Webmaster

Webmaster

ผู้ดูแล

Phuwarin2549@hotmail.com

  ทนายความฟรี...มีที่ไหน(บ้าง)............ (45972 อ่าน)

24 มี.ค. 2553 23:07

ทนายความฟรี.....มีที่ไหน (บ้าง)
ขึ้นหัวไว้อย่างนี้ก็เพื่อที่จะบอกกับทุกคนว่า หากคุณเป็นผู้ที่มีรายได้น้อย ไม่ค่อยจะมีกะตังค์ไปปรึกษาทนายหรือ ไปจ้างทนายมาว่าความให้คุณ คุณก็สามารถขอรับการช่วยเหลือทางด้านกฎหมายได้ฟรี
โดยหากคุณต้องการเพียงขอคำปรึกษาเรื่องเกี่ยวกับคดีความที่คุณถูกฟ้อง หรือเป็นเรื่องที่คุณต้องการใช้สิทธิทางศาล แต่ไม่รู้จะดำเนินการอย่างไร    คุณสามารถไปขอคำปรึกษาได้ที่ ที่ทำการศาลทุกศาล ซึ่งจะมีโต๊ะสำหรับทนายความอาสาประจำอยู่ทุกศาลคอยให้คำปรึกษาชี้แนะกับประชาชนทั่วไป โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น         
**แต่ทนายความอาสาเหล่านี้จะให้แค่คำปรึกษากับคุณได้เท่านั้น ไม่สามารถว่าความให้กับคุณได้ เพราะเป็นข้อห้าม *
ส่วนหากคุณต้องการทนายความว่าความให้กับคุณ คุณอาจจะต้องไปที่ ที่ทำการสภาทนายความ ตรงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อขอรับการช่วยเหลือที่นั่น
แต่การขอรับการช่วยเหลือในกรณีนี้ จะมีเงื่อนไขอยู่ 2 ประการคือ
1. คุณต้องเป็นผู้ที่ยากจน        และ        2. ไม่ได้รับความเป็นธรรม
*ซึ่งต้องมีคุณสมบัติครบทั้ง 2 ประการ จึงจะสามารถขอรับการช่วยเหลือได้
อีกกรณีหนึ่งคือ กรณีที่คุณตกเป็นจำเลยในคดีอาญา หากคุณไม่มีทนายความว่าความให้ คุณสามารถร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งทนายความให้ได้ ซึ่งศาลจะมีทนายขอแรงไว้ช่วยเหลือว่าความให้คุณ ที่นี้รู้หรือยังครับว่า ทนายความฟรี.......มีที่ไหน (บ้าง)

แต่ไม่ต้องกังวลไปนะครับ หากคุณต้องการคำที่ปรึกษาเบื้องต้นหรือต้องการคำแนะนำในเรื่องคดีความปรึกษาทางผมก่อนได้นะครับ โดยเบื้องต้นทางผมและทีมงานทนายฯจะไม่คิดค่าใช้จ่ายในการเป็นที่ปรึกษาใด (เฉพาะคำปรึกษาเบื้องต้นเท่านั้นนะครับ)...........หรือจะ E-mail มาปรึกษาที่ผมก่อนก็ได้ครับ.......
***************************************************
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 บัญญัติว่า 
            "ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายความให้
            ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้
            ให้ศาลจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งตามมาตรานี้ โดยคำนึงถึงสภาพแห่งคดีและสภาวะทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง"
             คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2549 "โจทก์ฟ้องคดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ในการพิจารณาคดีก่อนถามคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ และทำให้จำเลยเสียเปรียบ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ให้ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้วให้ส่งสำนวนคืนศาลอุทธรณ์ภาค 8 เพื่อพิจารณาพิพากษา ก็ไม่อาจแก้ไขกระบวนการพิจารณาที่เสียไปแล้วตั้งแต่ต้นให้กลับมาเป็นชอบด้วยกฎหมายได้ ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี"

119.31.121.70

Webmaster

Webmaster

ผู้ดูแล

Phuwarin2549@hotmail.com

จุ๊บจุ๊บๆ

จุ๊บจุ๊บๆ

ผู้เยี่ยมชม

uraka@gmail.com

30 พ.ค. 2553 10:03 #2

:):):p::D:....................
............................

