นไปให้เค้าเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ จึงได้ปรับความเข้าใจกัน เค้าบอกว่า เค้าเอาไปให้แม่เค้าเก็บ ดิฉันถามว่า แล้วเอาออกมาทำไม เค้าไม่มีคำตอบ และเค้าก้อได้เอาทอง Lot ที่2 ไปอีก โดยดิฉันเข้าใจว่าเค้าคือใส่มาในกระเป๋าดิฉันแล้วตอนปรับความเข้าใจกัน
ต่อมา เราผิดใจกันเรื่องเงินและคำพูดที่เค้าด่าว่าดิฉัน วันที่ 2 ตุลาคม 2555 เค้าได้ส่งข้อความมาว่า ดิฉันไม่คิดจะง้อเค้าเลยหรอ (เค้าต่อว่าดิฉันแต่จะให้ง้อเค้า คิดต่อนะคะ) ดิฉันก้อไม่ได้ส่งข้อความหรือโทรกลับ เพราะว่า เค้าควรจะกระทำมากกว่าดิฉัน หลังจากนี้มาดิฉันก้องอนเค้า ไม่ได้ติดต่อ ได้แต่รอเค้าติดต่อมาจะได้รู้ความผิดตัวเอง จนแล้วจนเล่าเค้าก้อไม่โทรมา
จนวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 บัตรเครดิตอีออน ติดต่อมาว่ารถไม่ได้ชำระให้ทำการชำระเงินค่างวดรถเข้าไป ไม่งั้นจะขึ้นชื่อ Black List ค่ะ ดิฉันก้อตกใจว่าทำไมชายท่านนี้ไม่ได้จ่ายหรอ ไม่รุ้จะติดต่อไง ไม่มีเบอร์เค้า จึงได้โทรไปหาแม่เค้า แม่เค้าต่อว่าดิฉันมาเบื้องต้นว่าทำไมไม่คุยกัน แต่ไม่ได้เอ่ยอะไรไป เกือบอาทิตย์ชายท่านนี้ก้อยังไม่ได้ติดต่อดิฉันมา วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 ดิฉันทนไม่ไหวเพราะคนที่จะลำบากคือดิฉัน จึงขอเบอร์เค้ากะแม่เค้ามาโทรติดต่อเอง พอติดต่อได้เค้าได้ต่อว่าดิฉันว่า ถ้ามีมีเรื่องนี้ก้อไม่คิดจะโทรหาเค้าหรอ ดิฉันตอบว่าใช้ แต่ขอให้ทำการชำระเงินให้ก่อน เพื่อความสบายใจของดิฉัน
เค้าจ่ายแต่ช้าจนอิออนไม่ยอม ติดชื่อคงค้างชำระครั้งแรก และดิฉันก้อได้ติดต่อกะชายท่านนี้ถามสาระทุกข์ และเค้าบ่ายเบื่ยงในการตอบ ได้แต่ ด่า ว่า จนเสียงที่คุยโทรศัพท์ดังออกมา จนแม่ดิฉันได้ยิน มีแต่คำด่าทั้งนี้ โดยไม่นึกถึงความผิดตัวเอง ถามว่าทำไมเราไม่กลับมาคุยกันเหมือนเดิม เค้าบอกมันสายๆไปแล้วย้ำแต่คำนี้ตลอดเวลา ถามว่าคือไร ขอคำตอบหน่อย เค้าก้อไม่ตอบอะไรเลย บอกอย่ามายุ่งกะเค้า แล้วดิฉันจะรู้มั้ยว่าเรื่องไร ถามว่าเด็กผู้หญิงคนนั้นหรอ เค้าเงียบและบอกว่าไม่ใช่
