utah

utah

ผู้เยี่ยมชม

  พินัยกรรมด้วยวาจาทำได้ไหมครับ (994 อ่าน)

28 พ.ย. 2553 21:08

การทำพินัยกรรมสามารถทำด้วยวาจาได้ไหมครับ แล้วมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้างครับ ถ้าเป็นการพูดจากันระหว่างผู้ทำพินัยกรรมแจ้งเจตนาว่าจะยกสินทรัพย์ (ที่ดิน บ้านและรถยนต์) ให้ใคร แต่ขณะนั้นผมอยู่กับญาติห่างๆของผู้ทำพินัยกรรมอีกสองคนหนึ่งก่อนเค้าเสียชีวิตสองวันไม่ทราบว่าสามารถใช้เป็นพินัยกรรมด้วยวาจาได้ไหมครับ ถ้าได้ต้องทำอย่างไรบ้างครับ

utah

utah

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

30 พ.ย. 2553 14:04 #1

ก่อนอื่นผมขอเผยแพร่ความกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับพินัยกรรมซึ่งตามกฎหมายมี 5 แบบ ดังนี้ครับ
             1. พินัยกรรมแบบธรรมดา
พินัยกรรมแบบธรรมดา ต้องทำเป็นหนังสือ โดยจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้  ต้องลงวันเดือน ปีในขณะที่ทำพินัยกรรม และผู้ทำนินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อย2คนพร้อมกัน และพยานต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือผู้ทำพินัยกรรมในขณะนั้น จะลงลายมือชื่อก่อนหรือทีหลังไม่ได้
             2. พินัยกรรมแบบเขียนขึ้นเองทั้งฉบับ
ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องเขียนขึ้นด้วยลายมือตนเองเท่านั้น จะให้ผู้อื่นเขียนแทนไม่ได้ และต้องระบุวัน เดือน ปี ที่ทำการเขียน และลงลายมือชื่อตนเอง
             3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งความประสงค์ที่จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนต่อนายอำเภอ ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน นายอำเภอจะจดข้อความพินัยกรรมลงไว้ แล้วอ่านให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟังเมื่อข้อความถูกต้องเรียบร้อย ผู้ทำพินัยกรรมและพยานก็ลงชื่อไว้ จากนั้นนายอำเภอจะลงวันที่ เดือน ปี และลงลายมือชื่อไว้ แล้วเขียนบอกว่าพินัยกรรมที่ทำขึ้นนั้นถูกต้องทั้งหมด แล้วประทับตราตำแหน่งนายอำเภอเป็นอันเรียบร้อย
             4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนพินัยกรรมด้วยตนเอง หรือให้ผู้อื่นเขียนหรือพิมพ์แทนก็ได้ และต้องลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ทำการปิดผนึกพินัยกรรมไปแสดงต่อนายอำเภอและพยานอย่างน้อย 2 คน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดเหล่านั้น ว่าเป็นพินัยกรรมตน ถ้าพินัยกรรมนั้นมิได้เป็นผู้เขียนเอง ให้แจ้งนามและภูมิลำเนาของผู้เขียนให้ทราบด้วยเมื่อนายอำเภอจดถ้อยคำและวัน เดือน ปี ที่ได้ทำพินัยกรรมไว้บนซอง แล้วก็ประทับตราตำแหน่งและลายมือชื่อบนซอง พร้อมกับผู้ทำพินัยกรรมและพยานด้วย
             5. พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา
กรณีที่ไม่สามารถทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดได้ เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตายหรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม  ผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายดังกล่าวสามารถทำพินัยกรรมด้วยวาจาได้ โดยแสดงเจตนาทำพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน แล้วพยานทั้งสองนั้นจะต้องไปแสดงตนต่อนายอำเภอโดยไม่ชักช้า และแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจานั้น และต้องแจ้งวันเดือนปี สถานที่ทำพินัยกรรม และพฤติการณ์พิเศษด้วย นายอำเภอจะจดข้อความนั้นไว้ แล้วพยานทั้ง 2 คนลงลายมือชื่อหรือถ้าลงลายนิ้วมือต้องมีพยานเพิ่มขึ้นอีก 2 คน เพื่อรับรองลายนิ้วมือด้วย
             การทำพินัยกรรมนั้นไม่ใช่เรื่องที่สามารถทำได้ง่าย ๆ นะครับ บุคคลที่ทำต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายพอสมควร และต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าวแล้วเท่านั้น มิฉะนั้นเป็นโมฆะคือไม่มีผลบังคับได้เลย เช่นกรณีที่ถามมานั้น ไม่ได้ให้ข้อมูลว่าตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตายแต่อย่างใด จึงไม่สามารถให้คำตอบได้อย่างชัดเจน แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลว่า พูดยกทรัพย์สินให้ก่อนเสียชีวิตสองวัน ก็แสดงว่าไม่เข้าเงื่อนไขที่จะทำพินัยกรรมด้วยวาจาได้ เพราะไม่ได้ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้