wiparat
คดียักยอกทรัพย์ รบกวนด่วนค่ะ (102206 อ่าน)
17 ก.พ. 2554 17:37
จำเลยในคดียักยอกทรัพย์(450000 บ.) ทำการประนีประนอมไว้กับศาล ว่าจะขอผ่อนจ่ายเดือนละ 3000 บ. ต่อมาจำเลยขาดส่งติดต่อกันหลายงวด ศาลจึงสั่งปรับนายประกัน 153000 บ.ในกรณีเช่นนี้จะทำอย่างไรดีคะ
1.ถ้าจำเลยไปมอบตัวศาลจะทำอย่างไรกับจำเลย เช่น ให้ผ่อนจ่ายต่อ รึว่า จับตัวจำเลยทันที
2.ถ้าจำเลยถูกอายัดตัวไว้จะสามารถประกันตัวได้อีกหรือไม่
3.นายประกันจะสามารถลดหย่อนค่าปรับได้หรือไม่
4.แนวทางของคดีนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป
รบกวนด้วยค่ะ เรื่องเกิดกับครอบครัวของตัวเอง
wiparat
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์
21 ก.พ. 2554 18:43 #1
ตามที่ได้ปรึกษาคดีเรื่องยักยอกทรัพย์มานั้น ผมขอตอบคำถามดังนี้ครับ คดียักยอกทรัพย์ เป็นคดีความผิดอันยอมความกันได้ มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี ฯ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพแล้ว คดีก็เป็นอันเสร็จสิ้นการพิจารณา ศาลสามารถตัดสินคดีได้เลยทันที แต่คดีนี้เนื่องจากมีการผ่อนชำระเงิน ศาลจึงจำหน่ายคดีไว้ชั่วคราวเพื่อรอฟังผลการชำระหนี้ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้โจทก์ก็จะยื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาต่อไป และส่งหมายนัดแจ้งให้จำเลยทราบวันเวลาฟังคำพิพากษา หากจำเลยไม่ไปศาลๆก็ออกหมายจับ และปรับนายประกัน
ดังนั้น หากจำเลยไปมอบตัวต่อศาล ขอแนะนำให้นายประกันเป็นผู้นำตัวจำเลยไปศาล และให้นายประกันยื่นคำร้องขอลดค่าปรับ โดยแถลงถึงสาเหตุที่ไม่ได้ไปศาลตามกำหนดนัด ซึ่งศาลอาจใช้ดุลพินิจลดค่าปรับลงได้ เมื่อจำเลยไปมอบตัวแล้ว ศาลจะมีคำสั่งให้ควบคุมตัวจำเลยไว้เพื่ออ่านคำพิพากษา ในระหว่างนั้นจำเลยมีสิทธิยื่นขอประกันตัวได้อีก ส่วนศาลจะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับหลักประกัน, ได้มีการผ่อนชำระหนี้ไปแล้วเพียงใด และดุจพินิจของศาล ซึ่งศาลอาจไม่อนุญาตก็ได้เพราะเคยมีพฤติการณ์ไม่มาศาลตามนัดแล้ว ดังนั้น คดีลักษณะนี้ก็ขึ้นอยู่กับโจทก์หรือผู้เสียหายว่าจะยินยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ต่อหรือไม่ ซึ่งไม่สามารถตอบแทนได้
ทนายภูวรินทร์
ผู้ดูแล
ภสุคะเน
10 มี.ค. 2555 17:00 #2
กรณีที่ออกจากงานมา1เดือนพบว่่านายจ้างแจ้งความกรณียักยอกทรัพย์ เพราะฉันต้องเซ็นรับเงินโดยตำแหน่งงานอยู่แล้ว ทั้งที่นายจ้่างโอนเงินเข้าบัญชีให้บ่อยครั้งเนื่องจากเสน่ห์หา และพอออกมาภรรยาโกรธเลยแจ้งความดิฉันตามเอกสารที่เซ็นรับเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ แบบนี้ทำไงดีคะ
