ทนายภูวรินทร์
** กฎหมายน่ารู้เรื่องปืน** (37921 อ่าน)
5 มิ.ย. 2553 13:24
สืบเนื่องจากมีคนเคยถามผมเกี่ยวกับการครอบครองปืน ผมจึงขอเผยแพร่เป็นความรู้และเป็นวิทยาทานในที่นี้ครับ
กฎหมายน่ารู้เกี่ยวกับปืน
การโอนลอยอาวุธปืนหมายถึง
การโอนลอยอาวุธปืน หมายถึง การซื้อขายอาวุธปืนโดยผู้ซื้อชำระเงินให้แก่ผู้ขาย และผู้ขายส่งมอบอาวุธปืน พร้อมใบ ป.4 ซึ่งผู้ขายได้ลงลายมือชื่อของผู้ขายเอาไว้ด้านหลัง และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการโอนของผู้ขายเช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ฯลฯ เพื่อให้ผู้ซื้อนำไปดำเนินการโอนทางทะเบียนต่อนายทะเบียนอาวุธปืนเอาเอง โดยผู้ซื้อและผู้ขายไม่ได้ไปดำเนินการโอนต่อหน้านายทะเบียนในขณะที่มีการซื้อขาย
การซื้อขายอาวุธปืนโดยการโอนลอย หากผู้ซื้อมีใบอนุญาตให้ซื้อหรือรับโอนอาวุธปืน ( ใบ ป. 3 ) ในขณะที่มีการซื้อขายโดยการโอนลอย ก็ไม่มีปัญหา
แต่อาจเกิดปัญหาได้ หากการซื้อขายอาวุธปืนโดยการโอนลอยให้แก่ผู้ซื้อซึ่งในขณะทำการซื้อขายผู้ซื้อยังไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้ซื้อหรือรับโอนอาวุธปืน คือไม่มีใบ ป. 3 ( ถึงแม้ผู้ซื้อจะไปดำเนินการขอใบ ป. 3 ในภายหลังก็ตาม ) และมีผู้มาพบการกระทำความผิด ผู้ขายก็จะมีความผิดฐานโอนหรือขายอาวุธปืนให้แก่ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 59 ส่วนผู้ซื้อก็จะมีความผิดฐานซื้อ หรือมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7
บางครั้งการโอนลอยก็มีประโยชน์ในเรื่องของความสะดวก ซึ่งก็เป็นที่นิยมใช้วิธีนี้กัน แต่บางครั้งก็อาจสร้างปัญหาตามมา หากไม่รอบคอบและไปกระทำผิดกฎหมายได้ครับ
..........................................................................................................
สถานที่ติดต่อและยื่นคำร้อง เกี่ยวกับอาวุธปืน
กรุงเทพมหานคร
สถานที่ติดต่อและยื่นคำร้อง คือ ศูนย์บริการประชาชนกรมการปกครอง
วังไชยา นางเลิ้ง ถนนนครสวรรค์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทร. 02–281 – 1224 , 02 – 282 – 0775 ,02 – 356 – 9584 , 02 – 356 – 9585
ต่างจังหวัด
สถานที่ติดต่อและยื่นคำร้อง คือ ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอ หรือปลัดอำเภอของแต่ละจังหวัดที่ผู้ขอมีภูมิลำเนา
คุณสมบัติผู้ขออนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน
1. บรรลุนิติภาวะ
2. สภาพร่างกายปกติไม่พิการหรือทุพพลภาพ
3. ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
4. มีชื่อในทะเบียนและมีถิ่นที่อยู่ประจำในท้องที่ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
5. ไม่เคยต้องโทษจำคุกคดีอาญา
....................................................................................
