Webmaster

Webmaster

ผู้ดูแล

  ลูกหนี้โกงเงิน ??ทำอย่างไร (1063 อ่าน)

22 มี.ค. 2553 03:17





ลูกหนี้โกง จะทำอย่างไรดี ??? 
 ถ้าหากท่านได้มีโอกาสเป็นเจ้าหนี้แล้ว ถ้าเกิดบังเอิญไปเจอลูกหนี้จอมเจ้าเล่ห์ หาหนทางต่าง ๆ นานา เพื่อพยายาม0tไม่ได้รับชำระหนี้ ท่านผู้เป็นเจ้าหนี้จะมีวิธีการจัดการกับลูกหนี้จอมคดโกงได้อย่างไร.........เพราะขึ้นชื่อว่าเจ้าหนี้
ใคร ๆ ก็ต้องตราหน้าไว้ก่อนว่าหน้าเลือด ขี้โกงแต่จะมีใครรู้ว่าในปัจจุบันนี้ ลูกหนี้บางส่วนมีแนวความคิดว่าเมื่อเป็นหนี้เขาแล้วก็ไม่อยากจะใช้หนี้คืนเจ้าหนี้ และลูกหนี้สมัยนี้ก็หัวหมอ เมื่อรู้ว่าถ้าตนไม่ใช้หนี้เจ้าหนี้ก็จะมาฟ้องตนเพื่อให้ศาลบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ โดยเจ้าหนี้ก็จะนำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งหลายออกขายทอดตลาดเพื่อนำมาชำระหนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วลูกหนี้ก็คิดว่าหากตนเองไม่มีทรัพย์สินใดเป็นของตน เจ้าหนี้ก็ไม่สามารถทำอะไรลูกหนี้ได้แล้ว ดังนั้น ลูกหนี้ทั้งหลายก็พยายามโอน จำหน่าย ซ่อนเร้น ปิดบัง ทรัพย์สินของตนไปเสียทั้งหมดเพื่อทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้ ถ้าท่านผู้อ่านทั้งหลายเป็นเจ้าหนี้ รู้ว่าลูกหนี้ของตนทำพฤติกรรมดังกล่าว ท่านผู้เป็นเจ้าหนี้จะทำอย่างไรดี

ก่อนอื่นผมอยากจะบอกถึงสิทธิของเจ้าหนี้ในกรณีที่ถูกลูกหนี้โกงให้ฟังก่อนว่า เจ้าหนี้มีสิทธิทั้งตามกฎหมายแพ่งและสามารถดำเนินคดีอาญากับลูกหนี้ผู้นั้นได้ในข้อหา “โกงเจ้าหนี้” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 