ขอบคุณก้าบ....คุณทนายความใจดี

183.89.29.77

จุ๊บจุ๊บๆ

จุ๊บจุ๊บๆ

ผู้เยี่ยมชม

uraka@gmail.com

นิชดา

นิชดา

ผู้เยี่ยมชม

rujaya@hotmail.com

2 ต.ค. 2553 15:01 #3

"ทนายขอแรง" หมายถึงอะไรคะ

27.130.67.209

นิชดา

นิชดา

ผู้เยี่ยมชม

rujaya@hotmail.com

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

2 ต.ค. 2553 15:35 #4

ทนายขอแรง ...คืออะไร?   คือขอแรงทนายให้ช่วยทำงานบ้านหรือเปล่า...อ้ะๆไม่ใช่ครับ ..
ทนายขอแรง คือ ทนายที่ไปลงชื่อไว้กับศาลแต่ละศาล... รายละเอียดค่อนข้างเยอะครับ..
แต่ทั้งนี้ทั้งทนายและลูกความก็ต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาด้วยครับว่ามีขอบเขต
การทำงานนั้นอยู่แค่ไหน.....

**ลูกความส่วนมาก ย่อมคาดหวังอยากที่จะให้ทนายความของทำงานทุ่มเทให้อย่างเต็มกำลัง
ก็คงต้องพิจารณาอย่างสมเหตุสมผล...เพราะขึ้นชื่อว่า "ขอแรง" ค่าตอบแทนก็ไม่สูง ...........
ซึ่งบางครั้งค่าตอบแทนก็คงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าเป็นต้นทุนและแรงใจในการทำงาน..
(ของคนทุกคนและทุกวิชาชีพเลยก็ว่าได้)....
ดังนั้นหากคิดจะเลือกทนายขอแรงจึงควรจะศึกษารายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างมากซึ่ง
ผมคงตอบทั้งหมดไม่ได้ ณ ที่นี้ครับ

27.130.67.209

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

อริยา

อริยา

ผู้เยี่ยมชม

a.dittellm@gmail.com

13 ต.ค. 2553 23:41 #5

ก็เห็นใจทนายขอแรงนะ เพราะเวลาใช้แรงงานไปจนหมดแรง(เงิน)จะช่วยในการดำเนินการอื่นๆ ทำให้ทนายความโดยส่วนมากไม่ต้องการทำงานให้หนักเกิน ยกเว้นคดียากเงินรางวัลทนายจะได้กลับมาพอให้หายใจคล่องสำหรับงานต่อไป แต่ถ้าทนายความคนไหนมีเหลือฟุมเฟือยแล้ว การเป็นทนายขอแรงคงไม่ต้องเหนื่อยใจ คือจ่ายแทนลูกความได้แทนการทำทาน
แต่โดยจรรยาบรรณแล้ว ต้องรับผิดชอบคดีให้ดีเหมือนกับลูกความที่มีเงินมาว่าจ้างทนายความ ต้องทำการบ้านหนักเช่นกัน

แต่ทนายเก่งๆที่ไปเป็นทนายขอแรงให้มีพอสมควรนะ แต่ถือเสียว่าได้เงินน้อย แต่ได้กล่องมาด้วย หากทนายท่านใดทำงานทนายขอแรงได้เกือบๆร้อยคดี ให้นำหลักฐานไปยื่นที่สภาทนายความได้เพื่อขอเข็มพระราชทาน แต่จะได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาในปีนั้นๆ ไม่ทราบว่าจำกัดหรือไม่ อยากทำอยู่แต่ยังไม่มีเวลาไปลงทะเบียน
ส่วนทนายขอแรงที่สภาทนายความนั้น ทางสภาทนายความเป็นผู้ดำเนินการมอบหมายให้ทนายที่ลงทะเบียนไว้และผ่านการคัดเลือกทนายอาสาแล้วไปว่าความให้
ที่เมืองไทยไม่มีทนายความขอแรงที่คุณไปหาได้ตามบริษัทนะ ไม่เหมือนที่ฝรั่งเศส ที่จะมีทนายความที่รับทำคดีความให้คนที่ไม่มีเงิน ซึ่งเขาจะทำเรื่องขอเบิกค่ารางวัลทนายความจากทางศาลเองเรียบร้อย เราเพียงแต่ยื่นเอกสารหลักฐานทั้งหมดให้เขาไป กรณีคดีแพ่งด้วยที่มีประสบการณ์มากับตัวเอง ไม่ได้เสียค่าขึ้นศาล เรื่องการเสียธรรมเนียมอะไรอื่นๆ ทนายจัดการหมด เรารอคำพิพากษาอย่างเดียวในการฟ้องเรียกค่าเช่าคืน ทนายเขาจะส่งเช็คมาให้ เราก็ส่งการ์ดกลับไปขอบคุณเขา แต่ถ้าเป็นคดีมรดก การยื่นคำร้องขอฟ้องคดีแบบคนอนาถาคงไต่สวนนะ ไม่แน่ใจเพราะไม่ได้เรียนวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฝรั่งเศส) เพราะลงสาขานิติกร

