เจเล่ย์

เจเล่ย์

ผู้เยี่ยมชม

  คดียักยอกทรัพย์(ศาลแรงงานกลาง) (5365 อ่าน)

17 ม.ค. 2556 09:24

เรียนถามอาจารย์ค่ะ
สามีได้รับหมายให้ไปศาลแรงงานกลางในวันที่ 5 ก.พ. 56 นี้ ในคดียักยอกทรัพย์จำนวน (รวมดอกเบี้ย 1 ปี) เป็นเงิน 120,002 บาท แต่ไม่สะดวกตรงที่ว่า ร่างกายอ่อนแอ ไม่สามารถเดินทางไกลได้ และไม่ได้ทำงาน ขณะนี้อยู่ระยอง ไม่มีรถส่วนตัว ป่วยด้วยโรคไวรัสตับอักเสบซี เกล็ดเลือดต่ำ ถ้าจะต้องทำหนังสือคำให้การต่อศาลก่อนถึงวันที่กำหนดได้ใช่ไหมคะ แล้วต้องใช้เอกสารอะไรประกอบหนังสือดังกล่าวหรือเปล่า เพราะไม่ได้มีทนาย แต่สามีรับสภาพและจะขอผ่อนผันเป็นงวด ๆ จะต้องทำหนังสือถึงผู้ใด ถึงศาลหรือทนายฝ่ายโจทย์คะ แนะนำด้วยค่ะ จะรอฟังคำตอบค่ะ ขอบคุณที่กรุณาค่ะ

เจเล่ย์

เจเล่ย์

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

18 ม.ค. 2556 13:44 #1


ตอบคำถามคุณเจเลย์
                คดียักยอกเป็นความผิดอาญา กฎหมายระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่การที่ผู้เสียหายใช้สิทธิทางศาลแรงงานกลาง แสดงว่ามีความเกี่ยวข้องกันในฐานะลูกจ้างนายจ้าง ตามสัญญาจ้างแรงงาน การฟ้องคดีที่ศาลแรงงานเป็นการฟ้องเรียกร้องให้ชำระเงินคืน ซึ่งเป็นคดีทางแพ่ง ไม่มีโทษทางอาญาอย่างใด
                ดังนั้น หากกระทำความผิดอาญาฐานยักยอกจริง ก็ควรไปศาลเพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย เพื่อผลประโยชน์ของสามีคุณเอง เนื่องจากหากตกลงคดีแพ่งกันได้ โดยมีการยอมความถูกต้องตามกฎหมาย ก็อาจเป็นเหตุให้สิทธิในการนำคดีอาญาของผู้เสียหายระงับไปด้วย หรือหากไม่มีการยอมความเรื่องทางอาญาด้วย การผ่อนชำระหนี้ให้ทั้งหมดหรือบางส่วนอาจเป็นเหตุผลที่ศาลในคดีอาญาจะเมตตาลงโทษในสถานเบาและรอการลงโทษไว้ก่อนได้เช่นกัน
                เมื่อได้รับหมายศาลแล้วก็ควรไปศาล แต่หากไปไม่ได้ด้วยเหตุผลเรื่องสุขภาพ ก็ควรมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปแทนได้ โดยทำหนังสือมอบอำนาจ แนบหลักฐานสำคัญประจำตัวไปด้วย ระบุในหนังสือมอบอำนาจว่า ให้เป็นตัวแทนดำเนินคดีแพ่ง ของศาลแรงงานกลาง คดีหมายเลขดำที่ 0000/0000 โดยมีอำนาจเจรจาไกล่เกลี่ยกับศาลและโจทก์ ตลอดจนทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย และไม่ต้องทำคำให้การยื่นศาล เพราะสามารถแถลงต่อหน้าศาลเพื่อแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาล และเพื่อรับตามฟ้องและประสงค์จะชดใช้เงินคืน การไม่ไปศาลแต่ทำหนังสือส่งศาลทางไปรษณีย์จะไม่มีผลทางกฎหมายที่เป็นประโยชน์เลย ดังนั้น จึงต้องไปศาลไม่ว่าด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปแทน ขอให้โชคดีครับ
 