ดิฉันได้วิงวอนขอให้เค้ามาหา เค้าก้อไม่มาเลย จนวันนึงขอเวลาเค้าได้ 1 ชั่วโมงครึ่ง ในวันที่ 3 มีนคม 2556 นัดกันที่สวนแห่งหนึ่ง ได้พูดคุยกะเค้าซึ่งเป็นวันที่เสียใจมาก ชายท่านนี้บอกว่า เค้ามีครอบครัวแล้ว เมียกำลังท้องอ่อนๆ ดิฉันงงมาก ว่าทำไม ห่างกันแค่ 4 เดือน เค้าปันใจไปหาหญิงใหม่ได้เร็วขนาดนี้ ทางครอบครัวและตัวดิฉันจึงไม่ยอม ตั้งสติที่จะเสียใจเสร็จก้อแจ้งความ ยักยอกทรัพย์ชายท่านนี้ เพราะว่าช่วงเวลาที่เค้ามีความสุขกะหญิงใหม่ดิฉันไม่เคยรู้เลยว่าเค้าปันใจหรือเลิกกะดิฉัน เค้าบอกว่า เค้าคิดจะเลิกกะดิฉันวันที่ 9 ตุลาคม 2555 หลังจากที่ส่งข้อความมาหา ดิฉันบอกชายท่านนี้ไปว่า แล้วคุณไม่ได้บอกเลยว่าจะเลิกกับดิฉัน เค้าบอกว่า ไม่รู้ก้ออย่างรุ้ เค้ารู้แล้วเป็นพอ งง มาก
ขอปรึกษาดังนี้ค่ะ
1. ดิฉันจะดำเนินคดีชายท่านนี้ได้อย่างไรบ้าง เกี่ยวกับรถ 2 คัน ชื่อดิฉันและ ดิฉันผ่อนเองทุกงวด เว้นเดือน กันยายน 2555 – มกราคม 2556 ชายท่านนี้ผ่อนเพราะได้เอาไปใช้
2. ทองคำ 10 บาท ที่เค้าเอาไปโดยไม่มีคำอธิบายว่าเอาไปทำไม และเอาไปให้แม่เค้า ได้สอบถามชายท่านนี้ว่าแม่รู้เรื่องมาตลอดมั้ย เค้าตอบว่าแม่รู้เรื่องหมดทุกอย่าง จะแจ้งควาแม่เค้าด้วยได้หรือไม่ค่ะ ว่าสมรู้ร่วมคิดยักยอกทรัพย์คนอื่น
3. ก่อนหน้านี้เค้าได้ขอยืมเงินดิฉันไป เพื่อปล่อยกู้ ตอนที่เค้าออกจากบ้านไปเค้าได้เอาหลักฐานกู้ยืมเงินและของจำนองไปหมดเลย อันนี้ดิฉันจะเรียกร้องคืนได้หรือไม่ค่ะ โดยมีหลักฐานสุดโน้ตเค้าคงเหลือไว้ที่บ้าน เป็นลายมือชายท่านนี้เอง