ภสุคะเน
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์
13 มี.ค. 2555 22:35 #3
ตอบคุณภสุคะเน
เมื่อถูกร้องทุกข์ดำเนินคดี ก็ต้องต่อสู้คดีกันตามกระบวนการของกฎหมายครับ โดยเจ้าพนักงานตำรวจจะส่งหมายเรียกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหา หากไม่ไปอาจถูกขออนุมัติศาลออกหมายจับได้ ส่วนการให้ปากคำก็สามารถให้การสั้น ๆ ปฏิเสธข้อหาและขอให้การในชั้นศาลได้ ส่วนประเด็นข้อต่อสู้ต่าง ๆ นั้น ต้องปรึกษากับทนายความให้รัดกุมรอบคอบ และหาหลักฐานประกอบการต่อสู้คดีด้วย ทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสาร มิใช่มีแต่คำกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีหลักฐานสนับสนุน มิฉะนั้น ศาลอาจไม่รับฟังได้
ทนายภูวรินทร์
ผู้ดูแล
ษณธ
23 มี.ค. 2555 14:17 #4
รบกวนปรึกษาครับ พี่สาวซื้อรถให้ด้วยเงินสดเป็นชื่อผม ต่อมาทราบภายหลังว่าเงินที่พี่นำมาซื้อรถได้มาโดยการยักยอกเงินบริษัท
เจ้าของบริษัทเจ้าหนี้โทรมาแจ้งผม ผมจึงขอคืนรถให้เจ้าหนี้ โดยที่เจ้าหนี้จะไม่เอาความใดใดและตัดออกไปจากดคีไม่ต้องขึ้นศาลชี้แจง ไม่ส่งสำนวนฟ้องผมฐานรับของจากพี่ผู้ต้องหา
1.ผมคืนรถแก่เจ้าหนี้ ถือเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามขั้นตอน ใช่ หรือ ไม่ครับ
2.เจ้าหนี้รับปากและจะทำสัญญาขึ้นมาเป็นหลักฐานว่าเราได้แสดงเจตนาที่ดี คืนรถพี่ได้มาโดยไม่ชอบแก้เจ้าของเงินที่แท้จริง นี้คือขั้นตอนที่ ถูกต้องแล้ว ใช่ หรือไม่ครับ
3.รบกวนแนะนำและอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่ผมควรทราบและเข้าใจด้วยครับ
ขอบคุณมากๆครับ
ษณธ
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์
24 มี.ค. 2555 21:37 #5
ตอบคำถามลำดับที่ 4
คดียักยอกเป็นคดีความผิดอันยอมความกันได้ กล่าวคือ คู่กรณีสามารถตกลงเพื่อระงับคดีกันได้เสมอ เมื่อมีการคืนเงินหรือทรัพย์สิน หรือผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแล้ว ถือว่าเป็นการยอมความกันถูกต้องตามกฎหมาย และถือว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปเมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น จึงต้องทำเป็นหลักฐานและมีข้อความเกี่ยวกับการคืนทรัพย์สินและไม่ติดใจดำเนินคดีด้วย
ทนายภูวรินทร์
ผู้ดูแล
นายพรหมเพชร ดวงมะลา
19 พ.ย. 2555 14:34 #7
