ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ
   ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ
   ศาลยุติธรรม
   ศาลแพ่ง
   ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
   ศาลอาญา
   ศาลอาญากรุงเทพใต้
   ศาลอาญาธนบุรี
   ศาลแพ่งธนบุรี
   ศาลจังหวัดตลิ่งชัน
   ศาลจังหวัดมีนบุรี
   ศาลแขวงพระนครเหนือ
   ศาลแขวงพระนครใต้
   ศาลแขวงปทุมวัน
   ศาลแขวงดุสิต
   ศาลแขวงธนบุรี
   ค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา
   ค้นหากฎหมายไทย
   อัตราค่าส่งหมายทั่วประเทศ
   ดาวน์โหลดแบบฟอร์มศาลยุติธรรม
   เนติบัณฑิตยสภา
   สภาทนายความ
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกา
   ห้องสมุดกฎหมายไทย 1.1
   ห้องสมุดกฎหมายไทย 2.1
   ห้องสมุดกฎหมายไทย 2.2
   ห้องสมุดกฎหมายคณะกรรมการกฤษฎีกา
สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 11
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 47
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 2,478,416
 เปิดเว็บ 02/06/2553
 ปรับปรุงเว็บ 17/02/2565
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
1 มิถุนายน 2566
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
    
10 
11  12  13  14  15  16  17 
18  19  20  21  22  23  24 
25  26  27  28  29  30   
             
การฟ้องหย่าต้องมีเหตุ 10 ประการ และ ข้อยกเว้น เหตุฟ้องหย่า

เหตุ 10 ประการในการฟ้องหย่า และ ข้อยกเว้น
          ปัญหาครอบครัว เรื่องการหย่าร้างของสามีภรรยาในยุคปัจจุบันนี้ นับวันแต่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สังเกตได้จากปริมาณคดีฟ้องหย่าที่ขึ้นสู่ศาลเยาวชนและครอบครัว ซึ่งไม่รวมถึงกรณีที่คู่สมรสสามารถเจรจาตกลงจดทะเบียนหย่าขาดจากกันได้โดยสันติ ปัญหาเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กที่จะมองข้ามไปได้ เพราะปัญหานี้เป็นปัญหาของสังคม 

          บทความนี้ ผมขอนำเรื่องเหตุ 10 ประการในการฟ้องหย่าและข้อยกเว้นในการฟ้องหย่ามานำเสนอเพื่อให้ทราบถึงข้อกฎหมายและแนวคำพิพากษาศาลฎีกา 
การฟ้องหย่าต้องมีเหตุ 10 ประการ ตามมาตรา 1516 แห่งประมวลแพ่งและพาณิชย์ เช่น 

(1.) สามีอุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่น หรือภรรยามีชู้ 
(2.) สามีหรือภรรยาประพฤติชั่ว
(3.) สามีหรือภรรยาทำร้าย
(4.) สามีหรือภริยาจงใจทิ้งร้างเกิน 1 ปี
(5.) สามีหรือภรรยาศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ
(6.) สามีหรือภรรยาไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู
(7.) สามีหรือภรรยาวิกลจริตเกิน 3 ปี
(8.) สามีหรือภรรยาผิดทัณฑ์บน
(9.) สามีหรือภรรยาเป็นโรคติดต่อร้ายแรง
(10.) สามีหรือภรรยามีสภาพแห่งกายไม่อาจร่วมประเวณีได้


                                  