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

ลา

ลา

ผู้เยี่ยมชม

27 ต.ค. 2557 18:58 #2

ทำงานในสบริษัท แห่งหนึ่ง เงินเดือน 20000 ทำงาน 5 เดือน แล้ว ลาออก เพราะกดดัน รับสภาพทำงานไม่ได้ เงินค้ำประกัน 40000 อยากได้เงินประกันคืน ...เขาให้เป็น ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายขาย ดูแลด้านการขาย ทุกๆวัน น้องในแผนกจะเบิกสินค้าจากสโตร์ ออกขาย และส่งเงิน ตามที่เบิกขายได้ ใให้ หัวหน้าฝ่าย ตรวจเช็ค อย่างถูกต้องทุกวัน พอถึงสิ้นเดือน ต้องสรุปสินค้าขาด/เกิน แต่ไม่ได้ทำสรุป เพราะ ทำรายการไม่เป็น จึงได้ลาออกจากงาน เนืองจากตัวเองไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน และนายจ้างก็อนุมัติแล้ว แต่พอได้งานที่ใหม่ นายจ้างเก่า ก็ มี จดหมายให้เข้าไป เคลียร์ สต๋อกสิ้น ที่ขาดไป กับจำนวนสินค้าในสต๋อกของแผนกบัญชี ที่ไม่ตรงกัน ประมาน 160000 บาท ซึ่งเป้น ตัวเลขไม่จิง ว่าทำไมถึงเกินมามากมายขนาดนั้น สินค้า ทำไมมัน ถึงหายไป ได้ ไม่อยากเข้าไป เคลียร์กับนายจ้าง เพราะรู้สึกไม่ประทับใจกัน (เกลียด)
แล้วสำนวนการเขียนจดหมาย เมือพ่อ แม่ อ่านที่บ้าน ทำให้รู้สึกเหมือน เรา คนโกง ยักยอก สินค้าไป อยา่งนั้น แล้วไม่เข้าใจ ว่าการกระทบยอดขายของแผนกบัญชี แผนกคลังสินค้า แผนกขาย ทำงานไม่ตรงกัน บางที่ทำงานซ้ำซ้อน กัน (ลืมบอกไป บริษัท ทำบัญชีเป้น แมนนวล /ไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ออนไลน์กระทบยอด ซึ่งยากมาก สำหรับคนที่ไม่เก่ง ตัวเลขและ เอกสารเยอะ วุ่นวาย ซ้ำซ้อน) เราทำงานก็ใหม่ กว่าจะรุ้เรือง การไหลของเอกสาร ก็ปาเข้าไป 5-6 เดือน จึงได้ลาออกจากงาน เพราะกดดัน กับ ความรับผิดชอบ พวกเพือนร่วมงาน ก็ กดดันนินทาเรา ประจบสอพลอ กับเจ้านายทุกวัน (แบบว่าเป้นคนไม่ชอบคุยกับเจ้านาย และ เจ้านาย(GM)ก็ ไม่เคยเรียกคุย หรือ ถาม แนะนำอะไรเลย ) เราเข้าไป ถามอะไรก็ โยน ให้ เป้น หน้าที่กรรมการบอร์ด ตัดสินใจ อย่าง เดียว ถามถ้าหากมีการฟ้องร้องกัน ทำอย่างไรถึงจะได้เงินคืน และ ไม่เป็นหนี้ และ ไม่อยากเสียตังคับ ถ้าฟ้องกลับคืนได้ในขอ้หาอะไรบ้าง (ผู้ใหย๋ครอบครัวเสียความรู้สึก) ถ้าทำได้มมูลค่าในการฟ้องนายจ้าง ขอยกให้แผ่นดิน ทนาย ศาล

ลา

ลา

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

13 พ.ย. 2557 21:06 #3

ตอบคำถามคุณลา
       ก่อนอื่นต้องขออภัยที่ตอบคำถามล่าช้า เนื่องจากมีภาระกิจงานคดีความเยอะครับ
       หลักกฎหมายที่เกี่ยวพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ 
          มาตรา ๙ ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงินตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง หรือไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา ๗๐ หรือค่าชดเชยตามมาตรา ๑๑๘ ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา ๑๒๐ มาตรา ๑๒๑ และมาตรา ๑๒๒ ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี”
 