จ๊ะโอ๋

จ๊ะโอ๋

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

12 เม.ย 2556 23:42 #1


ตอบคำถามคุณจ๊ะโอ๋เรียงลำดับดังต่อไปนี้
        1. เกี่ยวกับรถ 2 คันนั้น ถือว่าคุณเป็นผู้เช่าซื้อและจะได้รับกรรมสิทธิ์ภายหน้าเมื่อผ่อนชำระเงินครบถ้วนแล้ว  แต่คุณก็มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์จากรถทั้งสองคัน และมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อหากมีกรณีต้องส่งคืน เช่น ไม่ชำระค่าเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญา ส่วนการที่คุณอนุญาตให้ฝ่ายชายเอารถยนต์กระบะ และมอเตอร์ไซด์ไปใช้ เพื่อจะได้ติดต่อกันได้สะดวกนั้น ถือเป็นการส่งมอบการครอบครองให้แก่ฝ่ายชายโดยลักษณะให้ยืมใช้คงรูป ไม่ใช่การสละสิทธิ์หรือเปลี่ยนสิทธิในการเป็นผู้เช่าซื้อแต่อย่างใด หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า ฝ่ายชายไม่ได้ใช้เอง แต่นำไปใช้แสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเอาไปขาย เป็นต้น ก็อาจมีความผิดฐานยักยอก ซึ่งคุณแม้จะยังไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ ก็ถือเป็นผู้เสียหายมีสิทธิที่จะดำเนินคดีได้ภายในกำหนดสามเดือนนับแต่รู้เรื่องกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด มิฉะนั้น คดีจะขาดอายุความ   
        คำตัวอย่างพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2551 ที่วินิจฉัยว่า แม้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์บรรทุกยังไม่ตกเป็นเป็นของ บ. ผู้เช่าซื้อ แต่ บ. ก็มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์บรรทุกที่เช่าซื้อนั้นและมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถยนต์บรรทุกที่เช่าซื้อในสภาพเรียบร้อยแก่ ว. ผู้ให้เช่าซื้อหากมีกรณีต้องคืน เมื่อจำเลยทั้งสองยักยอกชิ้นส่วนอุปกรณ์ของรถยนต์บรรทุกดังกล่าวไปจาก บ. บ. ย่อมได้รับความเสียหายจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองได้เช่นเดียวกับ ว. เจ้าของรถยนต์บรรทุก                                                
         แต่หากข้อเท็จจริงมีเพียงว่า คุณบอกเลิกการให้ยืมใช้ โดยให้ฝ่ายชายนำรถมาคืนแล้ว ไม่นำมาคืน และรถทั้งสองคันยังอยู่ในความครอบครองของฝ่ายชาย ไม่มีพฤติการณ์หรือเจตนาทุจริตเบียดบังเป็นของตนเองโดยการนำไปแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ก็อาจเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น  ไม่มีความผิดฐานยักยอก ซึ่งการจะเป็นความผิดฐานยักยอกหรือไม่จะต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป           
         ดูตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2554  อ. ผู้เสียหายตกลงให้จำเลยเอารถกระบะที่ อ. เช่าซื้อมาไปใช้ โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ หลังจากจำเลยชำระค่าเช่าซื้อในนามของผู้เสียหายเรื่อยมาจำนวนถึง 5 งวดติดต่อกัน ก็ค้างส่งค่างวดจึงได้มอบรถกระบะให้ ช. โดยจำเลยทำสัญญาซื้อขายรถกระบะกับ ช. ให้ ช.เป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลย ยังมิใช่การเอารถกระบะทรัพย์สินของผู้ให้เช่าซื้อไปขายแต่เป็นเพียงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ช. โดยให้ ช. เป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อต่อไป แม้การโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อจะมิได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซื้อก็มีผลในทางแพ่งเพียงว่า ผู้ให้เช่าซื้อยังคงมีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างจากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อเดิมได้ต่อไป รวมทั้งเรียกค่าเสียหายจากผู้เสียหายในการที่ผู้ให้เช่าซื้อไม่อาจติดตามยึดรถกระบะคืนจากจำเลยได้ จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานยักยอก
        2. ส่วนการที่ฝ่ายชายเอาทองคำ 10 บาทไปโดยที่คุณไม่ได้ยินยอม อาจมีความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ยักยอก เพราะแม้ฝ่ายชายจะมีส่วนในการซื้อด้วยก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ซื้อเองทั้งหมด การเอาทองคำไปทั้งหมดโดยพลการจึงเป็นการเอาทรัพย์สินของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย อันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งกฎหมายอาญา มาตรา 334 บัญญัติว่า “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท”                                 
        สำหรับแม่ของฝ่ายชายแม้จะรับรู้ก็ไม่อาจถือว่ามีส่วนร่วมกระทำความผิดด้วย เพราะไม่มีลักษณะการเป็นตัวการที่มีส่วนร่วมกระทำความผิด แต่หากมีพฤติการณ์อันเป็นการช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระ ทำความผิดถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ ฯลฯ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจรต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ ซึ่งเป็นความผิดฐานรับของโจรก็ได้ครับ
        3. สำหรับหลักฐานกู้ยืมเงินและสัญญาจำนอง ไม่ได้บอกว่าเป็นสัญญาระหว่างใครเป็นเจ้าหนี้ กับผู้ใดที่เป็นลูกหนี้ให้ชัดเจน  จึงไม่อาจสันนิษฐานข้อเท็จจริงและปรับเข้ากับข้อกฎหมายได้ แต่เรื่องการเอาเอกสารผู้อื่นไปนั้น กฎหมายอาญาได้มีบทบัญญัติไว้เช่นกัน ได้แก่ มาตรา 188 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือ ทำให้สูญหายหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งพินัยกรรมหรือเอกสารใดของผู้อื่น ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
 

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

จ๊ะโอ๋

จ๊ะโอ๋

ผู้เยี่ยมชม

17 เม.ย 2556 08:44 #2

ขอขอบพระคุณ คุณทนายภูวรินทร์ค่ะ ทางโอ๋ จะได้นำคำแนะนำนี้ไป ดำเนินการต่อ ซึ่งก้อต้องขึ้นอยู่กับสำนวนของตำรวจอีกค่ะ