เอกสารประกอบคำขออนุญาตการขออนุญาตซื้ออาวุธปืนและเครื่องกระสุน
v ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการอื่นๆ หรือพนักงานองค์กรของรัฐ
· บัตรประจำตัวข้าราชการหรือพนักงาน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
· ทะเบียนบ้าน ( ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
· หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชารับรองตำแหน่งหน้าที่ เงินเดือน ความประพฤติ และเหตุผลจำเป็นที่ขออนุญาตที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
- ผู้ออกหนังสือรับรองต้องเป็น ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดระดับผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป
- ข้าราชการตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป ไม่ต้องมีหนังสือรับรอง
· หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมใช้อาวุธปืน
v ข้าราชการทหาร หรือตำรวจ
· บัตรประจำตัวข้าราชการ (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
· ทะเบียน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
· หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชารับรองตำแหน่งหน้าที่ เงินเดือน ความประพฤติ และเหตุผลความจำเป็นที่ขออนุญาต ที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
- ผู้ออกหนังสือต้องเป็นผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดที่มียศตั้งแต่พันเอก หรือพันตำรวจเอกขึ้นไป
- ผู้มียศตั้งแต่พันเอกหรือพันตำรวจเอกขึ้นไป ไม่ต้องมีหนังสือรับรอง
· หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
v ประชาชนทั่วไป หรือผู้ประกอบอาชีพอื่น
· บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
· ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
· หลักฐานประกอบอาชีพ อาทิ เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือร้าน หากเป็นลูกจ้างหรือรับจ้าง ต้องมีหนังสือรับรองตำแหน่งหน้าที่เงินเดือนจากผู้มีอำนาจจัดการของกิจการนั้น หรือเจ้าของแล้วแต่กรณี หากมิได้มีอาชีพรับจ้าง ต้องมีเอกสารประกอบที่อ้างอิง อาทิเช่น ทำสวน ทำไร่ ติดต่อค้าขายที่ หรือค้าขายย่อย หรือเร่ขาย โดยไม่ได้จดทะเบียน ต้องนำหลักทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน เงินฝากธนาคาร ( statement ) หรือหลักฐานอื่น เพื่อประกอบการพิจารณา
· หนังสือรับรองความประพฤติและเหตุผลความจำเป็นที่ขออนุญาตจากข้าราชการระดับ 6 ขึ้นไป หรือ ตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป
· พิมพ์ลายนิ้วมือตรวจสอบประวัติ และสืบสวนความประพฤติ
· หากขออนุญาตเพื่อการกีฬาจะต้องนำหลักฐาน การเป็นสมาชิกสนามยิงปืนแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน มาประกอบการพิจารณา
· หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมใช้อาวุธปืน
v การขออนุญาตซื้ออาวุธปืนจากบุคคล
· หลักฐานเอกสารเช่นเดียวกับการขออนุญาตซื้ออาวุธปืนและเครืองกระสุนจากร้านค้า
· สำเนาบัตรประจำตัวและทะเบียนบ้านของผู้โอน พร้อมสำเนาใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (ป.4) ของอาวุธที่จะโอน
· หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
· หากขออนุญาตเพื่อการกีฬาจะต้องนำหลักฐานการเป็นสมาชิกสนามปืนมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน มาประกอบการพิจารณา
· ภายหลังที่ได้รับอนุญาตผู้โอน (เจ้าของเดิม) กับผู้ขอรับโอน ต้องบันทึกการยินยอมการโอนต่อหน้านายทะเบียนไว้ในหลัง ใบอนุญาต (ป.4 ) ว่าโอนปืนกระบอกนี้ ให้ใครมีค่าตอบแทนเท่าใด หรือโอนไม่คิดค่าตอบแทนเนื่องจากอะไร แล้วลงนามไว้เป็นหลักฐานพร้อมผู้รับโอนลงนามไว้ด้วย
v การขอรับโอนอาวุธปืนมรดก (เจ้าของปืนตาย)