          “มาตรา ๑๐ ภายใต้บังคับมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สินอื่นหรือการค้ำประกันด้วยบุคคลจากลูกจ้าง เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้นลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ ทั้งนี้ ลักษณะหรือสภาพของงานที่ให้เรียกหรือรับหลักประกันจากลูกจ้าง ตลอดจนประเภทของหลักประกัน จำนวนมูลค่าของหลักประกัน และวิธีการเก็บรักษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
          ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกัน หรือทำสัญญาประกันกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ความเสียหายที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำ เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออกหรือสัญญาประกันสิ้นอายุให้นายจ้างคืนหลักประกันพร้อมดอกเบี้ย ถ้ามี ให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลาออก หรือวันที่สัญญาประกันสิ้นอายุ แล้วแต่กรณี”
          ดังนั้น ตามคำถามคุณมีสิทธิฟ้องศาลแรงงานเพื่อให้ศาลพิจารณาพิพากษาให้นายจ้างคืนเงินค้ำประกันการทำงานได้ตามหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น โดยสามารถนำพยานหลักฐานไปขอรับคำปรึกษาที่ศาลแรงงานที่บริษัทนายจ้างมีภูมิลำเนาตั้งอยู่ หรือไปร้องเรียนที่สำนักงานคุ้มครองแรงงานจังหวัด โดยทั้งสองหน่วยงานไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ส่วนนายจ้างจะมีข้อต่อสู้อย่างไรว่าไม่ต้องคืน นายจ้างก็ต้องแสดงพยานหลักฐานเพื่อหักล้างตามกระบวนการกฎหมาย 

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

นักเรียนกฎหมาย

นักเรียนกฎหมาย

ผู้เยี่ยมชม

13 ก.พ. 2560 22:41 #4

อยากถามคุณทนยเพื่อเป็นความรู้ค่ะ
คือถ้าไปค้ำประกันในการทำงานให้คนอื่นแล้วเขากับยักยอกเงิน แล้วถูกฟ้องร้องเราจะต้องชดใช้หรือชดใช้ร่วมกันค่ะ

นักเรียนกฎหมาย

นักเรียนกฎหมาย

ผู้เยี่ยมชม

นักเรียนกฎหมาย

นักเรียนกฎหมาย

ผู้เยี่ยมชม

13 ก.พ. 2560 22:42 #5

อยากถามคุณทนยเพื่อเป็นความรู้ค่ะ
คือถ้าไปค้ำประกันในการทำงานให้คนอื่นแล้วเขากับยักยอกเงิน แล้วถูกฟ้องร้องเราจะต้องชดใช้หรือชดใช้ร่วมกันค่ะ

นักเรียนกฎหมาย

นักเรียนกฎหมาย

ผู้เยี่ยมชม

นักเรียนกฎหมาย

นักเรียนกฎหมาย

ผู้เยี่ยมชม

13 ก.พ. 2560 22:42 #6

อยากถามคุณทนยเพื่อเป็นความรู้ค่ะ
คือถ้าไปค้ำประกันในการทำงานให้คนอื่นแล้วเขากับยักยอกเงิน แล้วถูกฟ้องร้องเราจะต้องชดใช้หรือชดใช้ร่วมกันค่ะ

นักเรียนกฎหมาย

นักเรียนกฎหมาย

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

17 ก.พ. 2560 22:17 #7

ตอบคำถามนักเรียนกฎหมาย
          ดูประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681/1 ข้อตกลงใดที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ ดังนั้น ปัจจุบันหากมีการทำสัญญาหลังจาก 11 ก.พ.2558 ผู้ค้ำประกันจะไม่ใช่ลูกหนี้ร่วมอีกต่อไป หากผู้ที่ตนค้ำประกันทำผิดและเกิดความเสียหายก็ไม่ต้องชดใช้แบบลูกหนี้ร่่วม แต่ก็ยังต้องชดใช้ตามสัญญาที่ทำไว้ หากเป็นสัญญาที่ทำก่อน 11 ก.พ.2558 ก็รับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมได้

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้