สมชาย สงวนวงศ์

สมชาย สงวนวงศ์

ผู้เยี่ยมชม

  งานน้อย เงินเดือนมาก บริษัทขาดทุน ถูกกดดันทำไงดีครับ (5982 อ่าน)

21 มี.ค. 2556 04:31

ขออนุญาตปรึกษาเรื่องการถูกบีบให้ออกจากงานครับ

ตำแหน่งงานที่ทำอยู่เมื่อก่อนงานเยอะมาก ทำงานมานานเกิน 6 ปี สองสามปีให้หลังแทบไม่มีงานให้ทำเลย
บริษัทก็ขาดทุน (กำไร) เรื่อยมา พนักงานก็เข้า ๆ ออก ๆ กันเป็นว่าเล่น วันดีคืนดีถูกเรียกให้เข้าไปพบ
บังคับให้เซ็นในหนังสือตักเตือนว่าไม่เชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา ผิดนัดลูกค้า ซึ่งได้แย้งไปว่าก็เป็นกันทุกคน
ใครไม่เคยโต้เถียงกับหัวหน้า (เรื่องงาน) ไปพบลูกค้าสายเล็กน้อย สองมาตราฐานหรือเปล่า
ทำไมโดนคนเดียว ทาง HR ก็เงียบไปไม่เถียง แต่ก็ยอมรับว่าเราก็เป็นจริง ซึ่งเคยมีการพูดคุยกันแล้ว
และมีพยานรู้เห็น แต่สุดท้ายก็ออกเป็นหนังสือตักเตือนซ้ำเรื่องเดิม ก็ยอมเซ็นด้วยความจำใจ

คำถามครับ
1. หนังสือตักเตือนนี้สมเหตุสมผลที่จะเป็นหนังสือตักเตือนไหมครับ
2. หนังสือตักเตือนฉบับที่ 2 จำเป็นต้องเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ครับ กลัวจับยัดข้อหาอื่นอีก
3. ด้วยข้อหาเดิม เช่นเข้าประชุมสาย ขาดประชุม แต่ก็มาทำงานตามปกตินั้น ถือเป็นข้อหาร้ายแรงหรือไม่ครับ
4. ถ้าโดนเรียกอีกจะด้วยข้อหาอะไร ผมควรทำอย่างไรครับ เช่นไม่เซ็นอะไรทั้งสิ้น หรือยอมเซ็นไป
โต้แย้งตามความเป็นจริงก็คงไม่เป็นผล

ผมควรจะสู้เพื่อความถูกต้องโดยยอมให้เขาเลิกจ้างแบบไม่ยุติธรรม แล้วไปฟ้องเอา หรือว่าลาออกไปหางานใหม่ ให้เขาหัวเราะเยาะดีครับ

ขอบคุณครับ

สมชาย สงวนวงศ์

สมชาย สงวนวงศ์

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

21 มี.ค. 2556 13:16 #1


ตอบคำถามดังนี้
1. หนังสือตักเตือนนี้สมเหตุสมผลที่จะเป็นหนังสือตักเตือนไหมครับ
        ตอบ การไม่เชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา และผิดนัดลูกค้า อาจทำให้บริษัทได้รับความเสียหายได้ ซึ่งมีผลกระทบกับชื่อเสียงของบริษัทได้เช่นกัน เหตุที่บริษัทไม่มีงานให้ทำเลยอาจเป็นเพราะพนักงานผิดนัดลูกค้าบ่อย ๆ และเป็นกันหลายคน ลูกค้าไม่ประทับใจและไม่ใช้บริการอีกก็เป็นไปได้ ดังนั้น จึงถือว่าสมเหตุสมผลที่นายจ้างมีอำนาจตักเตือนได้ ไม่ว่าจะเป็นกันทุกคนก็ตาม
2. หนังสือตักเตือนฉบับที่ 2 จำเป็นต้องเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ครับ กลัวจับยัดข้อหาอื่นอีก
        ตอบ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 119 “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้  (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน  หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด” หมายความว่า เรื่องที่นายจ้างออกหนังสือเตือนเป็นเรื่องที่ไม่ร้ายแรง นายจ้างจึงต้องตักเตือนก่อน จะไล่ออกโดยไม่ตักเตือนไม่ได้เพราะไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่การที่นายจ้างมีหนังสือเตือนแล้ว การจะไล่ออกโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยจะต้องเป็นเรื่องเดียวกันกับที่ได้ออกหนังสือเตือนครั้งแรกแล้วลูกจ้างทำผิดซ้ำอีกในลักษณะเดียวกันภายใน 1 ปี ดังนั้น หากหนังสือเตือนครั้งที่สองเป็นเรื่องอื่น นายจ้างไล่ออกก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
3. ด้วยข้อหาเดิม เช่นเข้าประชุมสาย ขาดประชุม แต่ก็มาทำงานตามปกตินั้น ถือเป็นข้อหาร้ายแรงหรือไม่ครับ
        ตอบ ไม่ร้ายแรง
4. ถ้าโดนเรียกอีกจะด้วยข้อหาอะไร ผมควรทำอย่างไรครับ เช่นไม่เซ็นอะไรทั้งสิ้น หรือยอมเซ็นไป โต้แย้งตามความเป็นจริงก็คงไม่เป็นผล
        ตอบ ตามกฎหมาย หนังสือเตือนไม่จำเป็นให้ลูกจ้างเซ็นรับทราบ เพียงแต่ได้แจ้งให้ลูกจ้างทราบแล้วว่ามีหนังสือเตือน ก็มีผลใช้บังคับได้แล้ว
หากนายจ้างเลิกจ้างโดยอ้างหนังสือเตือน และลูกจ้างเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถใช้สิทธิทางศาลฟ้องเรียกค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ ซึ่งก็ต้องไปพิสูจน์กันในชั้นศาลครับ