ดังนั้น ในเมืองไทย จึงไม่มีทนายขอแรงในลักษณะที่ว่าเดินเข้าไปหาที่บริษัทได้เลย การยื่นคำร้องที่ว่าเรียกว่าการยื่นคำร้องขอความช่วยเหลือทางศาล เมืองไทยเราคงยังทำไม่ได้ถึงขนาดนั้น คุณจึงต้องวิ่งไปหาที่สภาทนายความก่อนนะคะ หรือศาลเยาวชนและครอบครัวก็มีการตั้งทนายขอแรงให้ได้

125.24.85.235

อริยา

อริยา

ผู้เยี่ยมชม

a.dittellm@gmail.com

poo

poo

ผู้เยี่ยมชม

poo-98@hotmail.com

15 ต.ค. 2553 13:50 #7

ถ้าพ่อและแม่ของเด็กแยกทางกัน แต่ยังไม่จดทะเบียนหย่า แต่เด็กคุณยายเลี้ยงตั้งแต่เกิดแล้วพ่อของเด็กมาพาลูกไปเที่ยวแล้วไม่พาเด็กกลับจะแจ้งตำรวจได้ไหมค่ะ

61.90.143.45

poo

poo

ผู้เยี่ยมชม

poo-98@hotmail.com

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

16 ต.ค. 2553 00:04 #8

ตอบคำถามคุณปูครับ
           ตามกฏหมายบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
            (1) มารดาหรือบิดาตาย
            (2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
            (3) มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ ความสามารถ
            (4) มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
            (5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
            (6) บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้
           การเป็นผู้ใช้อำนาจการปกครองมีสิทธิดังต่อไปนี้
           (1) กำหนดที่อยู่ของบุตร
           (2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
           (3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
           (4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
          
           การที่พ่อกับแม่แยกทางกันแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า ก็ยังถือว่าเป็นสามีภริยาถูกต้องตามกฎหมายอยู่ พ่อกับแม่ก็ยังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรอยู่เหมือนเดิม ส่วนยายแม้จะเลี้ยงเด็กมาตั้งแต่เกิดก็หาทำให้มีสิทธิเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองไปโดยปริยายไม่ครับ ยายไม่มีสิทธิจะกักตัวเด็กไว้เลยครับ 
          ดังนั้น การที่พ่อมาเอาลูกไปเลี้ยงดูเองในภายหลังก็ย่อมมีสิทธิที่จะทำได้ ไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด  แจ้งความไปก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ทางแก้เรื่องนี้ก็ควรให้แม่เด็กไปเอาตัวเด็กคืน
ส่วนการที่จะไม่ให้พ่อของเด็กมายุ่งเกี่ยวกับเด็กนั้น ก็ต้องใช้สิทธิทางศาลขอให้ศาลเพิกถอนอำนาจปกครองบุตรครับ ได้เฉพาะกรณีพ่อเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถโดยคำสั่งของศาล ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบ  ประพฤติชั่วร้าย   ล้มละลาย หรือจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ในทางที่ผิดจนอาจเป็นภัยครับ 
           แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายกำหนดว่า บิดาหรือมารดาย่อมมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตน ได้ตามควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่าบุคคลใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองก็ตาม

183.89.181.144

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

sakdina

sakdina

ผู้เยี่ยมชม

rujaya@hotmail.com

16 ต.ค. 2553 16:29 #9

ทนายฟรี .. จริงๆแล้วคงไม่มีจริงๆ...ก็คงเหมือนกับวิชาชีพอื่นๆทำเป็นอาชีพให้บริการแก่ลูกค้า..
..ขอบคุณคุณทนายภูวรินทร์และคุณอริยามากนะครับผมเองก็กำลังอยากรู้อยู่เหมือนกันว่า จะหาทนายดีๆ
ทำคดีของตัวเองได้จากไหน ..
ผมไปอ่านเจอบทความนึง.... ก็ทำให้สับสนและไม่แน่ใจเหมือนกันว่า การเลือกทนายดีๆ จะไปหาได้จากที่ไหน..
ขอแปะมาไว้อ่านเล่นแล้วกันนะครับ..