น้องสาวคนหนึ่ง ทำงานเป็นพนักงานบัญชีตั้งแต่ปี 50 จนถึงปี 55 โดยได้รับการไว้วางใจให้ดูแลเงินฝากออมทรัพย์ ของสหกรณ์ ต่อมาการทำการเมื่อถึงใกล้จะสินปี จำเป็นต้องปิดบัญชี เพื่อให้ผู้ตรวจบัญชี ตรวจสอบโดยน้องสาวคนนี้ ต้องนำงานที่ทำไปให้ จนท การเงิน และผู้จัดการสหกรณ์ ที่ทำงานด้วยกันลงนานตลอดก่อนที่จะส่งต่อไป จากนั้นพบว่าน้องสาวไม่สามารถปิดบัญชีได้ จึงมีการปรับยอดเงินฝากของสมาชิก ให้ตรงกันกับรายงานที่ส่ง โดยน้องได้นำเงินออกจากบัญชีเงินฝากของสมาชิกไปใช้ส่วนตัว อยู่หลายปี เป็นเงิน 2500000 บาท หลังจากนั้น น้องสาวก็สามารถสอบเข้ารับราชได้ จึงได้ลาออก มารับราชการ ต่อมา ทางสหกรณ์ จับได้ว่าน้องสาวกระทำการปรับแต่งบัญชี และยักยอกทรัพย์ อยู่ระหว่างการรวบรวมหลักฐานอยู่ แต่ไม่นานคงฟ้อง
1 อยากถามว่าน้องสาว และ เจ้าหน้าที่การเงิน ผู้จัดการสหกรณ์ มีความผิดหรือไม่
2 น้องสาวยักยอกทรัพย์จริง มีความผิดอย่างไร
3 น้องสาวจะได้ออกจากราชการหรือไม่ เพราะว่าน้องสาวทำความผิดก่อนเข้ารับราชการ
4 ตอนนี้ยังไม่มีการฟ้องร้อง อยุ่ระหว่างการรวบรวมหลักฐาน ควรทำอย่างไร
5 สามีน้องเขารับราชการ แต่ไม่ทราบการกระทำของน้องเขา มีความผิดด้วยหรือไม่
นายพรหมเพชร ดวงมะลา
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์
19 พ.ย. 2555 21:33 #8
ตอบคำถามคุณพรหมเพชร
หลักกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานยักยอก ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 บัญญัติว่า “ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
แต่หากผู้กระทำความผิดได้กระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เช่น ยักยอกเงินต่างจำนวนต่างวันเวลากัน คือเอาไปหลายครั้ง กฎหมายบัญญัติให้ศาลลงโทษผู้กระทำผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป และหากกรณีความผิดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป เช่น ร่วมกันวางแผนกระทำผิด มีการแบ่งหน้าที่กันทำ แบ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการกระทำความผิด ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นถือเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
ตามคำถามขอตอบเรียงลำดับดังนี้
1. การที่น้องผู้หญิงได้นำเงินออกจากบัญชีเงินฝากของสมาชิกไปใช้ส่วนตัว เป็นเงิน 2500000 บาท ถือเป็นการกระทำความผิดอาญาฐานยักยอกมีความผิดตามมาตรา 352 ส่วนผู้จัดการสหกรณ์หากมีพยานหลักฐานเชื่อมโยงว่ามีส่วนเกี่ยวข้องด้วยในลักษณะเป็นตัวการร่วม ก็ถือว่ามีความผิด และอาจถูกดำเนินคดีไปด้วย
2. หากโจทก์นำสืบแสดงให้ศาลเห็นว่าน้องผู้หญิงกระทำความผิดจริง ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำคุก ส่วนจะเป็นกี่ปีนั้น เป็นดุลพินิจของศาล ไม่อาจตอบได้ เพราะไม่ได้เป็นคนตัดสินคดีเอง และการเอาเงินไปเป็นจำนวนมาก ปกติศาลจะไม่รอการลงโทษ หรือรอลงอาญา