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

21 มี.ค. 2556 13:32 #2


 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5296/2539
        กิจการของจำเลย (นายจ้าง) ในการให้บริการรับส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ด่วนพิเศษจะดำเนินการอยู่ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับความเชื่อถือของลูกค้าในการให้บริการของจำเลยที่จะต้องจัดการนำส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ให้แก่ลูกค้าอย่างรวดเร็วและถูกต้องปรากฏว่าเอกสารของลูกค้าจำเลยส่งมาถึงจำเลยตั้งแต่วันที่25กรกฎาคม2538พนักงานแยกเอกสารได้นำเอกสารดังกล่าวไปใส่ในช่องเอกสารของโจทก์แล้วแต่โจทก์ละเลยไม่นำเอกสารไปส่งให้แก่ลูกค้าจำเลยจนเป็นเหตุให้ลูกค้าต้องโทรศัพท์ทวงถามเอกสารจากจำเลยในวันที่29กรกฎาคม2538จึงได้มีการตรวจค้นพบเอกสารอยู่ในกระเป๋าใส่เอกสารประจำตัวของโจทก์ซึ่งทิ้งไว้ที่บริษัทจำเลยพฤติการณ์การกระทำของโจทก์ย่อมส่งผลกระทบกระเทือนต่อความเชื่อถือของลูกค้าที่มีแก่บริการรับส่งเอกสารของจำเลยเป็นอย่างยิ่งถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานข้อ70ข้อ96และข้อ99.6กรณีร้ายแรงจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(4)
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8689/2544
       การที่ลูกจ้างไม่สนใจในการประชุม เข้าประชุมสาย ละทิ้งหน้าที่กลับก่อนเวลา และไม่ออกเยี่ยมเยือนลูกค้าทำให้ยอดขายสินค้าไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่นายจ้างกำหนดไว้ เป็นเพียงกรณีที่ลูกจ้างไม่ตั้งใจปฏิบัติงาน ไม่อุทิศเวลาให้แก่งานและไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานเท่านั้น ส่วนกรณีที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานให้แล้ว ลูกจ้างแสดงท่าทางไม่พอใจ แสดงกิริยาไม่สุภาพหรือมีความประพฤติกระด้างกระเดื่อง ก็เป็นเพียงความประพฤติที่ไม่เหมาะสมอันไม่ควรพึงปฏิบัติเท่านั้น การกระทำของลูกจ้างยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างในกรณีร้ายแรง และยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
________________________________
       โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๓,๗๕๐ บาท เงินประกัน ๕,๐๐๐ บาท และค่าชดเชย ๒๒,๕๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
       จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
       ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินประกัน ๕,๐๐๐ บาท ค่าชดเชย ๒๒,๕๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ คำขออื่นให้ยก
       จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
       ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า สำหรับอุทธรณ์ของจำเลย ข้อ ๒.๔ ที่ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๒ และหนังสือของจำเลยตามเอกสารหมาย ล. ๕ ก็ระบุวันที่เลิกจ้างโจทก์คือวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๒ ซึ่งรับฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๒ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า นายสวัสดิ์และนายทศพลได้บอกเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๒ นั้น คลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงขัดต่อพยานหลักฐานไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่า ประเด็นแห่งคดีที่ต้องวินิจฉัยมีเพียงว่า โจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะกระทำความผิดดังที่จำเลยกล่าวอ้างหรือไม่เท่านั้น ซึ่งไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างวันใด ฉะนั้น อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวไม่อาจก่อให้เกิดผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางแต่อย่างใด จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ต้องห้าม มิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๕ วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑
       คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลย ข้อ ๒.๑ และ ๒.๒ ว่า การที่โจทก์มีความประพฤติกระด้างกระเดื่อง ไม่สนใจในการประชุม เข้าประชุมสาย เมื่อผู้บังคับบัญชามอบหมายงานมักแสดงท่าทางไม่พอใจ แสดงกริยาไม่สุภาพ ละทิ้งหน้าที่กลับก่อนเวลาและไม่ออกเยี่ยมเยือนลูกค้าทำให้ยอดขายสินค้าไม่เป็นไปตามเป้าหมายนั้น เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยในกรณีร้ายแรงหรือเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายหรือไม่ เห็นว่า การที่โจทก์ไม่สนใจในการประชุม เข้าประชุมสาย ละทิ้งหน้าที่กลับก่อนเวลา และไม่ออกเยี่ยมเยือนลูกค้าทำให้ยอดขายสินค้าไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่จำเลยกำหนดไว้นั้น เป็นเพียงกรณีที่โจทก์ไม่ตั้งใจปฏิบัติงานไม่อุทิศเวลาให้แก่งาน และไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานเท่านั้น ส่วนกรณีที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานโจทก์มักแสดงท่าทางไม่พอใจ แสดงกริยาไม่สุภาพหรือมีความประพฤติกระด้างกระเดื่องนั้น ก็เป็นเพียงความประพฤติที่ไม่เหมาะสมอันไม่ควรพึงปฏิบัติเท่านั้น การกระทำของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยตามเอกสารหมาย ล. ๒ ในกรณีร้ายแรง และยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย
       พิพากษายืน.
       ตัวอย่างคดีนี้นายจ้างไม่ได้ตักเตือนก่อนเลิกจ้าง จึงต้องจ่ายค่าชดเชย แต่หากได้ตักเตือนแล้วและลูกจ้างทำผิดซ้ำอีก ก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

