ธนิส

ธนิส

ผู้เยี่ยมชม

  คดีลักทรัพย์ รบกวนด้วยครับ น้าเป็นจำเลยจะสู้คดีครับ (44564 อ่าน)

9 มี.ค. 2556 08:06


ขอคำเเนะนำจากท่านด้วยครับ


น้าสาวของข้าพเจ้า ทำงานเป็นหัวหน้าฝ่ายการเงินของบริษัทเอกชน
ช่วงสิ้นปีก่อนน้ามีปัญหาต้องใช้เงินด่วนๆ น้ายอมรับว่า
ได้ตกเเต่งตัวเลขในบัญชีของบริษัท เเละดึงเงินออกไปจำนวน 90,000บาท
ช่วงกลางเดือน ก.พ.56 ที่ผ่านมา ก็โดนจับได้ครับ
เจ้าทุกข์เรียกจำนวนเงินค่าเสียหาย 2 ล้านบาท
หลังพยายามเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อจะได้ยอมความ
ตัวเลขลดลงเหลือ 1.5 ล้านบาท เเละมีเงื่อนไข
น้าต้องคืนเงินทั้งหมดเต็มจำนวน ภายใน 1 อาทิตย์ ? ไม่เช่นนั้นจะฟ้องศาล

เจ้าทุกข์ เรียกเงินก้อนใหญ่ขนาดนั้น ตัวน้าเเละบรรดาญาติๆ ไม่มีปัญญาหามาได้ทันเวลาจริงๆ
เเต่ไม่ได้ละความพยายาม ขอให้ผู้หลักผู้ใหญ่ ช่วยเจรจาเพื่อประนีประนอม
ไม่อยากให้เป็นเรื่องขึ้นโรงขึ้นศาล ขอให้ลดจำนวนเงินลง ตามความเป็นจริง
เเละ จะขอผ่อนชำระพร้อมดอกเบี้ย
เเต่เจ้าทุกข์เขาไม่ยอมรับข้อเสนอ ไม่ขอเจรจาใดๆอีกทั้งสิ้นครับ

ปัจจุบัน เจ้าทุกข์เเจ้งความ เเต่งตั้งทนายส่งเรื่องฟ้องศาล
โดยฟ้องเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา
ตั้งข้อหาลักทรัพย์ของนายจ้าง จงใจทำลายหลักฐาน
ปลอมแปลงเอกสาร เเละอื่นๆอีกหลายกระทง
ในสำนวนฟ้องได้ทำเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ


ซึ่ง น้าของข้าพเจ้าทำผิดจริง เเต่ตกอยู่สถานะเสียเปรียบ
เเละโดนเจ้าทุกข์กลั่นเเกล้ง เอาเปรียบอย่างเสียไม่ได้
จำนวนเงินที่เจ้าทุกข์กล่าวหา มีข้อมูลเท็จ - จริงประการใด ?
เเละหลักฐานมัดตัวที่นำมาอ้าง ว่าน้าได้ทำการทุจริตเงินไป 2ล้านบาท
เอามาจากไหน ? มีที่มา ที่ไปยังไง ยังไม่มีความชัดเจนครับ
จะเป็นการสั่งสอน ที่น้าเอาเงินไป ด้วยวิธีซ้ำเติมกันหลายสิบเท่าหรืออย่างไร
น้าเองยังมีภาระติดตัว สามีเสียไปเเล้ว มีลูกเล็กๆที่ต้องเลี้ยงเเละดูเเลเพียงลำพัง
น้าจึงอยากจะสู้คดีครับ



ขอเรียนถามอาจารย์ ว่า


1. กรณีที่น้าของข้าพเจ้ารับสารภาพเเละสู้คดี มันมีโอกาสบ้างไหมครับที่ไม่ต้องติดคุก

2. หากน้าไปตามหมายเรียกเพื่อรับฟังข้อหา จะโดนควบคุมตัวและฝากขัง หรือไม่ครับ
เพราะไม่ได้มีเจตนาหนีคดี เเต่ถ้าพนักงานสอบสวนสั่งให้คุมขังน้า
จะสามารถยื่นขอประกันตัวได้หรือไม่ครับ

3. การที่น้ายอมรับผิด ทว่า ไม่เห็นด้วยกับจำนวนเงินที่เจ้าทุกข์เรียกคืน
การเขียนคำแถลงประกอบคำรับสารภาพต่อศาล จะเหมาะสมหรือไม่ครับ
ถ้าเนื้อหาบางส่วนกล่าวถึงเจ้าทุกข์ในทางปฎิเสธ เฉพาะบางเรื่อง

4.ทราบว่าในคดีอาญา เจ้าทุกข์จะเรียกร้องได้เฉพาะค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น
ถ้ามีกรณีไม่โปร่งใส การร้องขอความเป็นธรรมจากศาล สามารถกระทำได้หรือไม่ครับ