3.คุณสมบัติของข้าราชการจะต้องไม่เป็นผู้ต้องเคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ดังนั้น หากคดีถึงที่สุดและไม่มีการรอลงอาญา ย่อมต้องถูกจำคุกจริง ๆ และทำ ให้ขาดคุณสมบัติของข้าราชการได้ แต่หากศาลพิพากษารอลงอาญา คือไม่ได้รับโทษจำคุกจริง ๆ แม้ไม่ขาดคุณสมบัติดังกล่าว แต่ก็อาจเข้าข่ายต้องห้ามตามหลักจริยธรรม คือ ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี ซึ่งทำให้ขาดคุณสมบัติตามข้อนี้ได้อีกเช่นกัน
4. คดียักยอกเป็นความผิดอันยอมความกันได้ หากมีการถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมเป็นอันระงับตามกฎหมาย ไม่ถูกฟ้อง ไม่ถูกศาลตัดสิน และถูกลงโทษ ซึ่งการถอนคำร้องทุกข์ส่วนมากเกิดจากผู้กระทำผิดชำระเงินคืนแก่ผู้เสียหาย แต่คดีนี้ผู้เสียหายเป็นหน่วยงานสหกรณ์ ต้องขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจตัดสินใจว่าหากมีการชำระเงินคืนทั้งหมดจะยอมถอนคำร้องทุกข์หรือไม่ เพราะบางทีอาจต้องการดำเนินคดีถึงที่สุดเพื่อมิให้เกิดการกระทำความผิดลักษณะนี้อีกก็ได้
5.คดีอาญา บุคคลที่จะได้รับโทษตามกฎหมายคือผู้กระทำผิดเท่านั้น ไม่มีผลไปถึงบุคคลอื่น ใครทำผิด คนนั้นต้องรับโทษเองเป็นการเฉพาะตัว สามีไม่ได้ร่วมกระทำความผิด จึงไม่มีผลกระทบใด ๆ ให้ถูกลงโทษตามไปด้วย
ทนายภูวรินทร์
ผู้ดูแล
gnie
25 พ.ย. 2555 13:10 #9
โอนเงินให้เพือ่นซื้อรถมอไซด์ เขาใส่เป็นชื่อเขา ตอนนั้นเราไว้ใจเขาก็เลยไมารู้สึกอะไร แต่พอทะเลาะกันเราขอรถเราคืน เขาไม่ยอมให้ อ้างว่าเขาเป็นเจ้าของ จะเอาผิดกับเขาได้ไหม และเราจะได้รถคืนไหม
gnie
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์
3 ธ.ค. 2555 18:59 #10
ตอบคำถามคุณ gnie
ก่อนอื่นต้องขออภัยที่ตอบล่าช้าครับ ตามคำถามการโอนเงินให้เพื่อนเพื่อซื้อรถ เพื่อนคุณสามารถอ้างได้ว่ารถเป็นกรรมสิทธิ์ของเขาแต่เพียงผู้เดียวเพราะเป็นคนซื้อด้วยเงินของตนเอง และหากคุณปฏิเสธว่าเป็นคนโอนเงินให้ซื้อ เพื่อนก็สามารถโต้แย้งได้อีกเช่นกันว่าเงินดังกล่าวเป็นการกู้ยืมที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือไม่สามารถฟ้องร้องศาลได้ และไม่ได้เอามาซื้อรถ เป็นต้น ดังนั้น เรื่องนี้การจะเอาผิดจึงเป็นไปได้ยากมากเพราะมีข้อโต้แย้งหลายประการ
ทนายภูวรินทร์
ผู้ดูแล
คนมีปัญหา
10 ธ.ค. 2555 15:48 #11
1.เนื่องจากพี่สาวได้ขายคอมพิวเตอร์ต่อให้ และเราได้ผ่อนไปแล้ว แต่มีการโอนเงินไปแค่ ครั้งเดียวที่เหลือพี่สาวมาเก็บเองทุกเดือน แต่เกิดการทะเลาะกันพี่สาวจะไปแจ้งความว่าเรายักยอกทรัพย์ ทั้งๆที่คอมพิวเตอร์ก็ไม่ได้มีหลักฐานว่าเป็นชื่อใคร เอกสารการซื้อหรือใบเสร็จก็ไม่มีเพราะนานแล้วจึงทิ้งไป ดังนั้นจะสามารถแจ้งความว่าเรายักยอกทรัพย์ได้ไหมคะ และเราจะแจ้งกลับได้ไหมเพราะเราจ่ายเงินไปแล้วและของก็เป็นของเรา