สมชาย สงวนวงศ์

สมชาย สงวนวงศ์

ผู้เยี่ยมชม

23 มี.ค. 2556 00:00 #3

นายจ้างหากอยากไล่ออกก็ไม่ยาก หาข้อผิดแล้วออกหนังสือตักเตือน
หากเผลอทำผิดอีกก็ถือว่าทำผิดซ้ำซากให้ออกได้
ที่เหลือไปว่ากันในศาลถูกไหมครับ ว่าเป็นธรรมหรือไม่ตามที่กล่าวหา

อย่างกรณีผมนี่ถ้าเข้าประชุมสายอีกสักครั้งจะถึงกับไล่ออกได้เลย :y:
มันง่ายขนาดนั้นเลยเหรอครับเนี่ย

ขอบคุณมากครับ

สมชาย สงวนวงศ์

สมชาย สงวนวงศ์

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

23 มี.ค. 2556 23:09 #4


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2542
         เมื่อโจทก์กระทำผิดวินัยเกี่ยวกับการทำงาน จำเลย ผู้เป็นนายจ้างย่อมมีอำนาจออกหนังสือตักเตือนและมีอำนาจ นำหนังสือตักเตือนไปประกาศให้โจทก์และลูกจ้างอื่น ของจำเลยทราบได้ การที่โจทก์ไปฉีกทำลายประกาศหนังสือตักเตือน ของจำเลยโดยพลการ ทำให้ทรัพย์สินคือหนังสือตักเตือนของจำเลย ต้องสูญเสียหายและขาดประโยชน์ และอาจทำให้ลูกจ้างอื่น ของจำเลยเอาอย่าง ทำให้จำเลยไม่สามารถปกครองบังคับบัญชา ลูกจ้างได้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการกระทำผิดวินัย อย่างร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายเงิน ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