เหตุฟ้องหย่ามีข้อยกเว้น...
1. การยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจของฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่า เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (1) กรณีที่สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่น ฉันภริยาหรือภริยามีชู้และมาตรา 1516 (2) กรณีที่สามีหรือภริยาประพฤติชั่วนั้นถ้าสามีหรือภริยาแล้วแต่กรณีได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่านั้น ฝ่ายที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ กรณีคู่สมรสยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่า ฎีกาที่ 3288/2527 ระหว่างจำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากับโจทก์ จำเลยมีอาชีพผิดกฎหมายค้ายาเสพติดโจทก์รู้เห็นและร่วมกระทำด้วย โจทก์ให้ญาติของโจทก์นำเฮโรอีนมาจากภาคเหนือ จนญาติของโจทก์และจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับ ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 20 ปี ถือได้ว่าโจทกได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำของจำเลยที่เป็นเหตุหย่านั้น โจทก์จะยกขึ้นเป็นเหตุฟ้องหย่าจำเลยหาได้ไม่ -2- 2. การกระทำของฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าเป็นเหตุให้เกิดเหตุหย่านั้น เหตุหย่าตามมาตรา 1516  
(10) กรณีที่สภาพแห่งกายของสามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วม ประเวณีได้ตลอดกาลนั้น ถ้าเกิดขึ้นเพราะการกระทำของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสฝ่ายนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้ ทั้งนี้เพราะตนเป็นคนผิดที่เป็นต้นเหตุให้เกิดหย่าขึ้น เช่น ภริยาโกรธสามีที่ชอบไปยิ่งเกี่ยวกับหญิงอื่น จึงใช้มีดโกนตัดของลับของสามีโยนทิ้งไปเช่นนี้ ภริยาจะมาฟ้องหย่าโดยอ้างว่าสภาพแห่งกายของสามีไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาลไม่ได้ 3. เหตุหย่าเป็นเหตุเล็กน้อย เหตุหย่าตามมาตรา 1516 (8) กรณีที่สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ให้ไว้เป็นหนังสือใน เรื่องความประพฤตินั้น ถ้าศาลเห็นว่าความประพฤติของสามีหรือภริยาอันเป็นเหตุเล็กน้อยหรือไม่สำคัญเกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข ศาลจะไม่พิพากษาให้หย่าก็ได้ ทั้งนี้ เพราะถือว่าเป็นเรื่องไม่ร้ายแรง ไม่ถึงกับทำให้การสมรสแตกแยกกันโดยไม่มีทางกลับคืนมาได้อีก ถ้าไม่ใช่ทัณฑ์บนในเรื่องความประพฤติก็ไม่เป็นเหตุฟ้องหย่า ฎีกาที่ 2040/2519 การที่ภริยาทำทัณฑ์บนว่าจะอยู่ร่วมบ้านกับสามี และต่อมาภริยาประพฤติผิดทัณฑ์บนโดยไม่อยู่ร่วมบ้านกับสามีนั้น ทัณฑ์บนดังกล่าวไม่ใช่ทัณฑ์บนในเรื่องความประพฤติ จึงไม่เป็นเหตุหย่า การกระทำของจำเลยมีสาเหตุจากการกระทำของโจทก์ จึงยังไม่ถือว่าจำเลยประพฤติผิดทัณฑ์บนที่ให้ไว้ ฎีกาที่ 5161/2538 หลังจากจำเลยทำทัณฑ์บนแล้ว โจทก์ยังมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับหญิงอื่นจำเลยจึงดุด่าและทำร้ายโจทก์อีก การกระทำของจำเลยมีสาเหตุจากการกระทำของโจทก์ จึงยังไม่ถือว่าเป็นการประพฤติผิดทัณฑ์บนที่ให้ไว้อันจะเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (8) (4.) ฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้ให้อภัยแล้ว แม้เหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเหตุหนึ่งหรือหลายเหตุก็ตาม หาก คู่สมรสฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้กระทำการอันแสดงว่าได้ให้อภัยในเหตุการณ์นั้นแล้ว คู่สมรสฝ่ายนั้นก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องหย่าภายหลังได้ ทั้งนี้เพราะสิทธิฟ้องหย่าได้หมดสิ้นไปแล้ว -3- ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1518 การให้อภัยนั้นสามีหรือภริยาผู้มีสิทธิฟ้องหย่าจะต้องแสดงกริยาอาการปรากฎให้เห็นอย่างชัดแจ้งที่จะให้อภัย รวมทั้งต้องรู้ถึงพฤติการณ์ที่ทำผิดทั้งหมดและมีเจตนาที่จะยกโทษให้จึงจะถือว่าเป็นการให้อภัย ฎีกาที่ 3822/2524 การที่จำเลยให้มีดแทงโจทก์ตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จำเลยจะมีบุตรด้วยกัน แต่โจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นภริยาและมีบุตรด้วยกันจึงไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย แสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยแก่จำเลยแต่แรกแล้วถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1518 แล้ว ฎีกาที่ 6002/2534 จำเลยให้อาวุธปืนยิงโจทก์ 2 ครั้ง เป็นการกระทำก่อนฟ้องถึง 14 ปี และ 4 ปีตามลำดับไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยคงอยู่กินด้วยกันตลอดมาถือว่าโจทก์ได้ให้อภัยจำเลยแล้ว สิทธิฟ้องหย่าให้ข้อนี้ย่อมหมดไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1518 แต่ในกรณี โจทก์ยอมถอนฟ้องเพราะจำเลยตกลงเงื่อนไขกับโจทก์ไว้ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขจึงมิใช่กรณีที่โจทก์ยอมให้อภัยจำเลย ฎีกาที่ 173/2540 โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกัน ต่อมาจำเลยไปได้นางมีเป็นภริยามีบุตรด้วยกัน 1 คนโจทก์ได้ฟ้องหย่าจำเลย ศาลไกล่เกลี่ย โจทก์จำเลยตกลงกันว่า จำเลยจะต้องกลับมาอยู่ในบ้านหลังเดียวกับโจทก์ห้ามเกี่ยวข้องกับหญิงอื่นต่อไป โจทก์จึงได้ถอนฟ้องไปปรากฏว่าหลังจากถอนฟ้องแล้ว จำเลยยังคงอยู่ร่วมกับนางมีฉันสามีภริยาต่อมา การที่โจทก์ยอมถอนฟ้อง ก็เพราะจำเลยตกลงเงื่อนไขกับโจทก์ไว้ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข จึงมิใชที่กรณีที่โจทก์ยอมให้อภัยจำเลยการกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (6) โจทก์ย่อมฟ้องหย่าจำเลยได้ จากหลักกฎหมายข้อยกเว้นเหตุหย่าข้างต้น
 
 เห็นได้ว่าการจะฟ้องหย่านั้นไม่ใช่จะพิจารณาแต่เหตุหย่าเพียงอย่างเดียว ต้องพิจารณาด้วยว่าการกระทำของฝ่ายฟ้องหย่านั้น เข้าข้อยกเว้นหรือเปล่า มิฉะนั้นอาจแพ้คดีได้…..……....   
**ทางที่ดีที่สุดคือการพยายามปรับความเข้าใจกันทั้งสองฝ่ายก่อนการตัดสินใจหย่าจะเป็นทางที่ดีที่สุดสำหรับการใช้ชีวิตคู่ครับ

      
 

หากคุณมีปัญหาและต้องการคำปรึกษาด้านกฎหมาย เพิ่มเติม  
ติดต่อได้ที่     ทนายภูวรินทร์ ทองคำ  โทร.081- 9250-144  

E-Mail : Phuwarinlawyer@hotmail.com

http://www.phuwarinlawyer.com/


 

การสิ้นสุดแห่งการสมรสด้วยการหย่า
- การฟ้องหย่าต้องมีเหตุ 10 ประการ และ ข้อยกเว้น เหตุฟ้องหย่า
- การสิ้นสุดการสมรสและเหตุการฟ้องหย่า
ดูทั้งหมด

Copyright by www.phuwarinlawyer.com
Engine by MAKEWEBEASY