คุณชาย

คุณชาย

ผู้เยี่ยมชม

  มาทำงานสาย>บังคับให้ออกแล้วไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือ (9200 อ่าน)

28 พ.ย. 2553 16:37

เพื่อนที่ทำงานของผมมาทำงานสายบ่อย (บริษัทเจ้าของเป็นฝรั่ง) แล้วทางบุคคลก็ได้ส่งใบใบเตือนจากบริษัทว่าคุณมาทำงานสาย กรณีที่ทำงานสายเกิน 5 ครั้ง ภายใน 1 เดือน ทางบริษัทจะปลดออกจากการเป็นพนักงานของบริษัทฯ โดยไม่ได้รับค่าชดเชยใดๆทั้งสิ้น โดยให้พนง.คนนั้นเขียนใบลาออกว่าเพราะไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีพอ.. แบบนี้มีระบุไว้ในกฎหมายแรงงานด้วยหรือครับ ผมอยากทราบว่า หากไม่มีระบุไว้ในกฎหมายแล้วทางบริษัทอ้างว่าเป็นกฎระเบียบการทำงานบริษัท เพื่อนผมจะสามารถร้องเรียนหรือฟ้องเรียกค่าชดเชยในการทำงานได้หรือไม่ และจะไปฟ้องร้องกับใครได้ครับ เจ้าของบริษัท หรือฟ้องตัวบริษัทครับ.. เพราะผมเองก็มาสายเหมือนกัน อยากรู้เหมือนกันครับ

คุณชาย

คุณชาย

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

30 พ.ย. 2553 14:08 #1

          การเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยนั้น พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ตามมาตรา 119 ได้กำหนดให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้                 
          (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง       
          (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย                                              
          (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง    
          (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
          (5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
          (6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
          สำหรับในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
          การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้าง นายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้
 
          บริษัทนายจ้างที่เจ้าของเป็นชาวต่างชาติมักจะเคร่งครัดในเรื่องเวลาการทำงาน การมาทำงานช้า หรือมาสาย โดยจะต้องพิจารณาจากกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานที่กำหนดโทษของการมาทำงานสาย ซึ่งการลงโทษก็ต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ด้วยจะปฏิบัติข้ามขั้นตอนไม่ได้ เช่น ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน งดโบนัส จนถึงไล่ออก เป็นต้น หากการลงโทษไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ ลูกจ้างก็มีสิทธิที่จะร้องเรียนต่อสำนักงานคุ้มครองแรงงานที่สถานที่ทำงานตั้งอยู่ได้
          กรณีของเพื่อนคุณที่มาทำงานสายเป็นประจำ จนกระทั่งบริษัทได้มีหนังสือแจ้งเตือนแล้ว ก็ยังไม่ปรับปรุงตัวเองก็อาจจะถูกเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยได้ ตามมาตรา 119 (4) แต่บริษัทให้เพื่อนคุณทำหนังสือลาออกเองก็เพราะตัดปัญหาเรื่องการโต้แย้งเกี่ยวกับการลงโทษไม่เป็นไปตามลำดับขั้นหรือเกรงจะมีปัญหาโต้แย้งในชั้นศาลได้ เพราะเรื่องเหล่านี้ศาลฎีกาเคยตัดสินเป็นบรรทัดฐานไว้แล้วว่า การที่ลูกจ้างถูกนายจ้างบีบบังคับให้ทำหนังสือลาออกเองเพื่อไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยนั้น ถือเป็นการกระทำที่ไม่สมัครใจและนายจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าชดเชย หาอ่านความรู้ได้ที่กระทู้การยื่นใบลาออกกับถูกไล่ออก?
          ดังนั้น เรื่องนี้หากเพื่อนคุณที่มาทำงานสายเป็นประจำ คิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถร้องเรียนไปที่สำนักงานคุ้มครองแรงงาน หรือนำเรื่องไปฟ้องศาลแรงงานได้ โดยศาลจะมีนิติกรให้คำปรึกษาและจัดทำคำฟ้องให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