23 มี.ค. 2556 23:23 #5


เวลาคือสิ่งล้ำค่า
แต่มันไม่เอาอะไรจากเราเลย
คุณจะทำอะไรกับมันก็ได้ตามต้องการ
ยกเว้นเป็นเจ้าของมัน
คุณสามารถใช้มันได้
แต่ไม่อาจเก็บมันไว้ได้
และเมื่อคุณเสียมันไปแล้ว
ก็ไม่มีทางได้กลับคืนมา
มันแค่.....หมดไป
 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5450/2534
          ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่า การประทับ บัตรบันทึกเวลาแทนผู้อื่นหรือให้ผู้อื่นประทับบัตรบันทึกเวลาแทน เป็นความผิดร้ายแรง จะถูกลงโทษโดยการไล่ออก เป็นระเบียบเกี่ยวกับ การทำงานที่นายจ้างกำหนดเพื่อใช้บังคับแก่ลูกจ้างจึงเป็นข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จำเลยได้กระทำขึ้น และมีผลใช้บังคับได้ ตามกฎหมาย แต่จำเลยจะจ่ายค่าชดเชยกรณีนี้หรือไม่ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) โดยหากการฝ่าฝืนข้อบังคับเป็นกรณีร้ายแรง ก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่หากเป็นกรณีไม่ร้ายแรง ซึ่งจำเลยเคยเตือนลูกจ้างแล้ว และลูกจ้าง ยังกระทำซ้ำคำเตือนอีกจำเลยก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเช่นกัน แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานจะกำหนดให้การฝ่าฝืนเป็นความผิดอย่างร้ายแรงก็ตาม แต่ได้ความว่าโจทก์ให้บุคคลอื่นประทับ บัตรบันทึกเวลาแทน เพื่อความสะดวกและมักง่ายของตน หาใช่โดยทุจริต เพื่อโกงค่าแรงงาน ของจำเลยไม่จึงเป็นเพียงการฝ่าฝืนข้อบังคับ กรณีไม่ร้ายแรงเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือ มาก่อน และจำเลยได้ไล่โจทก์ออก จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.
________________________________
          โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย จำเลยได้ออกคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชย ความจริงจำเลยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน และจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจำเลยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า การเลิกจ้างของจำเลยเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายพร้อมทั้งดอกเบี้ยแก่โจทก์
          จำเลยให้การว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายใด ๆจากจำเลย ขอให้ยกฟ้อง
          ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยจำนวน 18,600 บาทพร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้อง(วันที่ 27 มิถุนายน 2534) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ คำขออื่นให้ยก
          จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
          ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า "จำเลยอุทธรณ์ว่า ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยตามเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 5เป็นข้อบังคับที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมายตามข้อบังคับดังกล่าวหมวด 11 ส่วนที่ 2 ข้อ 9 (11) ระบุว่า การประทับบัตรบันทึกเวลาแทนผู้อื่นหรือให้ผู้อื่นประทับบัตรบันทึกเวลาแทนถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงจะถูกลงโทษโดยการไล่ออก โจทก์กระทำผิดฝ่าฝืนข้อบังคับนี้ จำเลยจึงมีสิทธิไล่โจทก์ออกจากงานโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)เห็นว่า ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยตามเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 5 เป็นระเบียบเกี่ยวกับการทำงานที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้กำหนดขึ้นเพื่อใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการของจำเลย เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จำเลยได้กระทำขึ้นตามกฎหมายข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเอกสารท้ายคำให้การหมายเลข 5จึงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายซึ่งในหมวด 11 ส่วนที่ 2 ข้อ 9 (11)ที่กำหนดว่าการประทับบัตรบันทึกเวลาแทนผู้อื่นหรือให้ผู้อื่นประทับบัตรบันทึกเวลาแทนเป็นความผิดร้ายแรงจะถูกลงโทษโดยการไล่ออก ก็ย่อมมีผลใช้บังคับได้เช่นเดียวกัน แต่การจะจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างหรือไม่ ต้องอยู่ภายใต้บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)กล่าวคือ การฝ่าฝืนจะต้องเป็นความผิดกรณีร้ายแรง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงจะมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ถ้าเป็นการฝ่าฝืนที่ไม่เป็นความผิดกรณีร้ายแรง จำเลยจะต้องเคยตักเตือนเป็นหนังสือต่อลูกจ้างผู้ฝ่าฝืนมาก่อนและลูกจ้างได้กระทำความผิดซ้ำคำเตือนจำเลยจึงจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ส่วนการฝ่าฝืนจะเป็นความผิดกรณีร้ายแรงหรือไม่ จะต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป จะถือเอาว่าถ้าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อ 9(11)แล้วเป็นความผิดกรณีร้ายแรงทุกเรื่องไปหาได้ไม่ เช่น ลูกจ้างไม่ได้มาทำงานหรือทำงานไม่ครบหนึ่งวันแต่ให้ผู้อื่นประทับบัตรบันทึกเวลาแทนเพื่อแสดงเท็จต่อจำเลยว่าตนได้มาทำงานหรือมาทำงานเต็มวัน อันมีผลเป็นการฉ้อโกงค่าแรงของจำเลย ผู้กระทำความผิดเช่นนี้ย่อมมีความผิดกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่ข้อเท็จจริงได้ความตามที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมาว่า วันเกิดเหตุโจทก์ได้มาทำงานตามปกติและได้กลับออกจากที่ทำงานเมื่อเลิกงานแล้ว โจทก์ขอให้นายอนุชาประทับบัตรบันทึกเวลาแทนเพื่อความสะดวกของโจทก์อันเป็นการกระทำที่มักง่าย แต่โจทก์หาได้กระทำโดยทุจริตเพื่อโกงค่าแรงของจำเลยไม่ จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานกรณีไม่ร้ายแรง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือมาก่อน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์...."
          พิพากษายืน.