5. น้ารู้ดีว่าเอกสารหลักฐานบางอย่าง ที่เจ้าทุกข์ยกมาอ้างนั้น
เป็นหลักฐานเท็จ ที่เจ้าทุกข์จัดทำขึ้นเอง ปลอมแปลงขึ้นมาโดยเฉพาะ
ซึ่ง มีเจตนายัดเยียดข้อหาเพื่อปรักปรำน้า เเละ ทำให้รูปคดีมีน้ำหนักมากขึ้น
กรณีนี้ จะสามารถอ้างต่อศาล เพื่อทำการตรวจสอบหลักฐานได้ไหมครับ
( ถ้าได้ จะมีผลต่อการ ลดผ่อนโทษหรือไม่ครับ )

6. หากน้าให้การรับสารภาพ (เป็นความผิดครั้งเเรก ไม่เคยมีคดีติดตัว )
เเละ ถ้าผลตัดสินคือกระทำความผิดจริง ศาลชั้นต้นจะสั่งจำคุกทันทีหรือเปล่าครับ ?
ถ้าศาลชั้นต้น ตัดสินขาดว่าต้องจำคุก สามารถยื่นอุทรณ์ต่อได้หรือไม่ครับ


7. การอุทรณ์ ที่จำเลยทำผิด เป็นไปได้ไหม ที่ศาลจะลดโทษเเละพิจารณาให้รอลงอาญา
มีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกประมาณเท่าไรครับ ?


8. เมื่อสู้คดีถึงที่สุดแล้วจริงๆ หากศาลพิพากษาตัดสินเด็ดขาด ให้ทั้งจำทั้งปรับ โดยไม่รอลงอาญา
น้ายังมีสิทธิ์ มีความหวัง ในการยื่นขอประกันตัวได้อีกหรือไม่ครับ ?
ถ้าประกันตัวไม่ได้เเล้ว ตัวน้าจะถูกควบคุมตัวในฐานะนักโทษเเละต้องจำคุกสถานเดียวใช่ไหมครับ