คุณชาย

คุณชาย

ผู้เยี่ยมชม

30 พ.ย. 2553 14:36 #2

ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ

คุณชาย

คุณชาย

ผู้เยี่ยมชม

worker

worker

ผู้เยี่ยมชม

10 ธ.ค. 2553 10:06 #3

siemens เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ทำไมบริษัทต่างชาติ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมานแรงงานครับ

worker

worker

ผู้เยี่ยมชม

พนักงานตาดำๆ

พนักงานตาดำๆ

ผู้เยี่ยมชม

11 ธ.ค. 2553 23:36 #4

อยู่บริษัทก่อสร้าง (บริษัทใหญ่มาก)ที่นึง ก็เลี่ยงจ่ายค่าชดเชยแบบบีบบังคับให้พนง.ลาออกด้วยการทำเรื่องทุเรศต่างๆนาๆ พูดจาดูถูกพนง. (ประมาณฉันใช้เธอเป็นลูกจ้าง ..แต่ใช้น้ำเสียงเหมือนเป็นทาส) ทั้งที่ทำงานเป็นพนง.บริษัท อย่างนี้จะเรียกร้องอะไรได้ไหมคะ ถ้าใช้มือถืออัดเสียง ฟ้องร้องอะไรกับกรมแรงงานได้หรือเปล่าคะ อยากรู้ว่า เป็นพนง.ตาดำๆ ไม่รู้กฎหมายอะไร แต่ถูกเอาเปรียบต่างๆนาๆ ใช้งานล่วงเวลาก็ไม่จ่ายเงินค่าโอที(พูดว่า เป็นความรับผิดชอบในหน้าที่การงานของคุณ ๆต้องทำให้เสร็จ ...อย่างนี้นายจ้างผิดกฎหมายไหมคะ
เริ่มงานปกติ 8.00 ถึง ห้าโมงเย็น แต่บางทีก็ถึงเที่ยงคืน ตีหนึ่ง เพราะต้องไปทำที่ไซท์งานด้วย
ขอบคุณค่ะ

พนักงานตาดำๆ

พนักงานตาดำๆ

ผู้เยี่ยมชม

ยิปซี

ยิปซี

ผู้เยี่ยมชม

3 ก.พ. 2554 09:41 #5

ขอบคุณมากค่ะ

ยิปซี

ยิปซี

ผู้เยี่ยมชม

Icebaza

Icebaza

ผู้เยี่ยมชม

23 ก.พ. 2560 10:27 #6

ขอความรู้ค่า..ทำงานยุบริษัทมา2ปี.มาสายเดือนละ3-4ครั้ง ครั้งละไม่เกิน5นาทีแต่บางครั้งมาสายเกินครึ่งชัวโมงแต่โทรมาบอกบริษัทเนื่องจากมีธุระเข้าจะเข้าสาย ทางบริษัทมีกฏว่ามาสายเกิน3ครั้งจะให้ครึ่งวันแล้วมีใบแจ้งให้เราเซ็น.ในใบนั้นจะแสดงเวลาที่เรามาสายยุ3ครั้ง1ใบให้เราเซ็นรับทราบและอีกใบเป็นเหมือนใบว่าเรายืนยอมว่าเราให้หักครึ่งวัน(ไม่แน่ใจ)แต่2ใบนี้พนักงานที่บริษัทได้กันแทบทุกคนบางคนเกิน3ใบ ตอนนี้บริษัทไม่มีงานให้พนักงานทำเลย..ทางพนักงานเลยกลัวว่าจะถูกเลิกจ่างแบบไม่จ่ายค่าชดเชย.เพราะจากการมาสาย..แต่ไม่แน่ใจว่า2ใบนั้นคือใบเตือนหรือเปล่า.ถ้าใช้ทางบริษัททำได้มั้ยเพราะบางคนได้ถึง5-6ใบแต่ก็ยังทำงานยุ
ป.ล.มาสาย1นาที3ครั้งก็หักครึ่งวัน

Icebaza

Icebaza

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

25 ก.พ. 2560 20:14 #7

ตอบคำถามคุณ Icebaza
      การมาทำงานสายเป็นประจำ  ถือว่ากระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต  นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าได้ (คำพิพากษาฎีกาที่  2471/2556)
        ส่วนใบเตือนที่จะนำมาอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างได้ตามกฎหมายนั้น หนังสือเตือนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) วรรคหนึ่ง จะต้องมีข้อความที่ระบุถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดของลูกจ้างพร้อมทั้งห้ามไม่ให้ลูกจ้างกระทำผิดซ้ำอีก เมื่อหนังสือเตือนมีลักษณะดังกล่าว หากลูกจ้างกระทำผิดซ้ำอีก นายจ้างก็เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามกฎหมาย แต่หากเอกสารของนายจ้าง มิได้มีข้อความดังกล่าวให้ชัดเจน เพียงระบุว่าลูกจ้างกระทำผิดอย่างไรเท่านั้น จึงมิใช่หนังสือเตือนตามกฎหมาย  เมื่อเลิกจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชย

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้