          การที่นายจ้างจะหาเรื่องกลั่นแกล้งโดยหาเหตุเพื่อออกหนังสือเตือนแล้ว หากลูกจ้างทำผิดซ้ำอีกก็ไล่ออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชยนั้น ตามกฎหมายแม้ลูกจ้างจะไม่ได้กระทำความผิดอะไรเลย แต่นายจ้างไม่ประสงค์จะทำงานร่วมกับลูกจ้างแล้ว หรือไม่ต้องการเห็นหน้ากันอีกแล้ว นายจ้างย่อมมีสิทธิขอเลิกสัญญาจ้างได้เสมอ เพียงแต่นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย ส่วนกรณีที่จะมีปัญหาก็ตรงที่หากนายจ้างไม่ต้องการเสียเงินค่าชดเชย นายจ้างบางคนมักจะหาเหตุกลั่นแกล้งหรือบีบบังคับทางอ้อมเพื่อให้ลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานต่อไปได้แล้วลาออกเอง หรือใช้วิธีหลอกล่อให้ลูกจ้างทำหนังสือลาออกด้วยตนเอง ซึ่งมีผลทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ดีกว่า ส่วนกรณีที่นายจ้างกลั่นแกล้งหาเหตุออกหนังสือเตือนแล้วลูกจ้างทำผิดซ้ำอีก อย่าคิดว่านายจ้างจะทำได้ง่ายแล้วไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยทุกกรณี เพราะหากนายจ้างทำแบบนี้ลูกจ้างก็มีสิทธิฟ้องศาลแรงงานได้และมีแนวโน้มที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยมีมากกว่าอยู่แล้ว ซึ่งจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆไป  
 

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

สมชาย สงวนวงศ์

สมชาย สงวนวงศ์

ผู้เยี่ยมชม

24 มี.ค. 2556 17:08 #6

ขอบคุณ ทนายภูวรินทร์ มากครับ
ช่วงนี้ผมระมัดระวังตัวอย่างมาก เรียกว่ามาก ๆ เลยล่ะครับ
ถ้าเกิดเหตุอย่างที่เขาต้องการจริง ขออนุญาตเรียนปรึกษานะครับ

สมชาย สงวนวงศ์

สมชาย สงวนวงศ์

ผู้เยี่ยมชม

สุนิดา

สุนิดา

ผู้เยี่ยมชม

23 ต.ค. 2557 14:39 #7

ดิฉันมีปัญหา เจ้าของออกใบเตือน21/7/57 สาเหตเผยแพร่ข้อมูลเงินเดือนให้พนักงานบริษัทด้วยกัน ยื่นให้เ็นต์เย็นวันนัืน ให้พักงานเลย 7 วัน เอางานโอนให้ ผจก ดิฉันไม่เซ็นต์ ตอนเช้า 22/7 ก็ไปทำงาน เขาหาว่าขัดคำสั่ง ไล่ออกเลย ทำได้หรือไม่