ตอนนี้น้าวิตกกังวล เครียดมากๆ เหมือนคนมืดแปดด้าน


ขอความกรุณา ช่วยชี้เเนะ เป็นเเนวทางด้วยครับ
ขอบคุณมากๆครับ

ธนิส

ธนิส

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

9 มี.ค. 2556 23:51 #1


ตอบคำถามคุณธนิสดังนี้
        1. เมื่อทำผิดก็ต้องรับสารภาพตามที่ได้กระทำผิดจริง ส่วนที่เกินกว่านั้น ต้องหาพยานหลักฐานมาหักล้าง แต่กรณีจะมีโอกาสที่ไม่ต้องติดคุก อันนี้ตอบไม่ได้แน่นอนครับ เพราะการที่ศาลจะตัดสินลงโทษผู้ใดนั้น กฎหมายบังคับว่าต้องปราศจากข้อสงสัยว่ามีการกระทำความผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น ห้ามพิพากษาลงโทษโดยยังมีข้อสงสัยอยู่ หากมีความสงสัยกฎหมายให้ยกประโยชน์นั้นแก่จำเลย นอกจากนี้ ก็ต้องฟังความทั้งสองฝ่าย กรณีนี้หากพยานหลักฐานโจทก์หนักแน่น จำเลยไม่สามารถหักล้างได้ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำคุกแน่นอน ส่วนจะเป็นเท่าใด หรือจะรอการลงโทษหรือไม่นั้น เป็นดุลพินิจของศาล ซึ่งขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งคดีครับ
          2. หากไปตามหมายเรียกเพื่อรับฟังข้อหา ให้สอบถามพนักงานสอบสวนให้ชัดเจนไปเลยเพื่อจะได้เตรียมตัวและหลักประกันไปให้ถูกต้อง เพราะเป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ต้องถามผู้ใช้ดุลพินิจนั้นโดยตรง แต่คดีนี้สามารถประกันตัวได้อยู่แล้วทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นศาล
           3. สามารถทำได้อยู่แล้วครับ เรียกว่ารับสารภาพเฉพาะส่วนที่ทำผิด ปฏิเสธส่วนที่ไม่ผิด ซึ่งหากมีพยานหลักฐานยืนยันก็จะดีมาก ไม่ใช่แค่คำพูดลอย ๆ ไม่มีพยานหลักฐานมาสนับสนุน มิฉะนั้น ย่อมมีน้ำหนักให้รับฟังน้อย คดีอาญาเป็นเรื่องพยานหลักฐาน 
          4.คดีนี้ เมื่อพนักงานอัยการฟ้องศาลจะมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยคืนเงินที่เอาไปเท่านั้น ผู้เสียหายไม่สามารถขอเพิ่มดอกเบี้ยหรือค่าเสียหายอย่างอื่นเข้าไปด้วยได้ แต่ยอดที่พนักงานอัยการขอให้ผู้เสียหายนั้น ย่อมมาจากชั้นพนักงานสอบสวน แต่จะเป็นยอดเงินที่ได้เอาไปจริงหรือไม่ จำเลยสามารถให้การปฏิเสธในชั้นศาลได้อยู่แล้ว หากมีพยานหลักฐานหักล้างได้ ศาลย่อมพิพากษาให้คืนตามความจริงครับ
          5. การเงินของบริษัทนั้น ย่อมมีที่มาที่ไปชัดเจนอยู่แล้วว่าบริษัทมีรายได้ในช่วงที่ทำผิดเท่าใด หายไปเท่าใด ซึ่งน้าคุณย่อมทราบดีเพราะทุกอย่างต้องมีเอกสารหลักฐานยืนยันที่มาของเงินรายได้จากแหล่งใด หรือใคร  และส่วนที่หายไป น้าคุณบอกว่าเอาไปแค่เก้าหมื่น แต่กลายเป็นสองล้าน ตัวเลขมันห่างกันมาก ตามที่บอกเสมอว่าต้องหาพยานหลักฐานเพื่อยืนยันและหักล้าง เพราะสิ่งที่คุณคิดจะทำนั้น สามารถทำได้อยู่แล้วตามสิทธิของจำเลย  หากทำได้จะเป็นผลให้คดีเปลี่ยนแปลงไป โทษที่หนักอาจจะเบาลงและศาลอาจรอการลงโทษได้ 
          6. แม้จะเป็นความผิดครั้งแรก หากยอดเงินที่เอาไปสูงศาลย่อมลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงอาญา ต้องติดคุกทันทีในวันฟังคำพิพากษา แต่สามารถประกันตัวเพื่อใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ ซึ่งหมายความว่า ต้องสืบพยานหลักฐานทุกอย่างทั้งหมดในศาลชั้นต้นแล้ว เพราะศาลอุทธรณ์จะไม่มีการสืบพยานกันอีก เพียงแต่ศาลอุทธรณ์นำคดีมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งเท่านั้น 
          7. การยื่นอุทธรณ์ เป็นไปได้ที่ศาลอาจพิพากษากลับให้ยกฟ้อง หรือให้ลงโทษ หรือแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้น หรืออาจลดโทษ หรือให้รอลงอาญาได้อยู่แล้ว ส่วนจะมีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าใด ต้องคุยกับทนายความที่จะจ้างให้ทำคดีครับ ว่าค่าจ้างที่ตกลงกันนั้นคิดถึงชั้นศาลใด ถามทนายคนอื่นก็ตอบแทนไม่ได้   
         8. เมื่อศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ตัดสินแล้ว ไม่มีการอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันฟังคำพิพากษา ถือว่าคดีถึงที่สุดทันที  หรือเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว ถือว่าคดีถึงที่สุดทันที ต้องถูกควบคุมตัวไปลงโทษจำคุกทันทีเช่นกัน แบบนี้จะหมดสิทธิ์ที่จะทำอะไรได้ ต้องรับโทษสถานเดียว ไม่มีการฎีกงฎีกาอะไรอีก ไม่มีการประกันอะไรทั้งสิ้น รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาเลยครับ
            การต่อสู้คดีอาญานั้น ต้องดูพยานหลักฐานฝ่ายโจทก์ก่อนว่ามีอะไรบ้าง รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยหรือไม่ หากพยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้หรือมีข้อสงสัย ศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง โดยไม่ต้องดูหลักฐานของจำเลย แต่หากรับฟังได้ก็จะพิจารณาหลักฐานของฝ่ายจำเลยว่าจะสามารถหักล้างได้หรือไม่ มิใช่ว่า ต่อสู้คดีแค่ว่า ไม่ได้ทำผิด หรือทำผิด แต่ไม่เป็นไปตามที่ถูกกล่าวหา แต่ไม่มีพยานหลักฐานยืนยันหรือหักล้าง ย่อมมีน้ำหนักให้ศาลรับฟังน้อย

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

ธนิส

ธนิส

ผู้เยี่ยมชม

10 มี.ค. 2556 01:12 #2


ขอกราบขอบพระคุณ อาจารย์ภูวรินทร์ ครับ

ที่ท่าน ได้เมตตา กรุณาเสียสละเวลาอันมีค่า
ช่วยตอบคำถาม ตลอดจนชี้เเจง เเนะนำเเนวทางที่ควรจะดำเนินการต่อไป
ซาบซึ้งเเละประทับใจมากครับ ท่านเป็นที่พึ่ง ในใจของผู้ที่กำลังทุกข์ยาก ซึ่งข้าพเจ้าก็เป็นหนึ่งในนั้น

ข้าพเจ้าเเละครอบครัว
ขออํานาจคุณพระศรีรัตนตรัย จงคุ้มครองรักษาท่านให้ปลอดภัย จากภัยอันตรายใดๆทั้งปวง
เเละ จงดลบันดาลให้ท่านมีสุขภาพเเข็งเเรงตลอดไปครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง
ธนิส

ธนิส

ธนิส

ผู้เยี่ยมชม

อภิพรรณ เฮ้งมีสุข

อภิพรรณ เฮ้งมีสุข

ผู้เยี่ยมชม

18 มิ.ย. 2557 18:30 #3

ดิฉันได้ถูกแจ้งข้อหาลักทรัพย์ชึ่งทรัพย์เป็นจดหมาย 3 ครั้ง ดิฉันอยากทราบว่า จะมีโทษอย่างไร และดิฉันยังไม่เคยต้องโทษ ถ้าขึ้นศาลแล้วรับสารภาพ ดิฉันจะต้องได้รับเท่าไร เพราะคู่กรณีเรียกค่ายอมความแพงมาก ขอขอบพระคุณมากค่ะ