จ๊ะโอ๋

จ๊ะโอ๋

ผู้เยี่ยมชม

นานา

นานา

ผู้เยี่ยมชม

16 ม.ค. 2558 21:08 #3

รบกวนถามหน่อยค่ะ ดิฉันเป็นเซล ได้ได้รู้ถึวการการะทำของผู้จัดการ มานานแล้วว่าเขาเอาเงินบริษัทหมุนแต่และการเขียนบิลทุกครั้งเขาบังคับให้เขียนเฉพาะบิลที่ส่งให้ลูกค้่าแต่บิลตัวจิง ไม่เขียน ไม่เลยไม่ตรงกัน ดิฉันเก็บเงินมาได้ส่งให้ผู้จัดการทุกครั้ง แต่พอทางออดิดมาเขาไม่ยอมรับว่าเงินที่ดิฉันรับมาได้ให้เขาแล้ว ดิฉันจะมีความผิดฐานใดบ้างค่ะ ติดคุกไหม

นานา

นานา

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

18 ม.ค. 2558 00:50 #4

ตอบคำถามคุณนานา
       เมื่อได้รู้ว่าผู้จัดการมีนิสัยหรือพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจมานานแล้ว การส่งมอบเงินของบริษัทให้แก่ผู้จัดการควรต้องทำเอกสารรับมอบเงินเก็บไว้เป็นหลักฐาน (เขาไม่ทำให้ก็ต้องเป็นฝ่ายจัดทำไปให้เซ็นพร้อมมอบเงิน เกี่ยวกับเงินๆทองๆต้องระวังและรอบคอบเสมอ ทำอะไรง่าย ๆ มักโดนเกือบทุกราย) หรือมีการโอนให้ทางบัญชีเพื่ออ้างอิงเป็นหลักฐาน ซึ่งหากทุกครั้งมีการส่งมอบเงินมีพยานเอกสารยืนยันการส่งมอบทุกครั้ง หากถูกกล่าวหาก็สามารถอ้างหลักฐานดังกล่าวยืนยันความบริสุทธิ์ตนเองได้ ไม่ต้องติดคุกหรือถูกดำเนินคดีแต่อย่างใด แต่หากไม่มีพยานเอกสารก็ต้องหาพยานบุคคลมายืนยันแทน หากไม่มีพยานบุคคลยืนยันอีก ก็คงต้องเสี่ยงดวงต่อสู้คดีไปตามขั้นตอนกฎหมาย ซึ่งคดีแบบนี้เป็นคดีอาญาข้อหายักยอก ส่วนจะติดคุกหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล 

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ก็ไม่รู้

ก็ไม่รู้

ผู้เยี่ยมชม

18 ม.ค. 2558 22:42 #5

เช่าบ้านเค้าอยู่ค่ะ ทีนี้ เราขึ้นป้ายบ้านให้เช่า(บ้านที่เราเช่าอยู่นั่นแหละ)แบบนี้เราจะโดนเจ้าของแจ้งความ ว่า ยักยอกทรัพย์ได้มั้ยค่ะ ในสัญญา ห้ามทำการให้เช่าต่อค่ะ แต่แค่ ยกเลิกสัญญาเช่าแค่นั้น แล้ว เราเอา เอาของที่ให้เช่าออกจากบ้าน จะโดนข้อหา ขโมยมั้ยอ่ะ ถ้าเราหามาคืนได้

ก็ไม่รู้

ก็ไม่รู้

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

5 ก.พ. 2558 22:47 #6

ตอบคำถามก็ไม่รู้
       สัญญาเช่านั้น หากมีข้อตกลงห้ามเช่าช่วง ผู้เช่าจะเอาไปให้ผู้เช่าช่วงไม่ได้ หากผิดสัญญาก็อาจถูกบอกเลิกสัญญาเช่าได้ แต่ไม่ใช่คดีอาญาเพราะเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง หากผู้เช่าไม่ยอมออกหลังจากบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้ให้เช่าจะต้องฟ้องศาลเพื่อขับไล่เท่านั้น แจ้งความดำเนินคดีอาญาไม่ได้ครับ ส่วนการเอาของที่ให้เช่าออกไปนั้นมีความผิดฐานลักทรัพย์ แม้จะเอาของมาคืนความผิดที่เกิดแล้วสำเร็จแล้วก็ไม่ระงับ เป็นเพียงเหตุบรรเทาโทษเท่านั้นครับ