2.พี่สาวให้ยืมเงินมาแต่จะเอาคืนโดยที่จะเอาทั้งก้อน ไม่ยอมให้ผ่อน แต่เราไม่มี พี่สาวจะแจ้งว่าเรายักยอกทรัพย์ได้หรือไม่คะ เนื่องจากไม่มีหลักฐานและไม่มีผู้เห็นเหตุการณ์ด้วยคะ
คนมีปัญหา
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์
14 ธ.ค. 2555 19:53 #12
ตอบคำถามคุณคนมีปัญหา
ข้อ 1. เมื่อพี่สาวขายคอมพิวเตอร์ให้แล้วคุณไม่ชำระค่าสินค้า หรือชำระไม่ครบ เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่มีความผิดอาญาใด ๆ ครับ หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่แจ้งมา พี่สาวไม่สามารถแจ้งความดำเนินคดีอาญาใด ๆ ได้ครับ
ข้อ 2. แจ้งความดำเนินคดีอาญาไม่ได้อีกเช่นกัน เป็นเรื่องผิดสัญญากู้ยืมเงินทางแพ่ง ไม่มีความผิดอาญาใด ๆ
ความจริงเป็นพี่น้องกันควรจะหันหน้าพูดคุยทำความเข้าใจกันดีกว่า ฝ่ายคุณเมื่อซื้อสินค้า หรือกู้ยืมเงินจากพี่สาวแล้ว ก็ควรจะชำระเงินให้ครบ จะได้ไม่มีปัญหาคาใจใด ๆ ต่อกัน รักกันไว้เถิดครับ เป็นพี่น้องสายเลือดเดียวกัน
ทนายภูวรินทร์
ผู้ดูแล
kuhang
15 ธ.ค. 2555 17:54 #13
ผมเคยเป็นหัวหน้าคลังสต้อคสินค้า และเมื่อเดือนปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เมื่อทำการนับสต้อคแล้วพบว่าสินค้าได้หายไปโดยไม่สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปได้ รวมมูลค่า 500,000บาท ทางเจ้านายจึงได้ให้ผมลงนามยอมรับการยักยอมทรัพย์สิน เมื่อผมเซ็นผมจึงขอลาออกจากงานทันที เพราะผมรับผิดชอบทั้งหมดไม่ไหว เจ้านายจึงไปแจ้งความและลงบันทึกแจ้งความไว้แล้วว่าผมได้ยักยอกทรัพย์บริษัท 500,000ไป และให้ทำการแบ่งจ่ายเงินก้อนแรกเข้าไปก่อนวันที่ 14 ธันวาคม 2555 และส่วนที่เหลือให้แบ่งจ่ายเป็นงวดๆ 10,000 บาท จนครบมูลค่า แต่เนื่องจากผมยังหางานใหม่ทำไม่ได้และไม่มีที่ไปหยิบยืมเงิน ด้วยมูลค่าที่มากมาย ผมกลัวจะโดนฟ้องและหางานทำไม่ได้ และได้ติดต่อเพื่อขอเจรจากับเจ้านายแต่เค้าไม่ตอบรับแล้ว ผมอยากทราบว่าการดำเนินการต่อไปจะถึงขึ้นไหนครับ กรณีถูกแจ้งความแล้ว ไกล่เกลี่ยแล้วในเรื่องคดียักยอกทรัพย์ของผมนี้ ผมควรจะทำอย่างไร รบกวนตอบหน่อยนะครับ ขอบพระคุณครับ
kuhang
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์
16 ธ.ค. 2555 11:05 #14
ตอบคุณkuhang
หากคุณไม่ได้กระทำความผิดไม่ว่ากรณีใด ๆ ไม่ว่าที่ไหน ก็ไม่ควรจะทำหนังสือยอมรับว่าเป็นผู้กระทำความผิดนั้น เพราะมันเป็นหลักฐานมัดตัวคุณในการดำเนินคดี