บทบาทที่ควรจะเป็น ของทนายความสาธารณะ ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

โดย มติชน วัน จันทร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 02:03 น.

โดย สฤษดิ์ ธัญกิจจานุกิจ กรรมการมรรยาททนายความ สภาทนายความ
ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ได้บัญญัติหลักประกันสิทธิของผู้ต้องหาคดีอาญาไว้ว่ามีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐด้วยการจัดหาทนายความให้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

ซึ่งก็ได้มีกฎหมายลูกออกมารองรับถึงบทบัญญัติดังกล่าวคือ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่รับรองสิทธิของผู้ต้องหาที่ไม่มีทนายความ หากประสงค์จะต่อสู้คดีรัฐต้องจัดหาให้ โดยไม่ได้คำนึงว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้ยากไร้หรือไม่

โดยในชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนก็ประสานกับสภาทนายความเป็นข้อตกลงในความร่วมมือกันที่จะมีทนายความอาสา ซึ่งแจ้งชื่อที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ ให้แก่สถานีตำรวจทุกสถานีทั่วทุกจังหวัด โดยจัดเป็นระบบการเข้าเวรทนายความอาสาแต่ละวัน

เพียงแต่สภาทนายความกำหนดไว้ว่า ทนายความผู้ที่จะไปให้คำปรึกษาหรือร่วมฟังชั้นสอบสวนต้องมีอายุการว่าความมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี

ส่วนในชั้นศาลในคดีอาญาหากจำเลยไม่มีทนาย ความและประสงค์จะได้ทนายความ ศาลก็จะตั้งให้เรียกว่าทนายความขอแรง เป็นไปตามระบบบัญชีรายชื่อเรียงตามตัวอักษรหรือเรียงตามลำดับรายชื่อที่สมัครเข้ามาขึ้นชื่อไว้กับศาลนั้นๆ

หากศาลขอแรงทนายความ เจ้าหน้าที่ศาลก็จะพิมพ์เสนอชื่อทนายความขอแรงตามลำดับคิว โดยไม่คำนึงถึงความรู้ความสามารถหรือความเชี่ยวชาญของทนาย ความต่อคดีแต่ละประเภท ทั้งจำเลยก็ไม่มีสิทธิเลือก

เพราะตามกฎหมายก็ระบุไว้ว่า ศาลตั้งให้เป็นทนายขอแรงรับว่าความให้กับจำเลย โดยจำเลยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด แต่ทนายความจะได้ค่าตอบแทนวิชาชีพจากงบประมาณของกระทรวงยุติธรรมที่ปัจจุบันก็ได้มีการปรับค่าตอบแทนให้สูงขึ้นตามสภาพของเศรษฐกิจ

รัฐจะจัดให้มีทนายความแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา ทั้งในชั้นสอบสวนและในชั้นศาล หากประชาชนเดือดร้อนอรรถคดีทางแพ่ง หากเป็นผู้ยากไร้และไม่ได้รับความเป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.สภาทนายความ พ.ศ.2528 ก็ได้บัญญัติให้สภาทนายความต้องช่วยเหลือโดยจัดหาทนายความให้

โดยประชาชนผู้ยากไร้ และไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้นไม่ต้องเสียค่าตอบแทนวิชาชีพแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายของไทยจะได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่เมื่อเปรียบเทียบกับหลักการพื้นฐานของสหประชาชาติว่าด้วยบทบาทของนักกฎหมาย (Basic Principles on the Role of Lawyers 1990) แล้ว ยังมีหลายข้อหลายประเด็นที่การช่วยเหลือประชา ชนทางกฎหมายในเมืองไทยยังไม่มีหรือยังไม่ได้มาตรฐาน พอสรุปได้ดังนี้ เช่น

รัฐบาลพึงดำเนินการให้เป็นที่มั่นใจได้ว่าจะมีการกำหนดให้มีกองทุนและปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ ที่พอเพียงแก่การให้มีความช่วยเหลือทางกฎหมายสำหรับผู้ยากไร้ และในกรณีที่จำเป็นแก่ผู้ที่ด้อยโอกาสอื่นๆ สมาคมของนักกฎหมายพึงให้ความร่วมมือสนับสนุนองค์กรและข้อกำหนดเรื่องการให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวก ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ เกี่ยวกับการดังกล่าวด้วย