· ผู้ที่มีอาวุธหรือใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (ป.4) อยู่ในครอบครองต้องแจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ตายพร้อมนำใบอนุญาต (ป.4)
· ใบมรณบัตร พร้อมสำเนา
· สำเนาคำสั่งศาลกรณีศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
- ถ้าไม่มีผู้จัดการ ต้องสอบทายาททั้งหมดว่าว่ายินยอมสละปืนแล้วเสนอนายทะเบียนฯ
· ผู้ขอรับโอนปืนมรดกนำหลักฐานเอกสารประกอบคำร้อง เช่นเดียวกับการขอรับโอนอาวุธปืนจากบุคคลมายื่นต่อนายทะเบียนท้องที่พร้อมเอกสารข้างต้น
· หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
· นำอาวุธที่ขอรับโอนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบในวันที่ยื่นคำร้อง
v การแจ้งการย้ายอาวุธปืน
· ต้องยื่นคำร้องขอย้ายอาวุธปืนต่อนายทะเบียนท้องที่เดิมและนายทะเบียนท้องที่ซึ่งย้ายไปอยู่ใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายออกไปและวันที่ไปถึง
· ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
· บัตรประจำตัว (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
· นำอาวุธปืนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
· ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
v การออกใบแทนหรือคัดสำเนาใบอนุญาตอาวุธปืน
· ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
· บัตรประจำตัว (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
· กรณีสูญหาย แจ้งความต่อสถานีตำรวจท้องที่ ที่ใบอนุญาตหาย แล้วนำใบแจ้งความพร้อมคัดสำเนาประจำวันด้วย
· นำอาวุธปืนไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
v ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการอื่นๆ หรือพนักงานองค์กรของรัฐ
· บัตรประจำตัวข้าราชการหรือพนักงาน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
· ทะเบียนบ้าน ( ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
· หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชารับรองตำแหน่งหน้าที่ เงินเดือน ความประพฤติ และเหตุผลจำเป็นที่ขออนุญาตที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
- ผู้ออกหนังสือรับรองต้องเป็น ผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดระดับผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป
- ข้าราชการตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป ไม่ต้องมีหนังสือรับรอง
· หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมใช้อาวุธปืน
v ข้าราชการทหาร หรือตำรวจ
· บัตรประจำตัวข้าราชการ (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
· ทะเบียน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
· หนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชารับรองตำแหน่งหน้าที่ เงินเดือน ความประพฤติ และเหตุผลความจำเป็นที่ขออนุญาต ที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
- ผู้ออกหนังสือต้องเป็นผู้บังคับบัญชาต้นสังกัดที่มียศตั้งแต่พันเอก หรือพันตำรวจเอกขึ้นไป
- ผู้มียศตั้งแต่พันเอกหรือพันตำรวจเอกขึ้นไป ไม่ต้องมีหนังสือรับรอง
· หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
v ประชาชนทั่วไป หรือผู้ประกอบอาชีพอื่น
· บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
· ทะเบียนบ้าน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)
· หลักฐานประกอบอาชีพ อาทิ เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือร้าน หากเป็นลูกจ้างหรือรับจ้าง ต้องมีหนังสือรับรองตำแหน่งหน้าที่เงินเดือนจากผู้มีอำนาจจัดการของกิจการนั้น หรือเจ้าของแล้วแต่กรณี หากมิได้มีอาชีพรับจ้าง ต้องมีเอกสารประกอบที่อ้างอิง อาทิเช่น ทำสวน ทำไร่ ติดต่อค้าขายที่ หรือค้าขายย่อย หรือเร่ขาย โดยไม่ได้จดทะเบียน ต้องนำหลักทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน เงินฝากธนาคาร ( statement ) หรือหลักฐานอื่น เพื่อประกอบการพิจารณา
