ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

  ข้อตกลงยกทรัพย์สินให้บุตรในบันทึกการหย่าสำคัญแค่ไหนอย่างไร (3375 อ่าน)

18 ม.ค. 2556 15:19


สวัสดีครับ
                วันนี้มีผู้เดือดร้อนสอบถามปัญหากฎหมายว่า พ่อแม่จะทะเบียนหย่ากันแล้วตกลงหลังทะเบียนหย่าว่า พ่อกับแม่ยกบ้านและที่ดินให้ลูกคือตัวผู้ถามเอง แต่ไม่ได้ไปโอนกรรมสิทธิ์กันที่สำนักงานที่ดินเลย ต่อมาพ่อไปจดทะเบียนสมรสกับภรรยาใหม่ และพ่อเสียชีวิต ภรรยาใหม่ของพ่อต้องการทรัพย์สินดังกล่าวไม่แบ่งให้ผู้ถาม จึงอยากทราบว่า บ้านและที่ดินเป็นมรดกหรือไม่ และใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง
                ผมได้ให้คำแนะนำทางกฎหมายพร้อมบอกวิธีการที่จะได้กรรมสิทธิ์อย่างถูกต้องตามกฎหมายไปแล้ว ซึ่งสรุปคำตอบคือ กฎหมายบัญญัติว่าการให้อสังหาริมทรัพย์ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้น ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย อันนี้เป็นหลักกฎหมายของสัญญาให้ แต่ก็มีข้อยกเว้นว่า ถ้าเป็นการให้ทรัพย์สินที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างสามีภรรยาแก่บุคคลภายนอก ไม่ใช่เป็นสัญญาให้ จึงไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็มีผลสมบูรณ์ผูกพันกัน โดยมีตัวอย่างคดีที่ศาลฎีกาเคยตัดสินไว้ ได้แก่
                เลขที่ฎีกา38/2537  การยกให้โดยเสน่หาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่จะตกอยู่ในบังคับของมาตรา 525 แห่ง ป.พ.พ. ที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามนัยมาตรา 521 นั้น จะต้องมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรืออีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้รับ  แต่บันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์และจำเลย   โจทก์และจำเลยกลับยอมให้ที่ดินจำนวน  2  แปลงและบ้านอีก 1 หลังตกเป็นของบุตรผู้เยาว์ ทั้งสองหลังจากโจทก์และจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาตาม ป.พ.พ.  มาตรา  1532  และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามมาตรา 374 มิใช่สัญญาให้ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา  525 แม้ไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
 

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้