รัฐบาลและสมาคมทางวิชาชีพของนักกฎหมายพึงให้ความใส่ใจเป็นพิเศษกับการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ยากไร้ และผู้ที่ด้อยโอกาสอื่นๆ เพื่อที่จะให้บุคคลเหล่านั้นได้รับการคุ้มครองสิทธิและสามารถแสวงหาความช่วยเหลือจากนักกฎหมายตามความจำเป็นได้

ในทุกคดีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมผู้ที่ถูกจับกุมคุมขังหรือถูกดำเนินคดีอาญา ผู้ใดที่ยังไม่มีทนายความพึงมีสิทธิที่จะมีทนายความที่มีประสบการณ์และความสามารถเหมาะสมกับลักษณะของข้อกล่าวหานั้นๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่ผู้นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ โดยที่ผู้นั้นไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หากว่าไม่สามารถจะจ่ายได้

กฎหมายสหรัฐอเมริกาได้กำหนดไว้ใน sixth Amendment โดยให้สิทธิแก่ผู้ต้องหาได้รับความช่วยเหลือจากทนายความในการต่อสู้คดี ซึ่งพัฒนาการของสิทธิการมีทนายความของผู้ต้องหาหรือจำเลยในสหรัฐอเมริกา ได้แก่

1) สิทธิในการมีทนายความ

2) สิทธิที่จะได้รับการจัดทนายความให้ และ

3) สิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพจากทนายความ

สำหรับประเทศอังกฤษได้มีกฎหมาย The Access to Justice Act. 1999 ให้อำนาจประธานศาลฎีกากำหนดวัตถุประสงค์ของการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ซึ่งมีสาระสำคัญว่าประชาชนต้องได้รับการช่วยเหลือด้านทนายความตั้งแต่ชั้นจับกุมจนถึงคดีถึงที่สุดและต้องได้รับทนายความที่มีคุณภาพ

จะเห็นได้ว่า มาตรฐานของสหประชาชาติว่าด้วยบทบาทของนักกฎหมายและกฎหมายของอเมริกา, อังกฤษ ต่างก็ระบุไว้ชัดเจนว่าทนายความที่รัฐจัดให้ หรือทนายความสาธารณะที่จะช่วยเหลือประชาชน จะต้องเป็นทนายความที่มีคุณภาพ ต้องช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

หากอธิบายให้ชัดเจนก็คือทนายความสาธารณะหรือทนายความอาสาหรือจะเรียกทนายความขอแรงก็ตาม ต้องเป็นทนายความที่มีประสบการณ์การว่าความหรือให้คำปรึกษาและความสามารถเหมาะสมกับลักษณะของข้อกล่าวหานั้นๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่ผู้นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่ในปัจจุบันประเทศไทยมีเพียงกฎหมายที่บัญญัติแต่เพียงว่า รัฐต้องจัดให้มีทนายความ หรือศาลต้องตั้งทนายความขอแรงให้ แต่ไม่มีกฎหมายใดที่ระบุไปถึงว่า ทนายความที่ช่วยเหลือต้องเป็นทนาย ความที่มีคุณภาพ และต้องช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ

เพราะหากมีหลักเกณฑ์ดังกล่าวจริง มิใช่เพียงพิจารณาจากอายุการว่าความเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย

เช่น ประสบการณ์ในการว่าความคดีแต่ละประเภท

ความเป็นผู้มีมรรยาททนายความ, ความรับผิดชอบ รวมทั้งจิตใจเสียสละที่จะช่วยเหลือประชาชน โดยไม่ได้คำนึงถึงค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินแต่เพียงอย่างเดียว

ซึ่งไม่ว่าจะเป็นทนายความอาสาที่จะไปให้คำปรึกษาชั้นโรงพัก หรือทนายความขอแรงในชั้นศาล ล้วนเป็นไปตามระบบบัญชีรายชื่อ ไม่ได้จัดให้เหมาะสมกับสภาพ ของข้อหาของผู้ต้องหาหรือจำเลยคนนั้น

แม้ว่าทนายความจะเป็นผู้มีประสบการณ์การว่าความหรือเป็นผู้มีคุณธรรมจิตใจอาสาที่จะเสียสละก็ตาม แต่การช่วยเหลือประชาชนทางอรรถคดีความ ก็เปรียบเสมือนคนไข้หากเป็นโรคหัวใจก็ควรจะได้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ หรือหากเป็นคนไข้ก็จะต้องผ่าตัด ก็ควรจะได้รับการปรึกษาหรือช่วยเหลือจากศัลยแพทย์เป็นต้น