· หนังสือรับรองความประพฤติและเหตุผลความจำเป็นที่ขออนุญาตจากข้าราชการระดับ 6 ขึ้นไป หรือ ตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไป
· พิมพ์ลายนิ้วมือตรวจสอบประวัติ และสืบสวนความประพฤติ
· หากขออนุญาตเพื่อการกีฬาจะต้องนำหลักฐาน การเป็นสมาชิกสนามยิงปืนแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน มาประกอบการพิจารณา
· หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมใช้อาวุธปืน
v การขออนุญาตซื้ออาวุธปืนจากบุคคล
· หลักฐานเอกสารเช่นเดียวกับการขออนุญาตซื้ออาวุธปืนและเครืองกระสุนจากร้านค้า
· สำเนาบัตรประจำตัวและทะเบียนบ้านของผู้โอน พร้อมสำเนาใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (ป.4) ของอาวุธที่จะโอน
· หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน
· หากขออนุญาตเพื่อการกีฬาจะต้องนำหลักฐานการเป็นสมาชิกสนามปืนมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน มาประกอบการพิจารณา
· ภายหลังที่ได้รับอนุญาตผู้โอน (เจ้าของเดิม) กับผู้ขอรับโอน ต้องบันทึกการยินยอมการโอนต่อหน้านายทะเบียนไว้ในหลัง ใบอนุญาต (ป.4 ) ว่าโอนปืนกระบอกนี้ ให้ใครมีค่าตอบแทนเท่าใด หรือโอนไม่คิดค่าตอบแทนเนื่องจากอะไร แล้วลงนามไว้เป็นหลักฐานพร้อมผู้รับโอนลงนามไว้ด้วย
*************************************************************
เครดิตจาก บทความคุณวิทยา สุขสมโสตร
http://www.gunstactics.com/readarticle.php?article_id=15
ทนายภูวรินทร์
ผู้ดูแล
เด็กน้อยพกปืน
19 ก.ค. 2554 04:26 #1
เป็นความรู้ที่ดีมากเลยครับ และถ้ารับฝากจำนำอาวุธปืนจะมีผลทางกฏหมายอย่างไรบ้างครับ ขอบคุณครับ
เด็กน้อยพกปืน
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์
21 ก.ค. 2554 11:13 #2
การจำนำ คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ และผู้รับจำนำชอบที่จะยึดของจำนำไว้ได้ทั้งหมดจนกว่าจะได้รับชำระหนี้และค่าอุปกรณ์ครบถ้วน และหากลูกหนี้หรือผู้จำนำไม่ชำระหนี้ ก็ต้องบังคับจำนำ โดยผู้รับจำนำต้องบอกกล่าวเป็น หนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ชำระหนี้และอุปกรณ์ภายในเวลา อันควรซึ่งกำหนดให้ในคำบอกกล่าวนั้น ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนำชอบที่จะเอาทรัพย์สินซึ่งจำนำออกขายได้ แต่ต้องขายทอดตลาด
อาวุธปืนเป็นทรัพย์ที่ทะเบียนที่กฎหมายควบคุมเป็นพิเศษ ผมตอบสรุปให้เลยว่าไม่สามารถจำนำได้ เพราะผู้รับจำนำจะมีความผิดตามกฎหมายอาวุธปืน แม้อาวุธปืนนั้นจะได้รับอนุญาตตามกฎหมายก็ตาม เนื่องจากอาวุธปืนนั้นนายทะเบียนอนุญาตให้มีเฉพาะรายบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น หากรับจำนำไว้ก็ถือว่าผู้รับจำนำมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนมีความผิดตาม พรบ.อาวุธปืนฯ
ดูตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7803/2543 ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 7 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่" การที่นาย ส. จำนำอาวุธปืนไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 รับมอบอาวุธปืนไว้ในครอบครองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 72 วรรคสาม
ทนายภูวรินทร์
ผู้ดูแล
เกียวนภา
2 ก.ย. 2554 11:21 #3
สวัสดีคะ ขอรบกวนเวลาสักนิดหนึ่งคะ คือดิฉันซื้อปืนมาในราคาที่แพงเกินจริงแล้วอยากเปลี่ยนคืน(ซื้อมาได้2วัน)ไม่ทราบว่าพอทำได้มั้ยคะคือราคาเกินจริงประมาณ40,000 บาทคะ ดิฉันซื้อ ขนาด 9มม. CZ 75 ในราคา136,500 บาท แต่ตามร้านทั่วไป85,000บาท จะต้องทำไรถึงจะได้เงินคืนคะ
รบกวนแค่นี้คะ
ขอบคุณคะ
เกียวนภา
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์
5 ก.ย. 2554 19:14 #4
ตอบคุณเกียวนภา