คดียักยอกทรัพย์นั้นกฎหมายระวางโทษจำคุกไว้ไม่เกินสามปี หากเอาไปหลายครั้งแล้วรวมกันเป็นเงินห้าแสนก็จะมีความผิดทุกครั้งที่เอาไป ครั้งละไม่เกินสามปีขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในคดีครับ
หากถูกดำเนินคดีไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนตำรวจหรือศาล ก็สามารถเจรจาตกลงยอมความกับผู้เสียหายได้ แต่ต้องเป็นเงื่อนไขที่ผู้เสียหายยอมรับด้วย ตำรวจและศาลไม่สามารถบังคับให้ผู้เสียหายยอมรับเงื่อนไขที่เขาไม่ยินยอมไม่ได้ครับ ดังนั้น คุณต้องเสนอเงื่อนไขที่ผู้เสียหายยอมรับได้ หรือมิฉะนั้นก็วัดดวงไปต่อสู้คดีกันในชั้นศาลว่าไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด หากสู้ไม่ได้ก็ต้องยอมรับผลคำตัดสินของศาล ขอให้โชคดีครับ
ทนายภูวรินทร์
ผู้ดูแล
Pp
22 ธ.ค. 2555 05:19 #15
สามีเป็นผจก.บริษัทประกัน เก็บเงินลูกค้าแล้วไม่ส่งบริษัท 2ล้านกว่า ได้ยอมรับกับหัวหน้างาน
บอกหัวหน้าว่า สิ้นเดือนก.พ. จะจ่ายได้ประทาณ 1ล้าน หัวหน้าบอกจะไปแจ้งซีอีโอเพื่อหาข้อตัดสิ้น ถามว่า 1.บริษัทจะฟ้องไหมคะ 2. เซ็นรับสภาพหนี้ดีไหม. 3.เค้าจะให้ประนีประนอมไหม
หัวหน้าบอกว่าจะเจรจา สองกรณีกับซีอีโอ คือ ถ้าแก้ปัญหาได้ จะให้ออกหรือให้ทำงานต่อ น่าจะเชื่อได้ไหม ขอบคุณ มากๆ
Pp
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์
22 ธ.ค. 2555 23:23 #16
ตอบคุณ PP
การกระทำของสามีถือเป็นความผิดกฎหมายอาญาข้อหายักยอก มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่หากการยักยอกเอาเงินไปจำนวน 2 ล้านบาทดังกล่าว เป็นการกระทำหลายครั้ง หรือต่างกรรมต่างวาระกัน กฎหมายกำหนดให้ศาลลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดสิบปี
1. บริษัทย่อมมีสิทธิแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญาดังกล่าวต่อเจ้าหนักงานตำรวจได้ หรือให้ทนายความยื่นฟ้องศาลได้ทันที
2. การเซ็นรับสภาพหนี้ หมายถึง การทำหนังสือยืนยันหรือรับรองว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้จริง และจะชดใช้ให้เจ้าหนี้ ซึ่งมีประโยชน์สำหรับเจ้าหนี้ในคดีทางแพ่ง แต่กรณีสามีคุณเป็นคดีอาญา หนังสือรับสภาพหนี้จึงเป็นหลักฐานว่า ผู้กระทำผิดรับสารภาพว่าได้กระทำผิดกฎหมายจริง
3. บริษัทจะให้ประนอมหรือไม่ จะฟ้องหรือไม่ ผมไม่สามารถตอบแทนได้ แต่ยอดเงินกว่าสองล้านบาท ผู้เสียหายย่อมต้องดำเนินคดีจนถึงที่สุดอยู่แล้ว หากบริษัทมีหลักฐานยืนยันว่าสามีเป็นผู้กระทำผิด ย่อมไล่ออกจากงานได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และการดำเนินคดีอาญา ศาลย่อมตัดสินลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษเพราะยอดเงินที่ยักยอกมีจำนวนสูง