ดังนั้น เป็นโอกาสในช่วงที่มีการยกร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ประชาชนผู้ทุกข์ยาก หรือได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับคดีความที่จะได้รับการช่วยเหลือทางกฎหมายจากทนายความสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ และจากทนายความสาธารณะที่มีคุณภาพ หากจะมีการบัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 โดยยึดถือถ้อยคำตามหลักการพื้นฐานของสหประชาชาติว่าด้วยบทบาทของนักกฎหมายทั้งรัฐ อันเป็นการประกาศให้นานาชาติได้รับรู้ถึงการพัฒนาการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมให้เทียบเท่าสากล

หากได้มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นหลักประกันให้ประชาชนผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนและไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและได้รับความยุติธรรมจากกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ชั้นตำรวจไปจนถึงชั้นการพิจารณาคดีของศาลอย่างแท้จริง

......อ่านแล้วก็นะ.....ทนายฟรีจริงๆ ก็คงจะไม่มี แล้วถึงมีก็คงคาดหวังอะไรมากไม่ได้อีก.......
อย่างว่านะครับ .......


183.89.188.56

sakdina

sakdina

ผู้เยี่ยมชม

rujaya@hotmail.com

Utopia

Utopia

ผู้เยี่ยมชม

ply_nana9@hotmail.com

16 ต.ค. 2553 16:47 #10

ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้เพิ่มอีกแย้ว..