การที่ตกลงซื้อปืนจากผู้ขาย และมีการส่งมอบปืน พร้อมทั้งชำระราคากันแล้ว ถือว่าเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด จึงไม่สามารถเลิกสัญญาและขอเงินคืนได้ แต่หากมีข้อเท็จจริงว่าผู้ขายมีเจตนาหลอกลวงให้คุณซื้อปืนในราคาที่แพงกว่าปกติ ถือว่าผู้ขายได้ขายปืนแก่คุณโดยทำกลฉ้อฉล เป็นเหตุให้คุณต้องชำระราคาสูงขึ้นกว่าราคาซื้อขายปกติ จึงเป็นกลฉ้อฉลแต่เพียงเหตุจูงใจให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่าที่จะยอมรับโดยปกติ แต่คุณไม่สามารถบอกล้างการซื้อขายนั้นได้ คือไม่ทำให้สัญญาซื้อขายเป็นโมฆียะที่จะสามารถบอกล้างได้ แต่กรณีนี้ชอบที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉลนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 โดยต้องฟ้องศาลเพื่อบังคับให้ผู้ขายคืนเงินส่วนที่เกินได้เท่านั้น
ทนายภูวรินทร์
ผู้ดูแล
75d
13 ม.ค. 2555 13:23 #5
คนคนหนึ่งสามารถซื้อปืนมีไว้ครอบครองได้กี่กระบอกครับ
75d
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์
17 ม.ค. 2555 23:37 #6
ตอบคุณ 75d
กฎหมายไม่ได้บัญญัติห้าม หรือจำกัดจำนวนไว้ ฉะนั้น คนมีเงินจึงมีได้หลายกระบอก และการจะมีหลายกระบอกก็ขึ้นอยู่กับ........ดุลพินิจ.......ของ จนท.ด้วย
ทนายภูวรินทร์
ผู้ดูแล
efe
18 ก.พ. 2555 14:47 #7
เรียน ทนายภูวรินทร์ และ ทีมงานทุกท่าน
ดิฉันต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ตั้งเว็ปที่มีประโยชน์ให้ความรู้ และสามารถ นำไปใช้ในการ ตอบข้อสอบ พร้อมใช้กับชีวติประจำวันได้ด้วย
เพราะดิฉันเรียนจบ คณะรัฐศาสตร์ รามฯ และกำลังจะเทียบโอนเรียน นิติฯ จากมหาวิทยาลัยเดียวกันเพื่อจะได้มีความรู้เรื่องกฏหมาย(ประกอบอาชีพส่วนตัวค่ะ) ท่านและทีมงาน ช่วยดิฉันได้มากค่ะ
ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ
efe
ผู้เยี่ยมชม
Jhon
20 ธ.ค. 2555 15:18 #8
ผมอยากจะทำการขออนุญาตซื้ออาวุธปืนและเครื่องกระสุน แต่ตอนที่ผมอายุ 17 ปี ผมเคยมีคดีอาญา เมาแล้วขับ (รถจักรยานยนต์) ตอนนี้ผมอายุ 26 ปีแล้ว อยากทราบว่าเมาแล้วขับอายุความกี่ปี แล้วจะผ่านคุณสมบัติหรือไม่กับการขออนุญาตซื้ออาวุธปืนและเครื่องกระสุน
ขอบคุณครับ
Jhon
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์
22 ธ.ค. 2555 22:47 #9
ตอบคำถามคุณ Jhon
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
มาตรา 43 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ (1) ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ (2) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น (3) ในลักษณะกีดขวางการจราจร (4)โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน (5) ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดาหรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลังด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านได้พอแก่ความปลอดภัย (6) คร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถหรือกลับรถ (7) บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ (8) โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น”
มาตรา 160 ตรี ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43 (2) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงหกปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสองหมื่นบาท และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าสองปี หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ
(1) ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี
(2) สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(3) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
(4) ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึงหนึ่งปี
