นักศึกษา

นักศึกษา

ผู้เยี่ยมชม

  รับผิดไม่เกินทรัพย์สินมรดกที่ได้มา(โต้วาทีกฎหมาย) (4052 อ่าน)

21 พ.ย. 2553 00:24

เนื่องจากผม ได้แข่งขันโต้วาทีกฎหมาย และหัวข้อในเรื่องนี้คือ ถ้าทรัพย์สินของผู้ตายสามารถตกทอดเป็นมรดกได้แล้ว หนี้ก็ควรจะตกทอดไปเป็นจำนวนเต็มด้วย ซึ่งทีมผมได้เป็นฝ่ายเสนอ หมายความว่า ต้องไปโต้แย้งว่า ให้หนี้ที่ตกทอดไปเป็นมรดกนั้น ผู้รับมรดกต้องรับไปเต็มจำนวน ซึ่งขัดต่อ ปพพ.ม 1601 ที่ให้ผู้รับมรดกรับผิดไม่เกินทรัพย์สินที่ได้มา ผมเองไม่ทราบว่า ผู้รู้ท่านใดพอจะมีข้อเสนอแนะ ความเห็น หรือแหล่งข้อมูลใดๆ หรือไม่ ผมได้พยายามหาในห้องสมุดแล้ว หาในเว็บไซต์ แต่แทบจะไม่ค่อยมีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเลย แถมยังขัดต่อกฎหมายที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ประเด็นที่ผมนึกออกมีอย่างเดียวคือ เจ้าหนี้ที่จะมาบังคับหนี้กับทายาทจะได้ไม่เสียเปรียบ
(แต่รู้สึกว่า ตัวเองที่จะต้องโต้เสียเปรียบในเรื่องญัตติเล็กน้อย) หากท่านจะกรุณาชี้แนะ ประเด็นใดก็จะขอบพระคุณมากครับ
หมายเหตุ ผมแข่งวันเสาร์ที่ 27 พย นี้คับ
ขอบคุณคับ

นักศึกษา

นักศึกษา

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

21 พ.ย. 2553 20:36 #1

ขอแสดงความคิดเห็นดังนี้ครับ        
          เมื่อคุณอ่านตัวบทกฎหมายให้คิดเสมอว่า กฎหมายมาตรานี้มีเจตนารมณ์เป็นอย่างไร บัญญัติไว้เพื่ออะไร เช่นกฎหมายเรื่องมรดก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1600 ได้วางหลักกฎหมายเกี่ยวกับมรดกว่า “กองมรดกของผู้ตาย ได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิและความรับผิดต่าง ๆ ฯลฯ”
          เจตนารมณ์ของมาตรานี้ก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ ดังนั้น ทายาทก็ต้องรับความรับผิดหรือหนี้ไปด้วย แต่จะรับไปทั้งหมดหรือบางส่วนก็ต้องไปดูว่าสิทธิที่จะได้รับทรัพย์มรดก และหนี้มีจำนวนเท่าใด มีจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่ากัน กล่าวคือ หากหนี้มีจำนวนน้อยกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตกทอดมา เช่น หนี้มีเพียง 1 ล้าน แต่ทรัพย์มรดกมี 5 ล้าน ทายาทก็ต้องรับหนี้ไปเต็มจำนวนด้วย เมื่อหักชำระหนี้แล้ว ก็ยังเหลืออีก 4 ล้าน ซึ่งไม่ได้ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 1601 แต่ประการใด 
          แต่หากหนี้มีจำนวนมากกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอด ป.พ.พ.มาตรา 1601 ก็บัญญัติไว้เป็นข้อยกเว้นว่า “ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน” ซึ่งหมายความว่า หากหนี้มีจำนวนมากกว่าทรัพย์มรดก ทายาทก็ไม่ต้องไปรับผิดชดใช้ในส่วนที่เกินเลย เพราะมาตรานี้ ได้บัญญัติไว้เพราะมีเจตนารมณ์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทายาทนั่นเอง (ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ศึกษากฎหมายมักจะถามด้วยความสงสัยประจำว่า จะต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่เจ้ามรดกหรือไม่) หากไม่มีมาตรานี้ ทายาทต้องรับผิดชำระหนี้ทั้งหมด เจ้าหนี้ก็จะใช้สิทธิติดตามยึดทรัพย์สินส่วนตัวของทายาทมาชำระหนี้ ซึ่งจะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม ความวุ่นวาย และความไม่สงบสุขในบ้านเมืองได้