183.89.188.56

Utopia

Utopia

ผู้เยี่ยมชม

ply_nana9@hotmail.com

แอน

แอน

ผู้เยี่ยมชม

ann.kwanta@hotmail.com

18 ต.ค. 2553 20:07 #11

มีหลานชายโดนรถชนที่ท้องสน.อุดมสุขคะ เป็นฝ่ายถูกชนแท้ ๆ คู่กรณีขับรถมอไซร์ แต่ขับเลนขวามา (แถมขับรถมือเดียว เพราะอีกมือถือสิ่งของบางอย่าง) หลานชายขับรถออกมาจากซอย เพื่อจะวิ่งรถไปทางสวนหลวง ร.9 (ออกมาจากซอยที่อยู่ฝั่งเดียวกับสวนหลวง ร.9 ) ขับออกมา รอออกเลนขวา ในเส้นระยะปลอดภัยและรถก็จอดรออยู่(อยู่ตรงกลางระหว่าง 2 เลน) แล้วก็มีรถมอไซร์ของคู่กรณี วิ่งลงมาจากสะพาน แล้วเสียหลักชนรถของหลานของฉัน (หลานของฉันมีแฟนซ้อนท้ายมาด้วย) ทั้งหมดบาดเจ็บ แต่หลานของฉันแน่นิ่งไปไม่หายใจ มีบาดแผลที่หูเลือดใหล และใบหูฉีก ส่วนแฟนของเขามีแผลถลอกทั้งตัว ส่วนคู่กรณี มีแผลที่ตัวและใบหน้า เป็นการโชคดีที่มีตำรวจจากสน.อุดมสุข ผ่านมาพอดี จึงช่วยเหลือ ปั้มห้วใจ หลานของฉันจึงหายใจขึ้นมา และ รถร่วมกตัญญูหรือเปล่าไม่แน่ใจ ก็ผ่านมาช่วยเหลือต่อไป หลานฉันนอนโรงพยาบาล 3 วัน เพื่อรักษาแผลที่หู เพราะมีอาการปวดหัว ตลอด
หลังจากนั้นทางฉันจึงไปแจ้งความไว้ แจ้งไว้ว่าถูกชน ทางตำรวจสอบปากคำและลงบันทึกไว้
และอีกไม่กี่วันคู่กรณีก็มาแจ้งความว่าเราเป็นฝ่ายชน และเรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงิน 60000 บาท ทางตำรวจร้อยเวณ เรียกไปคุยให้ทางเราชดใช้ค่าเสียหายให้เขา ฉันเลยถามตำรวจไปว่า คู่กรณีขับรถเลนขวาผิดใหม และขับรถมามือเดียว ทางตำรวจไม่ตอบ และเลี่ยงประเด็น (หลานฉันเป็นเด็ก แต่คู่กรณีเป็ผู้ใหญ่ ) ฉันเลยถามว่าสรุปทางฉันผิดใช้ไหมถึงต้องชดใช้ค่าเสียหาย ตำรวจตอบว่าไม่ผิด แต่คู่กรณีบาดเจ็บ ฉันถามว่า ถ้าวันเกิดเหตุตำรวจไม่ผ่านมาพอดี หลานฉันก็ต้องตายใช้ไหม เพราะเขาไม่หายใจเลย แล้วทำไมผลออกมาเป็นแบบนี้ ตำรวจบอกว่าทางเราไม่ผิด แต่ให้ใช้ค่าเสียหายให้.
ทางเราไม่ชดใช้ ตำรวจบอกว่า ตกลงกันไม่ได้ ก็จะฟ้องทั้ง 2 ฝ่าย ว่าขับรถประมาณ เราก็ไม่เป็นไร แฟร์ดี แต่พอเรื่องไปที่ศาล มันกลายเป็นคนละเรื่องกัน ตำรวจแจ้งข้อหาทางฉันว่า ขับรถชนผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส (คำว่าสาหัสในเอกสารของศาลมีการเติมเพื่มเข้าไปภายหลัง โดยไม่มีการกำกับชื่อไว้) สาเหตุที่รู้ถึงรายละเอียดเพราะล่าสุดฉันไปศาลด้วยกับหลาน แต่ก่อนหน้านี้ไม้ได้ไป และแม่ของหลายฉันก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง ตำรวจพูดอะไรก็เชื่อหมด ตำรวจบอกว่าจะช่วย (ก็ไม่รู้ว่าช่วยอะไร และช่วยใคร) จึงทำให้รู้ว่าแจ้งข้อหาดังกล่าว และทางหลานฉันเป็นคนชน ส่วนคู่กรณี แจ้งข้อหา ขับรถประมาณจนเป็นให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ (อันนี้ทางตำรวจเป็นคนบอก ) ทางศาลเยาวชน บอกว่า ทางตำรวจเป็นผู้ฟ้องคดี แต่ฟ้องให้ทางคู่กรณี มันไม่เห็นเหมือนกับที่บอกไว้เลย สงสัยเห็นแม่เด็ก และเด็ก ดูโง่ ๆ มั่งคะ ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นหรือเปล่าคะ ทางเรามีพยานชัดเจน ตอบได้หมด กับกลายเป็นฝ่ายผิด ทางคู่กรณีบอกตำรวจว่าไม่ได้ถือถังน้ำมันมา เกี่ยวมากับรถ ตำรวจยังเชื่อเลย ทั้ง ๆ ที่พูดคนเดียว ไม่มีพยานเลย
ก็ยังไม่รู้ว่าผลจะเป็นยังไง ทางศาลบอกว่าให้ไปคุยกับทางตำรวจเรื่องคดี เพราะศาลทำตามที่สน.แจ้งมา แต่คิดว่าคงทำอะไรไม่ได้ เพราะเวลาถามอะไรก็พยายามเปลี่ยนเรื่อง เพราะฉันเป็นคนไปคุยเอง พอคุยกับคนที่รู้ก็ตอบคำถามไม่ได้ อยากรู่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นถูกต้องแล้วหรือคะ และศาลก็นัดฟังผล ว่าเด็กจะมีความผิดหรือไม่ ล่าสุดเลื่อนวันฟังผลแต่ให้ไปประเมิณราคา ถ้าเกิดผิดจริงเด็กต้องถูกดำเนินคดี และต้องประกันตัว เพื่อสู่คดีต่อไป แต่สงสัยคะว่า ทางเราเป็นฝ่ายถูกชนแต่ทำไมตำรวจแจ้งข้อหาว่าเราเป็นฝ่ายชนคะ อย่างนี้ผลก็ต้องตัดสินว่าเราผิดซิคะ เราทำอะไรไม่ได้เลยเหรอคะ เพราะทางศาลก็ต้องเชื่อในข้อมูลที่ทางตำรวจส่งมาให้ ทางคู่กรณีทำงานที่อู่ซ่อมรถในท้องที่นั้น ทางเราเลยไม่แน่ใจว่า จะมีการเข้าข้างคุ่กรณีหรือเปล่าคะ ช่วยแนะนำด้วยนะคะว่าต้องทำไงบ้าง ศาลนัดฟังผลวันที่ 27 ต.ค. 53 คะ