ดังนั้น ความผิดฐานขับขี่รถในขณะเมาหรือของเมาอย่างอื่น ย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (2) มีโทษตามมาตรา 160 ตรี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งกำหนดอายุความ 5 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 (4)
สำหรับคุณสมบัติผู้ขออนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนมีดังนี้
1. บรรลุนิติภาวะ
2. สภาพร่างกายปกติไม่พิการหรือทุพพลภาพ
3. ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
4. มีชื่อในทะเบียนและมีถิ่นที่อยู่ประจำในท้องที่ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
5. ไม่เคยต้องโทษจำคุกคดีอาญา
คุณสมบัติข้อที่ 5. หมายความว่าเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก และถูกจำคุกจริง ๆ มาแล้ว และเนื่องจากคำถามไม่ได้บอกว่าการมีคดีเมาแล้วขับดังกล่าว ผลของคดีเป็นอย่างไร แต่อย่างไรก็ตามหากไม่เคยถูกจำคุกจริง ๆ กล่าวคือเมื่อกระทำผิดแล้วหลบหนี หรือถูกดำเนินคดีจนศาลพิพากษาลงโทษจำคุก แต่รอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษไว้ ย่อมไม่ต้องห้ามตามคุณสมบัติดังกล่าว สามารถยื่นขออนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนได้ แต่จะได้รับอนุญาตหรือไม่ เป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่เพราะปืนเป็นอาวุธที่อันตรายมาก เจ้าหน้าที่ย่อมตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ซึ่งหากต้องการมีไว้เพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน ก็ต้องลองยื่นคำขอดู ไม่ลองก็ไม่รู้ไม่เสียหายอะไร ขอให้โชคดีครับ
ทนายภูวรินทร์
ผู้ดูแล
เพ็ญ
1 พ.ค. 2556 14:57 #10
ขอถามหน่อยนะค่ะ ครอบครัวดิฉันมีปืนเมาเซอร์ไรเฟิลไว้ครอบครอง ในทะเบียนเป็นชื่อของคุณพ่อ ปัจจุบันคุณพ่อได้เสียชีวิตนานแล้ว คุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ จะต้องทำอย่างไร ถ้าลูกคนหนึ่งคนใดจะครอบครอง คุณพ่อกับคุณแม่มีลูก 4 คน อยากทราบว่าจะโอนกันอย่างไรในเมื่อคุณพ่อเสียชีวิตแล้ว
เพ็ญ
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์
2 พ.ค. 2556 01:01 #11
ตอบคำถามคุณเพ็ญ
อาวุธปืนเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่สามารถตกทอดไปยังทายาทของเจ้าของอาวุธปืนได้เหมือนทรัพย์สินอื่น ๆ ทั่วไป อันนี้เป็นเรื่องกรรมสิทธิ์ในตัวปืนเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับใบอนุญาต เพราะทายาทผู้ได้รับอาวุธปืนเป็นมรดกตกทอด ก็ยังเป็นการมีอาวุธไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนอยู่ดี และมีความผิดตามกฎหมาย ฉะนั้นจึงต้องยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่เพื่อขอใบอนุญาตให้มีหรือใช้อาวุธปืนเสียก่อน ซึ่งทางราชการจะพิจารณาว่า ทายาทหรือผู้ขออนุญาตมีคุณสมบัติที่ต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ ถ้าไม่มีก็จะได้จัดการออกใบอนุญาตให้ต่อไป ดังนั้น จึงควรรีบติดต่อสอบถามไปที่นายทะเบียนอาวุธปืนท้องที่เพื่อทราบรายละเอียดขั้นตอนและเอกสารที่ต้องใช้เพื่อขอรับโอนมรดกอาวุธปืนนะครับ หรือพิมพ์คำว่า "การขอรับโอนมรดกอาวุธปืน" ที่กูเกิ้ลเพื่อทราบรายละเอียดเบื้องต้นก่อนก็ได้ครับ
ทนายภูวรินทร์
ผู้ดูแล
โอ๋
8 ต.ค. 2557 06:38 #12
สวัสดีคะคุณทนาย รบกวนถามหน่อยคะ หนูต้องไปรับปืนของคุณพ่อ มีชายคนหนึ่งโดนจับกุมคดียาเสพติดและมีปืนในครอบครองทางตำรวจตรวจสอบพบว่าปืนเป็นชื่อคุณพ่อแต่คุณพ่อหนูเสียชีวิตไปแล้วหนูก็เลยต้องไปรับคืนเพราะเป็นทายาท เรื่องเอกสารเรียบร้อย ตอนนี้คุณตำรวจติดต่อให้ไปรับคืนหนูไม่รู้ต้องทำยังไงบ้างแต่อยากจะขายเพราะไม่กล้าเก็บไว้เห็นคุณตำรวจบอกให้ติดต่อกองทะเบียนปืน แล้วต้องเอาปืนไปด้วยมั้ยคะ คุณตำรวจบอกเป็นปืนยาว 22อะไรนี่แหละคะ ปืนยาวคงไม่สะดวกพกพา รับปืนแล้วต้องทำยังไงต่อคะรบกวนคุณทนายช่วยตอบหน่อยนะคะ ขอบคุณมากคะ....โอ๋คะ