ขออธิบายสิทธิของเจ้าหนี้ตามกฎหมายแพ่งให้ฟังก่อนว่า เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะดำเนินการอย่างไรกับลูกหนี้ที่ ยักย้าย ถ่ายเททรัพย์สินของตนเองไปให้กับบุคคลภายนอก จนตนเองไม่เหลือทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้ ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ต้องการจะชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 บัญญัติว่า เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำให้โดยเสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้ บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน จากบทบัญญัติดังกล่าว ผู้เขียนขอยกตัวอย่างให้ดู สมมุติว่า นายแดงเป็นหนี้เงินกู้นายขาวอยู่ 1 ล้านบาท ซึ่งนายแดงมีทรัพย์สินคือที่ 1 แปลง และนอกจากนี้นายแดงไม่มีทรัพย์สินใด ๆ อีก ซึ่งนายแดงไม่มีเงินใช้หนี้โดยกลัวนายขาว จะมายึดที่ดินของตนออกขายทอดตลาดเพื่อนำมาชำระหนี้ นายแดงจึงสมคบกับนายเหลือง ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โดยแกล้งทำสัญญาขายที่ดินให้แก่นายเหลือง ถ้าเป็นเช่นนี้ นายขาวเจ้าหนี้ก็สามารถร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างนายแดงกับนายเหลืองได้ แต่ผู้เขียนอยากบอกว่า ไม่ใช่ทุกกรณีที่กฎหมายให้สิทธิเจ้าหนี้มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอน นิติกรรมระหว่างลูกหนี้กับบุคคลภายนอกได้เสมอไป เพราะบางครั้งบุคคลภายนอก หรือบุคคลผู้ได้ลาภงอก (ผู้ที่ทำนิติกรรมใด ๆ กับลูกหนี้) มิได้รู้เห็นข้อเท็จจริงถึงการกระทำที่ให้เจ้าหนี้เสียเปรียบด้วยแล้ว บุคคลนั้นก็ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย แต่การได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของบุคคลภายนอกหรือผู้ได้ลาภงอก บุคคลดังกล่าวจะต้องเสียค่าตอบแทนในการทำนิติกรรมใด ๆ กับลูกหนี้เพราะว่าถ้าเป็นกรณีที่ลูกหนี้ทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินให้โดยเสน่หาแก่บุคคลผู้ได้ลาภงอกแล้ว กฎหมายก็จะไม่คุ้มครองเขา ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า บุคคลนั้นไม่ต้องเสียเงินหรือเสียอะไรเลย  หลายคนคงสงสัยว่าบุคคลผู้ได้ลาภงอกตามกฎหมายนั้นคือใคร ก่อนหน้านี้ผู้เขียนได้สมมุติเหตุการณ์ขึ้นเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งนายเหลืองก็คือบุคคลผู้ได้ลาภงอกตามกฎหมายนั้นเอง แต่ตามตัวอย่างนายเหลืองไปสมคบกับนายแดง (ลูกหนี้) นายเหลืองจึงไม่ได้รับความคุ้มครอง แต่ถ้าเปลี่ยนข้อเท็จจริงใหม่ว่า นายเหลืองซื้อที่ดินดังกล่าวจากนายแดง โดยไม่รู้ว่าการซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวจะทำให้นายขาวเจ้าหนี้นายแดงเสียเปรียบ ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วนายเหลืองก็จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งส่งผลให้นายขาวจะมาร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินระหว่างนายแดงกับนายเหลืองไม่ได้ นอกจากนี้เจ้าหนี้ยังมีสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญา กับลูกหนี้จอมขี้โกงดังกล่าวได้ เพราะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 บัญญัติว่า ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเมื่อพิจารณามาตราดังกล่าวแล้ว ถ้าลูกหนี้มีเจตนาทุจริตกระทำการ ยักย้าย ถ่ายเท ซ่อนเร้น หรือ โอนทรัพย์ของตนเองไปให้ผู้อื่นโดยมีวัตถุประสงค์จะให้เจ้าหนี้ของตนไม่ได้รับชำระหนี้ลูกหนี้ผู้นั้นก็อาจถูกดำเนินคดีอาญาในข้อหา “โกงเจ้าหนี้ได้” และนอกนี้แม้ลูกหนี้แกล้งทำให้ตนเองเป็นหนี้ซึ่งไม่เป็นความจริง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหนี้ของตนไม่ได้รับชำระหนี้ก็มีความผิดเหมือนกัน เมื่อรู้เช่นนี้แล้วลูกหนี้ก็คงไม่อยากคิดจะหาหนทางเพื่อไม่ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แล้วใช่ไหมครับ

สุดท้ายนี้ ผู้อ่านไม่ว่าท่านจะเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ ขอพึงรำลึกไว้เสมอ ถ้าวันใดท่านตกเป็นลูกหนี้ ท่านก็ต้องพยายามหาหนทางในการชำระหนี้ มีความซื่อสัตย์ต่อเจ้าหนี้ของท่าน อย่าพยายามคิดคดโกงเพราะนอกจากท่านจะเสียความน่าเชื่อถือในสังคมแล้วท่านยังอาจถูกดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายได้

ส่วนท่านผู้เป็นเจ้าหนี้......ท่านก็ควรให้โอกาสลูกหนี้ของท่านในการชำระหนี้ เพราะถ้าท่านบีบคั้นลูกหนี้ให้เขาหาเงินมาชำระหนี้ท่าน ท่านก็อาจจะไม่ได้รับชำระเลย

การที่สังคมจะเป็นสุขนั้นเราจะต้องอยู่ร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยกันสังคมบ้านเมืองจะสงบและกฎหมายจะเป็นเพียงกรอบในสังคมที่สงบสุขครับ................





Webmaster

Webmaster

ผู้ดูแล

ครูใจดี

ครูใจดี

ผู้เยี่ยมชม

29 พ.ค. 2553 21:42 #3

ครูใจดี

ครูใจดี

ผู้เยี่ยมชม

แอ้มเองค่ะ...

แอ้มเองค่ะ...

ผู้เยี่ยมชม

30 พ.ค. 2553 10:34 #4

เข้ามาเก็บความรู้ค่ะ........:)

ตอนแรกที่เข้ามาจากกระทู้ในพันทิพย์เพราะเห็นมีคนเข้าไปตั้งกระทู้พาดพิง
...เว็บให้ความรู้ดีนะคะ..เอาใจช่วยคุณค่ะ เพราะว่าเข้าไปตอบดีมากเลย..
ที่ไหนมีคนรักย่อมมีคนเกลียดค่ะ...เพราะถ้าไม่มีลงท้ายเว็บ แอ้มคงมาถาม
ในที่ตรงนี้ไม่ได้

รบกวนคุณทนายช่วยตอบแอ้มด้วยนะคะ.........
เพราะว่ากำลังสองจิตสองใจจะให้เพื่อนยืมเงินดีไหมอยู่ค่ะ

แอ้มเองค่ะ...

แอ้มเองค่ะ...

ผู้เยี่ยมชม

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้