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

นักเรียน

นักเรียน

ผู้เยี่ยมชม

28 พ.ย. 2554 18:00 #2

:):)

นักเรียน

นักเรียน

ผู้เยี่ยมชม

นักเรียน

นักเรียน

ผู้เยี่ยมชม

28 พ.ย. 2554 18:07 #3

:p::p::p:

นักเรียน

นักเรียน

ผู้เยี่ยมชม

ลุงเบิ้ม

ลุงเบิ้ม

ผู้เยี่ยมชม

28 พ.ย. 2554 18:12 #4

:R: มีประโยชน์มากเลยครับ ขอบพระคุณครับ :R:

ลุงเบิ้ม

ลุงเบิ้ม

ผู้เยี่ยมชม

นัก

นัก

ผู้เยี่ยมชม

28 พ.ย. 2554 18:13 #5

มีประโยชน์มากเลยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

นัก

นัก

ผู้เยี่ยมชม

รุ่งนภา

รุ่งนภา

ผู้เยี่ยมชม

13 ก.พ. 2558 17:44 #6

ถ้าบุตรชายเสียชีวิตแล้วบิดามารดาต้องใช้หนี้แทนหรือไม่ โดยที่บิดามารดาไม่ได้มีส่วนร่วมในการกู้ยืม
และถ้าบิดามารดายกมรดกใหบุตรคนอื่นที่ยังมีชีวิตหลังจากบุตรชายคนที่เสียชีวิตแล้วธนาคารสามารถตามยึดมรดกนั้นได้หรือไม่

รุ่งนภา

รุ่งนภา

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

14 ก.พ. 2558 20:57 #7

ตอบคำถามคุณรุ่งนภา
               การรับผิดในหนี้สินของผู้ตายนั้น ต้องยึดหลักกฎหมายคือ ผู้รับมรดกไม่ต้องรับผิดชำระหนี้สินของเจ้ามรดกเกินกว่าทรัพย์สินที่ตนเองได้รับ เช่น ผู้ตายมีเงินมรดกอยู่ 500,000 บาท แต่มีหนี้ 1 ล้าน เงินมรดกก็ต้องถูกนำไปใช้หนี้ (หากเจ้าหนี้ตามหาเจอ หากตามไม่พบหรือไม่ทราบก็ไม่ต้องถูกนำไปใช้หนี้) แต่ผู้รับมรดกไม่ต้องไปใช้หนี้ส่วนที่เหลือ หรือหากผู้ตายมีแต่หนี้ ไม่มีเงินหรือทรัพย์มรดกอะไรเลย ทายาทคือบิดามารดาก็ไม่ต้องรับผิดใช้หนี้แทนแต่อย่างใดครับ
               ส่วนกรณีบิดามารดายกทรัพย์สินให้บุตรคนอื่นขณะยังมีชีวิต จะไม่เรียกว่ายกมรดกให้ เพราะมรดกเป็นเรื่องของคนที่ตายแล้ว หากยกให้ตอนที่มีชีวิตอยู่จะเรียกว่าให้โดยเสน่หา แต่สำหรับคำถามผู้ตายไม่ได้ยกทรัพย์สินให้ใคร เป็นเรื่องพ่อแม่ยกให้บุตรคนอื่น ทรัพย์สินนั้นจึงไม่ใช่ของคนที่ตายแล้วและไม่ใช่มรดก ธนาคารไม่มีสิทธิมาฟ้องเพิกถอนคืนการให้ และไม่สามารถมายึดทรัพย์สินดังกล่าวได้ เพราะไม่ใช่มรดกของผู้ตาย 

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้