อภิพรรณ เฮ้งมีสุข

อภิพรรณ เฮ้งมีสุข

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

21 มิ.ย. 2557 23:37 #4

ตอบคำถามคุณอภิพรรณ เฮ้งมีสุข
         ความผิดทางอาญาข้อหาลักทรัพย์นั้น มีหลายลักษณะด้วยกัน เช่น ลักทรัพย์ทั่วไปก็มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หากเป็นการลักทรัพย์ในเวลากลางคืน หรือลักทรัพย์นายจ้าง ก็มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี 
         ส่วนกรณีไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือการรับสารภาพนั้น ไม่ใช่จะได้รับโทษจำคุกน้อยลง หรือศาลจะรอการลงโทษทุกกรณีเสมอไป เพราะหากถูกจับได้พร้อมพยานหลักฐาน บางคดีศาลก็มองว่าเป็นการรับสารภาพเพราะจำนนต่อหลักฐาน หรือพฤติกาณ์ลักทรัพย์เป็นเรื่องร้ายแรงหรืออุกฉกรรย์ ศาลไม่ลดโทษให้ก็มี แต่คดีทั่วไปหากจำเลยรับสารภาพ และชดใช้เงินคืนผู้เสียหาย ศาลก็ลดโทษให้กึ่งหนึ่งของโทษที่จะลง และหากโทษที่ลงไม่เกินสามปี ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะรอลงอาญาไว้ก่อนได้ ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนมีหมายเรียกมาแล้วหลายครั้ง ย่อมมีอำนาจขอให้ศาลออกหมายจับได้ คุณควรมอบตัวและเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม จะได้ไม่ต้องหลบหนีคดีอาญาต่อไป
 

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ผู้สำนึกผิด

ผู้สำนึกผิด

ผู้เยี่ยมชม

6 ธ.ค. 2557 18:44 #5

ผมโดนข้อหาลักทรัพย์เวลากลางคืน ซึ่งหลังจากตำรวจได้คุมตัว ผมได้รับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา และได้คืนทรัพย์สินและของกลางแล้ว ส่วนของบางส่วนที่หาคืนไม่ได้ เนื่องจากได้ส่งไปหาผู้เสียหายทางไปรษณีย์แต่ไม่ถึง ผมจะตกลงกับผู้เสียหายว่าจะชดใช้เป็นเงิน และจะทำหนังสือประนีประนอมยอมความระหว่างกัน แนบไปกับถ้อยแถลงต่อศาลที่ได้ร่างไว้

กรณีนี้ถ้าขึ้นศาลจะมีโอกาสรอลงอาญาหรือไม่ และถ้ากรณีนี้ไม่มีทนายว่าความจะเป็นผลเสียต่อผมหรือไม่ครับ เนื่องจากได้เสียหลักทรัพย์ไปมากในขั้นตอนการประกันตัวเองต่อตำรวจแล้ว

ผู้สำนึกผิด

ผู้สำนึกผิด

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

10 ธ.ค. 2557 13:54 #6

ตอบคำถามผู้สำนึกผิด
            ข้อหาลักทรัพย์ในเวลากลางคืน กฎหมายระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หากพฤติการณ์แห่งคดีมีการคืนทรัพย์สินที่ลักไปแก่ผู้เสียหาย หรือมีการชดใช้ราคากันแล้ว (ย้ำนะว่าต้องชดใช้เงินแล้ว ไม่ใช่...จะ...ชดใช้) และผู้เสียหายทำบันทึกหลักฐานว่าไม่ติดใจดำเนินคดี จะทำให้ศาลใช้ดุลพินิจลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษไว้ก่อนได้ครับ
           เมื่อคดีมีการฟ้องศาลในวันที่พนักงานอัยการยื่นฟ้อง ให้ปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดไปก่อน เพราะหากรับสารภาพเลย ศาลจะพิพากษาลงโทษจำคุกทันทีโดยไม่มีข้อเท็จจริงเรื่องการตกลงกับผู้เสียหายในสำนวนให้ศาลอ่าน ดังนั้น เมื่อปฏิเสธแล้ว ศาลจะนัดวันสอบคำให้การอีกครั้ง ซึ่งนัดนี้ควรแถลงขอให้ศาลช่วยจัดหาทนายขอแรงเพื่อช่วยเหลือในการดำเนินคดีได้ และทำคำร้องยื่นศาลแถลงเกี่ยวกับการตกลงกับผู้เสียหาย หรือส่งหลักฐานการชำระเงินต่อศาล และขอให้ศาลสืบเสาะประกอบการพิจารณาคดีด้วย 
          การปฏิเสธต่อสู้คดีก็ต้องประกันตัวเหมือนเดิม โดยสามารถใช้หลักทรัพย์เดิมที่ประกันในชั้นตำรวจมาเป็นหลักประกันในชั้นศาลได้ 
          หากคดีมีข้อเท็จจริงเรื่องการชดใช้ค่าเสียหาย ศาลย่อมใช้ประกอบเป็นดุลพินิจในการลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษได้