โอ๋
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
12 ต.ค. 2557 12:50 #13
ตอบคำถามคุณโอ๋
เมื่อคุณพ่อเสียชีวิต ก็ต้องใช้เอกสารประกอบการรับปืนหรือรับโอนเป็นคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกด้วย แต่เรื่องนี้ผมแนะนำให้ไปติดต่อที่กองทะเบียนอาวุธปืน ณ ท้องที่ที่ปืนจดทะเบียนว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร และใช้เอกสารอะไรบ้างครับ จะได้จัดเตรียมไปให้ครบถ้วน เพราะอาวุธปืนไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใครก็สามารถครอบครองได้
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
ผู้ดูแล
จิดาภา
13 ต.ค. 2557 15:14 #14
เรียนคุณทนายค่ะ
ขอคำแนะนำหน่อยค่ะ
ตอนนี้แม่ได้เก็บรักษาปืนของลุงซึ่งเป็นพี่เขยไว้ แต่ลุงและป้าได้เสียชีวิตไปแล้วทั้งคู่ ลุงกับป้าไม่มีบุตร
พี่น้องของลุงที่เหลืออยู่ก็ติดต่อไม่ได้ ทะเบียนปืนหาไม่เจอ...ในกรณีนี้ถ้าเราจะนำปืนที่มีอยู่ไปตรวจเช็คทะเบียน ขอขึ้นทะเบียนใหม่เป็นของแม่ได้หรือไม่...หรือต้องมีขบวนการอย่างไร รบกวนขอคำแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
จิดาภา
ผู้เยี่ยมชม
The KATE
13 ต.ค. 2557 22:51 #15
ขอสอบถามครับ ผมย้ายทะเบียนบ้านมาหลายปีแล้วแต่ยังไม่ได้โอนย้ายทะเบียนปืนมาด้วย หากไปดำเนินการโอนย้ายทะเบียนปืนมาอยู่ตามภูมิลำเนาใหม่ มีค่าปรับ หรือค่าใช้จ่ายอะไรไหมครับ
The KATE
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
14 ต.ค. 2557 21:02 #16
ตอบคำถามคุณจิดาภา
อาวุธปืนก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่เมื่อเจ้าของเสียชีวิตแล้ว ปืนย่อมตกเป็นมรดกแก่ทายาทของลุง ซึ่งทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของลุงจะมี 6 ลำดับเท่านั้นคือ 1.ผู้สืบสันดาน (ลูก) 2. บิดามารดา 3.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4.พี่น้องร่วมบิดา หรือร่วมมารดาเดียวกัน 5.ปู่่ ย่า ตา ยาย 6.ลุงป้าน้าอา
หากมีทายาทในลำดับดังกล่าวข้างต้น ก็สามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อดำเนินการรับโอนมรดกปืนได้ แล้วนำหลักฐานคำสั่งศาลไปยื่นขอที่ฝ่ายทะเบียนอาวุธได้ครับ ซึ่งมีขั้นตอนการพิจารณาเช่นเดียวกับบุคคลที่ต้องการมีและใช้อาวุธปืนทั่วไป เพราะใบอนุญาตให้มีหรือใช้อาวุธปืนเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว
ส่วนแม่คุณไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นทายาทที่จะมีสิทธิรับมรดกของลุงได้ ดังนั้น จึงไม่สามารถดำเนินการทางกฎหมายเพื่อจะครอบครองอาวุธปืนดังกล่าวได้ หากเก็บไว้ก็อาจถูกดำเนินคดีข้อหามีอาวุธปืนครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตได้นะครับ
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
ผู้ดูแล
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
14 ต.ค. 2557 21:11 #17
ตอบคำถามคุณThe KATE
กรณีที่ได้สอบถามมานั้น มีโทษปรับตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. ๒๔๙๐
มาตรา ๖๒ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนคนใดย้ายถิ่นที่อยู่ ให้แจ้งการย้ายแก่นายทะเบียนท้องที่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันย้าย และถ้าย้ายไปอยู่ต่างท้องที่ให้แจ้งการย้ายแก่นายทะเบียนท้องที่ใหม่ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ย้ายไปถึงอีกด้วย
มาตรา ๘๓ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ส่วนค่าธรรมเนียมการโอนย้ายนั้น ต้องไปสอบถามนายทะเบียน ซึ่งคิดว่าไม่มากมายอะไรครับ หลักสำคัญคือต้องไปแจ้งย้ายเท่านั้น หรือย้ายทะเบียนบ้านกลับไปยังที่เดิมก็ไม่ต้องไปแจ้งโอนอะไร
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
ผู้ดูแล
มังกร
30 ต.ค. 2557 23:25 #18
เรียนคุณทนายคับ...