สำหรับกรณีที่สามีคืนเงินให้แก่บริษัททั้งหมด ไม่ใช่เป็นการลบล้างหรือยกเลิกความผิดที่ได้กระทำไป การคืนเงินเป็นเพียงการบรรเทาผลร้ายที่เกิดจากการกระทำความผิดเท่านั้น เพราะความผิดสำเร็จแล้ว และการที่หัวหน้าบอกว่าจะเจรจาก็เพียงเพื่อให้ได้เงินคืนทั้งหมดเท่านั้น
กรณีนี้ถือเป็นความผิดร้ายแรง ไม่ว่าบริษัทไหน ๆ หรือบุคคลใด ย่อมไม่ให้ทำงานต่อเพราะมีความเสี่ยงสูงที่จะต้องเสียหายหากให้ทำงานอยู่อีก และคดีนี้หากผู้บริหารบริษัททราบย่อมไล่ออกและดำเนินคดีอาญาอย่างแน่นอน และเมื่อดำเนินคดีจนศาลมีคำพิพากษา บริษัทย่อมดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลอดเอาเงินมาชดใช้ตามจำนวนที่เอาไปได้อยู่แล้ว
ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดคือต้องรีบนำเงินมาคืนให้เร็วที่สุด และหากเป็นไปได้ก็ต้องให้บริษัททำหนังสือยืนยันว่าจะไม่ติดใจดำเนินคดีอาญา หรือไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งอื่นใดจากสามีคุณอีก ซึ่งคดียักยอกเป็นคดีที่ยอมความกันได้ และตามกฎหมายการยอมความกันเป็นเหตุให้คดีอาญาระงับไปด้วย คือผู้เสียหายจะนำคดีมาฟ้องศาลไม่ได้ แต่การยอมความดังกล่าวจะต้องกระทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทเท่านั้น
ทนายภูวรินทร์
ผู้ดูแล
โสภณ
24 ธ.ค. 2555 00:41 #17
รบกวนหน่อยนะครับคือว่าน้องสาวถูกทางบริษัทกล่าวหาว่ายักยอกทรัพย์เป็นจำนวน 9 ล้านบาทและได้พาตัวไปโรงพักพอไปถึงโรงพักก็ให้เข้ากับตำรวจแล้วบอกว่าคนนี้แหละที่ยักยอกเงินของบริษัทไปตอนที่พาตัวไปโรงพักนั้นก็มี เจ้าของบริษัท หุ้นส่วน และน้องชายของเจ้าของ ทั้งหมด 3 คนที่พาไปโดยไม่ให้ใช้โทรศัพย์และติดต่อใครเลย และยังให้บังคับให้สารภาพโดยให้เขียนเป็นลายลักอักษรว่าได้ทำการยักยอกทรัพย์เงินไป 9 ล้านบาทโดยที่เขียนไปนั้นเพราะเกิดความกลัวว่าถ้าไม่เขียนจะโดยจับเข้าคุกทันที ไม่รุ้จะทำยังไงในสถานะการณ์แบบนั้นพอเขียนเสร็จยังให้พาไปที่บ้านไปนำสมุดบัญชีไปถอนเงินที่ธนาคารโดยกดเงินใน เอทีเอ็ม 10000 บาท และ ถอนเงินในบัญชีอีก 80000 บาท เป็นจำนวน 90000 บาทพอถอนเสร็จก็ให้เขียนนำฝากเข้าบัญชีของบริษัท เลยทันที โดยระหว่างที่ไปนั้นเดินประกบติดตลอดเวลา เหมือนเราเป็นผู้ต้องหาแบบนั้นเลย ในการที่เราโดนประกบนั้น ต้ังแต่ 8 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็นจึงจะได้เป็นอิสรภาพ ก็เลยโทรปรึกษาญาติและรู้รู้จักเขาบอกว่าให้ไปแจ้งความกลับว่าโดนกักขังหน่วงเหนียวและบังคับให้เขียนยอมรับว่าทำความผิดยักยอกเงิน ต่อไปนี้จำทำยังไงดีครับ คิดอะไรไม่ออกเลย รบกวนหน่อยครับ....