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

อยากได้โอกาส

อยากได้โอกาส

ผู้เยี่ยมชม

26 ธ.ค. 2557 02:07 #7

แฟนทำงานอยู่สหกรณ์แห่งหนึ่งเป็นพนักงานการตลาดทางนายจ้างมอบหมายให้ดูแลทำหน้าที่ดูแลปั้มน้ำมันและคอยเก็บเงินส่งบัญชีคือวันนี้ขายน้ำมันได้50000บาทแต่แฟนนำเงินส่งไม่หมดนำเงินออกมาใช้ส่วนตัวประมาณ20000บาทส่งบัญชีแค่สามหมื่นบาททำแบบนี้มาจนยอดเงินมันสูงถึง1.5ล้านบาทแต่ทางสหกรณ์เค้าแจ้งความเป็นคดีลักทรัพย์นายจ้าง แต่ถามใครหลายคนเค้าบอกเป็นคดียักยอกทรัพย์มากกว่า หนูอยากทราบว่ามันเข้าข่ายคดีอะไรกันแน่และถ้าเป็นลักทรัพย์นายจ้างจริงแฟนทำทั้งหมด50กว่ากรรมจะติดคุกกี่ปี

อยากได้โอกาส

อยากได้โอกาส

ผู้เยี่ยมชม

ณิชา

ณิชา

ผู้เยี่ยมชม

19 ม.ค. 2558 21:59 #8

แฟนโดนหมายจับคดีลักทรัพย์ค่ะโดยเจ้าทุกข์แจ้งควา เมื่อปี55 เป็นการลักทรัพย์รถยนต์เป็นรถของแฟนเก่าที่อยู่กินกันโดยแต่งงานไม่ได้จดทะเบียน เเม่ยายเป็นคนแจ้งความ แต่แฟนก็ได้นำไปคืนเรียบร้อยแล้วเจ้าทุกข์ก็ได้แจ้งกับร้อยเวรเเล้วว่าได้ของคืนและไม่ติดใจเอาความ แฟนไม่มีคดีติดมาก่อน ปัจจุบันมีแฟนใหม่(ตัวดิฉันค่ะ) เเละ พึ่งมาโดนจับไปเมื่อ19ม.ค58 แฟนรับสารภาพ นำตัวขึ้นศาลตัดสินพรุ่งนี้ อยากทราบว่าเเฟนจะได้รับการรอลงอาญาไหม ปล.รถคันดังกล่าวแฟนใช้ร่วมกันกับแฟนเก่าตอนยังอยู่กินด้วยกัน โดนช่วยกันส่งแต่แฟนขอให้แม่ยายเป็นคนดาว์นให้ค่ะ

ณิชา

ณิชา

ผู้เยี่ยมชม

ณิชา

ณิชา

ผู้เยี่ยมชม

19 ม.ค. 2558 21:59 #9

แฟนโดนหมายจับคดีลักทรัพย์ค่ะโดยเจ้าทุกข์แจ้งควา เมื่อปี55 เป็นการลักทรัพย์รถยนต์เป็นรถของแฟนเก่าที่อยู่กินกันโดยแต่งงานไม่ได้จดทะเบียน เเม่ยายเป็นคนแจ้งความ แต่แฟนก็ได้นำไปคืนเรียบร้อยแล้วเจ้าทุกข์ก็ได้แจ้งกับร้อยเวรเเล้วว่าได้ของคืนและไม่ติดใจเอาความ แฟนไม่มีคดีติดมาก่อน ปัจจุบันมีแฟนใหม่(ตัวดิฉันค่ะ) เเละ พึ่งมาโดนจับไปเมื่อ19ม.ค58 แฟนรับสารภาพ นำตัวขึ้นศาลตัดสินพรุ่งนี้ อยากทราบว่าเเฟนจะได้รับการรอลงอาญาไหม ปล.รถคันดังกล่าวแฟนใช้ร่วมกันกับแฟนเก่าตอนยังอยู่กินด้วยกัน โดนช่วยกันส่งแต่แฟนขอให้แม่ยายเป็นคนดาว์นให้ค่ะ

ณิชา

ณิชา

ผู้เยี่ยมชม

อัต

อัต

ผู้เยี่ยมชม

28 ม.ค. 2558 23:52 #10

สวัสดีค่ะ
คือพ่อถูกบริษัทหนึ่งซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับก่อสร้างประปานครหลวงฟ้องศาลว่าพ่อลักทรัพย์ขิงทางบริษัทไปเป็นท่อpvcจำนวน15ท่อนและอื่นๆอีกมากมายรวมเป็นเงิน99,487บาท โดยที่พ่อไม่ได้เป็นคนเอาไปเลย..เราจะสามารถฟ้องกับได้ไหมค่ะ