ผมซื้อปืนต่อมาจากคนรู้จักแต่ในใบ ป.4 ถูกสลักไว้ว่าโอนลอยให้นาย ก. ตั้งแต่ปี 2518 และนาย ก.ได้สลักขายต่อให้นาย ข.ตั้งแต่ปี 2547
แต่สุดท้ายตอนนี้ปืนและใบ ป.4 อยู่ที่ผมเจ้าของเดิมได้เสียชีวิตนานแล้วและตอนนี้ก็ติดต่อใครไม่ได้เลย...ผมควรทำอย่างไรดีคับ
มังกร
ผู้เยี่ยมชม
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
13 พ.ย. 2557 22:08 #19
ตอบคำถามคุณมังกร
ก่อนอื่นต้องขออภัยที่ตอบคำถามล่าช้าเนื่องจากติดภารกิจคดีความครับ
ตามคำถาม อาวุธปืนเป็นทรัพย์สินที่ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้โดยง่ายเหมือนทรัพย์สินทั่วไป เพราะมีกฎหมายบัญญัติคุณสมบัติผู้ที่จะมีสิทธิครอบครองไว้โดยเฉพาะแล้ว หากครอบครองไม่ถูกต้องก็มีความผิดและอาจติดคุกได้
การซื้อขายแบบโอนลอยนั้น ก็ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาพอสมควรด้วย คือ ผู้ซื้อก็ต้องดำเนินการขอใบอนุญาตให้ซื้อหรือรับโอนอาวุธปืน (ป.3) ฝ่ายผู้ขายก็ต้องลงลายมือชื่อของผู้ขายเอาไว้ด้านหลังใบ ป.4 (สลักหลัง) และส่งมอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการโอนของผู้ขายเช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ฯลฯ เพื่อไปดำเนินการโอนทางทะเบียนต่อนายทะเบียนอาวุธปืน หรือไปดำเนินการโอนทางทะเบียนกันต่อหน้านายทะเบียนทันที แต่กรณีของคุณมีการสลักหลังไว้ครั้งแรกตั้งแต่ปี 2518 และยังไม่มีการดำเนินการอะไรกันทางทะเบียนเลย ดังนั้น จึงไม่สามารถรับโอนอาวุธปืนดังกล่าวให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ เพราะเจ้าของเดิมเสียชีวิตแล้ว ตอนนี้ก็ต้องกลายเป็นอาวุธปืนถูกกฎหมาย แต่ครอบครองผิดกฎหมาย ซึ่งก็ต้องเสี่ยงกับการถูกค้นพบการกระทำความผิดและถูกดำเนินคดีอาญาต่อไป
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
ผู้ดูแล
ket
19 ก.พ. 2558 18:03 #20
ขอสอบถามครับ.. กรณีการซื้อขายปืนเงินผ่อน..โดยผู้ขายได้โอนเปลี่ยนชื่อไปให้ผู้ซื้อตามกฏหมายแล้ว(ผู้ชื้อได้รับใบ ป 3และป4 แล้ว)..ผู้ซื้อและผู้ขายได้ทำสัญญาผ่อนเงินเป็นงวดๆให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี โดยมีเงื่อนไขว่า ในระหว่างที่ยังจ่ายเงินค่าปืนไม่ครบ ห้ามผู้ซื้อ จำหน่าย โอนให้แก่ผู้ใดหรือ แก้ไข ดัดแปลง เว้นแต่จะได้รับการยินยอมจากผู้ขายก่อน....สัญญาแบบนี้มีสภาพบังคับได้หรือไม่ครับ..และในระหว่างที่ยังไม่ครบสัญญา..กรรมสิทธิ์ในตัวปืนยังเป็นของผู้ขายอยู่หรือไม่ครับ.....
ket
ผู้เยี่ยมชม