โสภณ
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์
24 ธ.ค. 2555 21:38 #19
ตอบคำถามคุณโสภณ
ตามกฎหมายแม้บุคคลใดจะได้กระทำความผิดจริง ผู้เสียหายหรือบุคคลอื่นใดก็ไม่มีอำนาจที่จะกระทำการดังกล่าวได้ หรือแม้แต่เจ้าพนักงานตำรวจก็ไม่มีอำนาจกระทำได้เช่นกัน ดังนั้น การแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีกับบุคคลที่กระทำการดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็เป็นเรื่องของเจ้าพนักงานตำรวจที่จะดำเนินการขั้นตอนของกฎหมายต่อไป หรือหากเจ้าพนักงานตำรวจทำงานล่าช้าหรือมีพฤติการณ์เข้าข้างคู่กรณีก็สามารถจ้างทนายความให้ฟ้องศาลโดยตรงได้เช่นกัน หรือจะร้องขอความเป็นธรรมกับสื่อมวลชนก็ทำได้ สิ่งที่จะแนะนำก็คงมีเพียงเท่านี้ครับ
ทนายภูวรินทร์
ผู้ดูแล
คนขี้กลัว
31 ธ.ค. 2555 23:15 #20
เป็นแคชเชียร์มีหน้าที่เก็บเงินแล้วสรุปรายได้ส่งฝ่ายการเงินครับ ต่อมาหัวหน้าโดยตรงของผมซึ่งทำหน้าที่เป็นฝ่ายตรวจสอบรายได้ของบริษัทได้ให้ผมทำการแ้ก้บิลรายรับและยอดเงินแล้วยักยอกเงินไป พอถูกจับได้ก็แจ้งว่าผมเป็นผู้ร่วมยักยอกเงินด้วย ผมควรทำอย่างไร ผมไม่้ได้ไปทำงานประมาณ 1 เดือนแล้ว ทางหัวหน้าก็โทรมา บอกให้ผมเข้าไปยอมรับผิดแล้วเค้าจะเป็นคนชดใช้ค่าเสียหายเอง ส่วนผมแค่เข้าไปยอมรับผิดร่วมกับเขาเท่านั้น ถ้าไม่เข้าไปทางบริษัทจะแจ้งความดำเนินคดี ตำรวจจะออกเป็นหมายจับหรือหมายเรียกครับ
คนขี้กลัว
ผู้เยี่ยมชม
กิตติศักดิ์
2 ม.ค. 2556 10:20 #21
ขอบคุณทนายภูวรินทร์มากครับ
ที่สละเวลาเขามาตอบคำถามให้แก่ผู้เดือดร้อน ข้องใจ ต่างๆ
ผมสังเกตุเวลาในการตอบกระทู้ของท่านเป็นช่วงดึกๆ ค่ำๆ หลังเลิกงาน นับถือมากครับ
พี่สาวผมเองก็กำลังถูกดำเนินคดีข้อหานี้อยู่
กระทู้นี้ช่วยผมได้เยอะเลยครับ
ขอส่งให้ผลบุญที่ท่านได้กระทำการเพื่อช่วยผู้เดือดร้อน
ค้ำหนุนจูนเจือให้ท่าเจริญในหน้าที่การงานต่อไปครับ
กิตติศักดิ์
กิตติศักดิ์
ผู้เยี่ยมชม
ร้อนใจครับ
8 ม.ค. 2556 17:01 #22
รบกวนครับ ผมโดนคดีข้อหายักยอกทรัพย์จำนวนเงิน 10000
ผมไปรับฟังข้อกล่าวหาตามหมายเรียก ที่สน.เรียบร้อยแล้วครับ
พยายามจะไกล่เกลี่ยครับ แต่ทางบริษัทไม่มีคำตอบกลับมา
จนเจ้าหน้าที่กำลังจะส่งเรื่อง ฟ้องศาล บอกให้รับสารภาพ
1.ทางเจ้าหน้าที่แจ้งว่า ให้ไปชำระหน้าศาลได้ จิงหรือไม่ครับ
2.ถ้าทางผู้ร้องทุกข์ไม่มาด้วย และไม่ยอมความผมจะ ติดคุกไหมครับ
ร้อนใจครับ
ผู้เยี่ยมชม