อัต

อัต

ผู้เยี่ยมชม

somnuk

somnuk

ผู้เยี่ยมชม

4 ก.พ. 2558 01:08 #11

ขอรบกวนถามนะคับ
ผมถูกจับคดี ร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจรในเวลากลางวัน ปี 2552 ตอนนั้นตำรวจปล่อยตัวผม ประมาณว่ากันตัวเป็นพยาน คู่คดีอีกสองคนติดคุกไม่รู้ว่าสู้คดีหรือรับสารภาพ เพราะเรื่ิองเกิด ปี 2552แต่ผมพึ่งถูกจับตอน กลางปี 57 โดนหมายจับครับ เห็นว่ามีหมายเรียกแต่ผมไม่เคยได้รับ อาจเพราะว่าผมย้ายที่ทำงาน ย้ายกลับบ้านเกิด. หมายเรียกไปไม่ถูก ไม่รู้ส่งไปที่ไหน ทั่งหมด 3 สามฉบับ แต่ตำรวจก็เจอ ตร.โชว์หมายให้ดูก่อนจะควบคุมตัวผม ตร.อธิบายถึงเหตุผลที่ต้องจับกุมตัว เพราะว่าผมไม่ไปตามหมายเรียก ศาลก็เลยออกหมายจับ
คดีร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร ปี2552 ทั้งหมดมีสามคน สองคนถูกตัดสินจำคุก 2 ปีไม่ต้องรอลงอาญาแต่ตัวผม ปฎิเสธในส่วนของคดีลักทรัพย์ โดยผมต้องจำยอม สารภาพรับของโจร เพราะว่า หนึ่งใน สองคนที่ถูกดำเนินคดีไปก่อนนั้น. ใช้บัตรประจำตัวของผมไปจำนำของดังกล่าว ผมมารู้ที่หลังเพราะเห็นตั้วจำนำ ตอนปี.52 ที่ถูกจับ ของที่จำนำนั้น ผมได้นำกลับมาคืนให้กับผู้เสียหายที่ 1 เรียบร้อย
แต่ผู้เสียหายที่1 บอกว่าของยังไม่ครบ คือขาดพวกสายไฟ กระเป๋า สรุปคือไม่ครบ ก็เลยขอเพิ่มอีก
5000 บาท ชึ่งเงินจำนวนดังกล่าวผมวางไว้ที่ศาลแล้ว
ผู้เสียหายที่ 2 เรียกค่าเสียหายหรือเงินเยียวยา ไว้จำนวน 35000 บาท โดยผู้เสียหายรายนี้ ผมไม่เคยคุยกัน ตอนที่จับ ปี. 52 ก็ไม่มีบันทึกปากคำของผม หลังจากเครียร์กับผู้เสียหายที่ 1 เสร็จ ผมก็กลับบ้านทันที่ แต่ในไปคำฟ้องของพนักงานอัยการ ฟ้องจำเลย 3 คน โดยมี่ผู้ เสียหาย 2 คน คดีผมได้นำเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย สมานฉันท์ ศาลเห็นต้องวางเงินเยียวยาให้กับผู้เสียหาย โดยมูลค่าเงิน ให้คิดตาม ความสำนึกผิดของจำเลย ผมวางเงินไว้ 10,000.ครับ
พอถึงวันตัดสินคดี 29 มกรา 58 รอจนบ่ายผู้เสียหายทั่ง 2 คนไม่ได้มาตามหมายเรียก ผู้เสียหายทีื 1 เช็นรับห.ายด้วยตนเอง ผู้เสียหายรายที่ 2 มีผู้เช็นรับแทน แต่ไม่มีใครมา ศาลจึงให้
เลื่อนว้นออกไป วันที่ 12 กุมภา 58 ที่กำลังจะมาถึง โดยออกหมายเรียกผู้เสียหาย อีก โดยผมต้องเอาหมายไปส่ง และพูดให้ผู้เสียหาย มาขึ้นศาลให้ได้ เนื่องจากในขั้นตอนสอดส่อง สืบเสาะ คำให้การของผูัเสียหายที่1 เป็นประโยชย์กับตัวผม ปัญหาก็เลย อยู่ที่ผู้เสียหายที่ 2 ชึ่งตั้งแต่ปี 52 ผูเสียหายไม่เคยมาติดต่อที่ศาลเลย
ผมก็เลยมีคำถาม ยากจะรบกวสครับคือว่า ถ้าเราติดต่อผู้เสียหายไม่ได้จะเป็นไงครับ
และอีกกรณี ถ้าผู้เสียหายไม่พอใจเงินเยียวยาที่ผมวางไว้ ชึ่งผมคิดเองนะครับตัวผมเองไม่ได้ขโมย แต่ต้องมาร้บผิดชอบร่วม เหมือนคำฟ้อง การวางเงินเยียวยากฺน่าจะต้องรับผิดชอบร่วมกันหมด ไม่ทสราบว่าผมคิดถูกมั้ยครับ.......
รบกวนตอบด้วยครับ. .คดีตัดสิน 12.กุมภาพันธ์ 2558

somnuk

somnuk

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

5 ก.พ. 2558 21:45 #12

ตอบคำถามคุณอัต
            การที่พ่อถูกแจ้งความหรือถูกดำเนินคดีอาญาข้อหาลักทรัพย์นั้น พ่อมีสิทธิขอให้ศาลหาทนายความเพื่อต่อสู้คดีว่าไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกฟ้องได้ หากผลของคดีปรากฏว่าพ่อไม่ได้กระทำผิด พ่อย่อมมีสิทธิฟ้องกลับผู้เสียหายได้ และยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย รวมทั้งไปเรียกร้องค่าเสียหายที่กระทรวงยุติธรรมได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายอีกด้วยครับ ตอนนี้อย่าเพิ่งไปคิดถึงค่าเสียหายที่จะฟ้องกลับหรือจะเรียกร้อง หรือจะฟ้องกลับบริษัทนั้น แต่ต้องตั้งใจต่อสู้คดีเพื่อให้หลุดพ้นจากข้อกล่าวหาเสียก่อน ผลของคดีออกมาอย่างไรก็ค่อยว่ากันครับ
 