สุนิดา

สุนิดา

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

25 ต.ค. 2557 23:03 #8

ตอบคำถามคุณสุนิดา
         หนังสือเตือน เป็นโทษทางวินัยอย่างหนึ่ง ซึ่งหนังสือเตือนต้องระบุข้อเท็จจริงการกระทำผิดวินัยโดยย่อเฉพาะเจาะจงสอดคล้องกับกฎระเบียบของบริษัทด้วย และจะต้องมีข้อความห้ามทำอย่างที่โดนเตือนซ้ำให้อีก ผู้ถูกเตือนต้องทราบหนังสือเตือน โดยต้องทำให้ทราบ เช่น การแจ้งให้รับทราบ  ให้เซ็นรับทราบ อ่านให้ฟังพร้อมพยานรู้เห็น 2 คน  ปิดประกาศ  ส่งไปตามที่อยู่ที่ได้แจ้งตอนสมัครงาน  ส่วนการไม่ยอมลงชื่อแต่แจ้งให้ทราบ คือได้ยินได้ฟังแล้ว ก็ถือว่าทราบแล้ว
      อายุหนังสือเตือนจะต้องไม่เกินหนึ่งปี นับจากวันที่ลูกจ้างกระทำผิด หากถูกเตือนแล้วทำความผิดซ้ำในลักษณะเดียวกับความผิดที่ถูกเตือน นายจ้างสามารถเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยได้ทันที  ฎ.683/2525, ฎ.147-1048/2531
          แต่กรณีของคุณ นายจ้างไม่สามารถเลิกจ้างโดยอ้างเหตุขัดคำสั่งนายจ้างได้ กรณีดังกล่าวนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามระยะเวลาทำงานให้แก่คุณ โดยคุณมีสิทธิร้องเรียนที่สำนักงานคุ้มครองแรงงานเขตพื้นที่ หรือฟ้องศาลแรงงานให้นายจ้างรับผิดชำระเงินชดเชย และเรียกร้องเงินค่าเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมได้
 
 

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ซัตนาม โกรเวอร์

ซัตนาม โกรเวอร์

ผู้เยี่ยมชม

19 ธ.ค. 2557 15:47 #9

พี่ ค่ะ
เจ้านายด่าว่าทุกวันเลยค่ะ เคทำงานมา 5ปี 10 เดือนแล้วค่ะ
ตอนนี้ เค กำลังจะลาออกน่ะค่ะ
thankyou

ซัตนาม โกรเวอร์

ซัตนาม โกรเวอร์

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

26 ธ.ค. 2557 19:57 #10

ตอบคำถามคุณซัตนามโกรเวอร์
           ขอให้คุณเค จงโชคดี ประสพความสุขความเจริญนะครับ สู้ ๆ

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

เบญ

เบญ

ผู้เยี่ยมชม

12 พ.ย. 2558 09:19 #11

ถ้ากรณี พนักงานลาป่วย เป็นประจำ ซึงถ้า 1 วัน บจกไม่เรียกดูใบรับรองแพทย์ เว้นแต่ มากกว่า 1 วัน จึงจำเป็นต้องโชว์ แต่พนักงานลาป่วย เป็นประจำทุกเดือนโดยไม่ติดต่อกัน ทีละวัน ซึ่งทำงานมาได้ 5 เดือน ลาป่วยไปแล้ว 12 วัน ซึ่งบจก จะออกใบตักเตือนได้ไหม ออกแล้วถ้าหากไม่ปรับปรุง สามารถเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ได้ไหม

เบญ

เบญ

ผู้เยี่ยมชม

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

1 ก.พ. 2559 19:40 #12

ตอบคำถามคุณเบญ
     การออกหนังสือตักเตือนพนักงาน มิใช่จะออกหนังสือเตือนอะไรก็ได้ แต่การออกหนังสือเตือนจะต้องเป็นกรณีที่พนักงานกระทำผิดข้อบังคับของบริษัทซึ่งไม่ใช่กรณีร้ายแรง ดังนั้น กรณีตามคำถามจะต้องมีกฎระเบียบข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้ด้วย  กรณีการใช้สิทธิลาหยุดหลายวันนั้น หากลูกจ้างมีความเจ็บป่วยจริงก็มีสิทธิลางานได้ แม้จะหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นร้ายแรง หากมีกฎระเบียบข้อบังคับการทำงานไว้ นายจ้างก็อาจมีหนังสือเตือนได้ แต่หากจะต้องเลิกจ้าง นายจ้างอาจไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แต่ยังคงต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย 

ทนายภูวรินทร์  081-9250-144

ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144

ผู้ดูแล

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้