Last updated: 19 ต.ค. 2566 | 643 จำนวนผู้เข้าชม |
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7547/2561 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2561)
แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ และจำเลย ฉบับลงวันที่ 12 มีนาคม 2555 ในข้อ 3 กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียวก็ตาม
แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567 บัญญัติว่า ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ (1) กำหนดที่อยู่ของบุตร (2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน (3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป (4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เท่านั้น
ดังนี้จึงไม่เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำได้โดยลำพังคนเดียวเพราะไม่ใช่กรณีที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567 ทั้งไม่ปรากฏในสัญญาประนีประนอมยอมความว่า ให้จำเลยมีอำนาจเปลี่ยนชื่อสกุลของบุตรผู้เยาว์ของโจทก์มาใช้ชื่อสกุลของจำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ หากโจทก์คัดค้านทางเจ้าหน้าที่ก็จะไม่ดำเนินการเปลี่ยนชื่อสกุลบุตรผู้เยาว์ให้ ดังนั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิเปลี่ยนชื่อสกุลของบุตรผู้เยาว์มาใช้ชื่อสกุลของจำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์
ดังนั้น เมื่อต้องการเปลี่ยนชื่อสกุลบุตร จึงต้องมีคำขอให้ศาลพิพากษาให้เปลี่ยนด้วย
14 ต.ค. 2566
14 ต.ค. 2566