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

5 ก.พ. 2558 22:03 #13

ตอบคำถามคุณ somnuk 
          คดีตัวการร่วมกันกระทำความผิดนั้น กฎหมายกำหนดให้ผู้กระทำผิดร่วมกันต้องมีความผิดด้วยกันและรับโทษเหมือนกัน เช่น คดีทำร้ายผู้อื่นถึงตาย คนหนึ่งทำร้าย อีกคนจับตัวเพื่อให้คนแรกทำร้าย คนที่สามยืนเฉย ๆ แต่พูดว่าเอาเลยฆ่ามันให้ตาย กฎหมายถือว่ากระทำผิดร่วมกันต้องรับโทษเท่ากัน ไม่ว่าใครจะเป็นคนฆ่าหรือทำร้าย คนที่สามไม่ได้ลงมือทำร้ายแต่ก็อยู่ที่เกิดเหตุ มีเจตนาร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ก็ต้องรับโทษเหมือนกัน ฉันใด คดีของคุณก็ฉันนั้น หากสู้คดีไม่มีทางรอดเพราะพยานหลักฐานแน่นหนา ไม่ว่าจะทำผิดจริงหรือไม่ แต่พยานหลักฐานเชื่อมโยงมาถึงตัว สู้คดีไปก็ไม่หลุด ทางออกที่ดีที่สุดก็คือการรับสารภาพและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งการกระทำผิด
          การที่คุณชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหายที่ 1 และมีการวางเงินแก่ผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายจะไม่มาศาลตามหมายเรียก กรณีดังกล่าวก็ถือว่ามีเหตุบรรเทาโทษ เมื่อประกอบกับคำรับสารภาพแล้ว ศาลจะลดโทษให้กึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงตาม ป.อ.มาตรา 78 และศาลอาจเมตตารอการลงอาญา หรือรอการลงโทษไว้ก่อนตามมาตรา 56 ได้ หากศาลจำคุกโดยไม่รอลงอาญาก็สามารถประกันตัวแล้วอุทธรณ์คำพิพากษาได้
          ประมวลกฎหมายอาญา
          มาตรา 78 เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษ ไม่ว่าจะได้มีการเพิ่มหรือการลดโทษตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมาย อื่นแล้วหรือไม่ ถ้าศาลเห็นสมควร จะลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษ ที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้
          เหตุบรรเทาโทษนั้น ได้แก่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้โฉดเขลาเบา ปัญญาตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีคุณความดีมาแต่ก่อน รู้สึก ความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น ลุแก่โทษต่อ เจ้าพนักงานหรือให้ความรู้แก่ศาล อันเป็นผลประโยชนแก่การพิจารณา หรือเหตุอื่นที่ศาลเห็นว่ามีลักษณะทำนองเดียวกัน 
          มาตรา 56 ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามปี ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อนหรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ เมื่อศาลได้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรมสุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัยอาชีพและสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือเหตุอื่นอันควรปราณีแล้ว เห็นเป็นการสมควรศาลจะพิพากษาว่า ผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้ หรือกำหนดโทษแต่รอการ ลงโทษไว้ แล้วปล่อยตัวไปเพื่อให้โอกาสผู้นั้นกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

somnuk

somnuk

ผู้เยี่ยมชม

9 ก.พ. 2558 09:28 #14

ขอบคุณครับ สำหรับคำตอบ
ถามอีกข้อ นะครับ ถ้าศาลตัดสินจำคุกโดยไม่รออลงอาญา การจ้างทนายเพื่อสู้คดีต้องมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทนาย มากน้อยประมาณไหนครับ

somnuk

somnuk

ผู้เยี่ยมชม

somnuk

somnuk

ผู้เยี่ยมชม

9 ก.พ. 2558 09:28 #15

ขอบคุณครับ สำหรับคำตอบ
ถามอีกข้อ นะครับ ถ้าศาลตัดสินจำคุกโดยไม่รออลงอาญา การจ้างทนายเพื่อสู้คดีต้องมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทนาย มากน้อยประมาณไหนครับ

somnuk

somnuk

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

14 ก.พ. 2558 20:49 #16

ตอบคำถามคุณ somnuk 
          เรื่องค่าจ้างทนายความนั้น ไม่สามารถตอบได้ครับ เพราะไม่มีราคากลางที่เป็นมาตรฐาน และทนายแต่ละคนย่อมเรียกค่าทนายไม่เหมือนกันแม้จะเป็นคดีประเภทเดียวกันก็ตาม ดังนั้น จึงต้องสอบถามกับทนายที่จะว่าจ้างเองครับ และต้องเป็นทนายที่จะจ้างจริง ๆ หรือในพื้นที่ที่คดีเกิดขึ้นด้วย เพราะหากใช้ทนายต่างจังหวัดก็ต้องสูงกว่าในจังหวัดครับ