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

นภาพร

นภาพร

ผู้เยี่ยมชม

12 มี.ค. 2559 17:10 #7

รบกวนขอสอบถามค่ะ
พอดีมีคนๆนึง มาจ้างให้หาลูกแชร์ มาลงแชร์กับคนๆนั้น แล้วอยู่ท้าวคนนี้ก็หายไปพร้อมกับเงินของลูกแชร์คนอื่นๆ คือเรามีหน้าที่ อัพวงลงในกลุ่มไลน์. แล้วลูกแชร์คนอื่นๆก็เข้ามาลงค่ะ เราตกลงค่าจ้างไว้กันที่ 300บาท แต่ถ้ามีคนเข้ามาลง ให้คนละ 20บาท อยากถามว่า ตอนนี้ลูกแชร์คนอื่นๆได้แจ้งความไว้แล้ว และได้แจ้งข่อหาเราว่าสมรู้ร่วมคิด แต่เราไม่รู้ว่าเป็นแบบนี้. หลักฐานการพูดคุยก้ไม่มี. เราต้องทำไงบ้างค่ะ มีสิทธ์หลุดคดีนี้ไหม

นภาพร

นภาพร

ผู้เยี่ยมชม

เครียดมาก

เครียดมาก

ผู้เยี่ยมชม

25 มี.ค. 2559 16:39 #8

ออกจากงานไป4ปีแล้วบริษัทเพิ่งแจ้งว่ามีของหายในช่วงที่รับผิดชอบอยู่บริษัทจะแจ้งความยักยอกทรัพย์ได้มั๊ย จะมีความผิดมั๊ย

เครียดมาก

เครียดมาก

ผู้เยี่ยมชม

yuwadee

yuwadee

ผู้เยี่ยมชม

26 พ.ค. 2559 10:27 #9

รบกวนสอบถามค่ะ
คือมีญาติของดิฉันเค้าโดนข้อหาสมรู้ร่วมคิดในคดียักยอกทรัพย์โดยเรื่องมีอยู่ว่าญาติของดิฉันรู้จักกับนางสาวก.ที่เป็นคนจำหน่ายกระเป๋าแบรนเนมของต่างประเทศแล้วสนิทสนมกันจนนางสาวก.ขอใช้บัญชีของญาติดิฉันเพื่อจะใช้โอนเงินที่สั่งสินค้าเพื่อให้เงินจำนวณนี้ผ่านไปยังบุคคลที่3 4 5ตามลำดับเพราะอ้างว่านางสาวก.ไม่มีบัญชีเงินฝากในไทยญาติดิฉันจึงยอมช่วยเหลือเพื่อแลกกับการที่ทางนางสาวก.ช่วยมูลนิธิสัตว์ที่ญาติดิฉันทำอยู่เนื่องจากญาติดิฉันเป็นคนต่างจังหวัดการศึกษาน้อยจึงไม่ได้เอะใจอะไร...จนมาวันนึงมีตำรวจมาที่บ้านบอกว่าญาติดิฉันโดนข้อหาสมรู้ร่วมคิดฉ้อโกงพ่วงกับนางสาวก.ที่โดนจับไปแล้วดิฉันจึงอยากทราบว่าในกรณีนี้ญาติดิฉันเป็นผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายและอยากทราบเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายถึงการต้องโทษว่ามีอะไรบ้างซึ่งตอนนี้ทางญาติดิฉันกำลังถูกข่มขู่และรุกรานจากบุคคลที่ไม่ทราบว่าเป็นใครด้วยค่ะ

yuwadee

yuwadee

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

26 ก.พ. 2560 22:23 #10

****เนื่องจากทนายภูวรินทร์ ติดภารกิจศาลค่อนข้างมากไม่ได้เข้ามาตอบคำถาม****
จึงทำให้มีคำถามตกค้างเป็นจำนวนมาก      
ดังนั้น หากมีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องการได้รับคำตอบแบบทันใด
​รบกวนโทรศัพท์มาปรึกษาพูดคุยข้อเท็จจริงกันจะสะดวกรวดเร็วมากกว่าครับ
หากโทรไม่ติด หรือไม่ได้รับ อาจเป็นเพราะติดคดีความในศาล ให้โทรมาใหม่อีกครั้ง
หรือพูดคุยกันในไลน์ก็ได้ครับจะสะดวกรวดเร็วกว่า
ผมยินดีให้คำปรึกษาครับ
ทนายภูวรินทร์ Tel. 081-925-0144 หรือ ID.LINE 0819250144

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้