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ตา

ตา

ผู้เยี่ยมชม

3 มี.ค. 2558 22:14 #17

คือแฟนของหนูโดนคีดลักทัรพย์เวลากลางคืนค่ะศาลชั้นต้นตัดสิ้น3ปี6เดือนแต่รับและเจ้าทุกข์ไม่เอาความและชดใช้ค่าเสียหายแล้วศาลเลยลดเหลือ1ปี6เดือนค่ะเลยประกันตัวมายื่นอุทรค่ะตอนนี้ศาลอุทรได้เรียกแล้วจะมีสิทธิ์หลุดประค่ะเพราะแฟนหนูไม่ดคยต้องโทษมาก่อนด้วยค่ะ

ตา

ตา

ผู้เยี่ยมชม

จ.ส.ต.เดชฤทธิ์  ทองงาม

จ.ส.ต.เดชฤทธิ์ ทองงาม

ผู้เยี่ยมชม

13 มี.ค. 2558 03:49 #18

สวัสดีครับ กระผม จ.ส.ต.เดชฤทธิ์ ทองงาม ตำแหน่ง ผบ.หมู่ กกงตชด.43 ปฏิบัติหน้าที่ หน่วยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 43 (4อำเภอ จังหวัดสงขลา) ต้องหาคดีอาญา ความผิดฐานลักทรัพย์ของ(ู้อื่นในเวลากลางคืนและทำอันตรายสิ่งกีดกั้น(ข้อหาตาม พงส.แจ้ง)กระผมปฏิเสธ(ไม่ได้ทำเป็นแพะรับบาป ถูกกลั่นแกล้ง) ศาลชั้นต้นพิพากษาลักกระเป๋าสตางค์ที่ผู้เสียหายอ้างว่าของตนหาย 1 ปี และที่กล่าวหาว่ากระผมนำบัตร ATM ไปกดตังค์ 3 เดือน รวม 1ปี3เดือน...กระผมอุธรณ์(ปฏิเสธ)ศาลอุธรณ์พิพากษายกฟ้องลักที่เกิดเหตุ เนื่องจากไม่มีร่องรอยใดๆตามที่โจทก์อ้าง(เรื่องนี้กลั่นแกล้ง)แต่พิพากษาเพิ่มโทษเอาบัตร ATM ไปกดตังจาก3เดือน เป็น1ปี...กระผมยื่นฎีกา และร้องขอให้ พงส.กองปราบปราม นำภาพจากกล้อง CCTV ของทางธนาคารซึ่งอยู่ในสำนวนแล้วนั้นส่งพิสูจน์ ปรากฏว่าไม่สามารถระบุได้ว่ามีความเหมือนใบหน้ากระผมตามที่ผู้เสียหายกล่าวอ้าง กระผมจึงนำส่งศาลฎีกาประกอบการพิจารณา.....ขอถามท่านว่ากระผมมีโอกาสรอดพ้นจากคุกมั้ยครับ...ขอขอบพระคุณครับ
ในคดีนี้กระผมเคยเข้าร้องทุกข์ขอความเป็นธรรม กับท่านทนายสงกรานต์ อัจฉริยะทรัพย์ ประธานเครือข่ายต่อต้านบ่อนทำลาย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แล้วครับ ออกสื่อในช่วงเดือน พฤษภาฯ2557 ครับ

จ.ส.ต.เดชฤทธิ์  ทองงาม

จ.ส.ต.เดชฤทธิ์ ทองงาม

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

13 มี.ค. 2558 23:56 #19

ตอบคำถามคุณตา
       การที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้รอลงอาญา หรือให้คดีหลุดคือยกฟ้องไม่มีความผิดไปเลยนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานที่นำสืบในคดีดังกล่าวทั้งหมด และขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลครับ คนอื่น ไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้แน่นอน 100% เรื่องนี้ศาลจำคุกแค่ 1ปี 6 เดือน ไม่เคยต้องโทษอาญามาก่อน ซึ่งอยู่ในเงื่อนไขที่จะรอลงอาญาได้ตามกฎหมายอยู่แล้ว แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ และรอฟังคำพิพากษาศาลอย่างเดียวเท่านั้น 

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

14 มี.ค. 2558 00:00 #20

ตอบคำถุาม จ.ส.ต.เดชฤทธิ์ ทองงาม 
   กรณีตามคำถามหากมีข้อเท็จจริงประกอบพยานหลักฐานที่ไม่สามารถระบุได้ว่ามีความเหมือนใบหน้าจำเลยตามที่ผู้เสียหายกล่าวอ้าง คดีจะมีทางหลุดพ้นก็มีเพียงทางเดียวคือ คดีมีความสงสัยว่าจำเลยจะเป็นผู้กระทำความผิดนั้นหรือไม่ กฎหมายให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยเท่านั้นครับ ซึ่งศาลก็ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบในคดี ผมจึงตอบได้แค่ว่า หากจะหลุดพ้นคดีก็มีเพียงเงื่อนไขนั้นประการเดียว หวังว่าจะโชคดี และขอให้หลุดพ้นจากข้อกล่าวหานะครับ

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้