58.8.99.199

แอน

แอน

ผู้เยี่ยมชม

ann.kwanta@hotmail.com

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

19 ต.ค. 2553 23:47 #12

            ตอบคำถามคุณแอน
            บางครั้งบางเหตุการณ์มันทำให้เรารู้สึก และตั้งคำถามว่าความยุติธรรมอยู่ที่ไหน มีอยู่จริงหรือไม่ ทำไมจึงไม่ได้รับความเป็นธรรมทั้งๆ ที่เป็นฝ่ายถูกกระทำ เรื่องดังกล่าวนี้เกิดขึ้นและมีอยู่มากมายในสังคมไทย
            สำหรับกรณีของหลานคุณจะได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ก็ต้องไปว่ากล่าวกันที่ศาลตามขั้นตอนของกฎหมายครับ ซึ่งกระบวนการดำเนินคดีในประเทศไทยเป็นระบบกล่าวหา เมื่อเกิดเหตุกระทำความผิดขึ้นจะเริ่มต้นโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นผู้รวบรวบพยานหลักฐาน และสรุปสำนวนส่งพนักงานอัยการฟ้องศาลต่อไป ศาลจะทำหน้าที่กลั่นกรองข้อเท็จจริงแห่งคดี  พิจารณาวินิจฉัย และพิพากษาไปตามพยานหลักฐาน ไม่ได้เชื่อตามที่ตำรวจสรุปคดีมาแต่อย่างใด  
ดังนั้น การที่หลานคุณเป็นฝ่ายถูกชน แต่กลับถูกฟ้องร้องดำเนินคดีเสียเองทั้ง ๆ ที่ไม่เป็นความจริงนั้น ก็ต้องทำการพิสูจน์ความจริงกันในชั้นศาล และการที่คุณโต้แย้งว่า หลานไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา ก็ต้องหาพยานหลักฐานมาสนับสนุน แต่เบื้องต้นหลานคุณต้องให้การปฏิเสธ และแถลงต่อศาลว่าต้องการทนายความ ซึ่งศาลจะจัดหาทนายขอแรงให้โดยหลานไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ส่วนการสืบพยานเพื่อยืนยันว่าไม่ได้กระทำผิดนั้น ก็ให้หลานและแฟนเบิกความแสดงความบริสุทธิ์ว่าไม่ได้กระทำผิด และหาพยานคนกลางมาเบิกความต่อศาล เพราะจะมีน้ำหนักให้รับฟังมากกว่าคู่ความในคดีเพราะไม่มีส่วนได้เสีย โดยต้องไปสืบหาบริเวณสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งอาจจะมีพยานผู้เห็นเหตุการณ์ก็เป็นได้ สำหรับประเด็นอื่นๆที่ต้องสนใจเป็นพิเศษก็คือแผนที่เกิดเหตุ รถหลานถูกชนบริเวณไหน รถคู่กรณีได้รับความเสียหายจุดไหน ภาพถ่ายความเสียหาย เพื่อดูว่าใครขับขี่ตัดหน้ากัน ซึ่งจะต้องพิจารณาจุดเกิดเหตุและพยานแวดล้อมอื่นประกอบด้วย
            ตามข้อเท็จจริงที่คุณกล่าวมา หากเป็นเช่นนั้นจริงผู้ที่ต้องถูกดำเนินคดีก็ต้องเป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ใช่หลานคุณแน่นอน แต่เมื่อหลานคุณถูกกล่าวหาก็ต้องนำสืบพยานหลักฐานมาหักล้าง และหากต่อมาศาลพิพากษาว่าหลานไม่ได้กระทำความผิด หลานคุณก็มีสิทธิฟ้องกลับคู่กรณีฐานแจ้งความเท็จ ฟ้องเท็จ หรือเบิกความเท็จ นอกจากนี้ ก็มีสิทธิดำเนินคดีกับเจ้าพนักงานตำรวจข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และเรียกร้องค่าเสียหายต่าง ๆ ได้ด้วย
            อนึ่ง ตามที่คุณบอกว่าศาลนัดฟังผลนั้นคือนัดฟังคำพิพากษาแล้วหรือไม่ ผมจึงไม่ทราบว่าขณะนี้ศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปถึงไหนแล้ว ยังไงก็โทรมาสอบถามเพิ่มเติมดีกว่า ขอให้โชคดีครับ

27.130.185.61

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

จำนงค์

จำนงค์

ผู้เยี่ยมชม

llwswonder@hotmail.com

2 พ.ย. 2553 18:38 #13

สวัสดีค่ะ มีเรื่องอยากขอคำปรีกษาเบื้องต้นค่ะ

ถ้าเราต้องการ ฟ้องร้องคดีเงินกู้ยืม จะเริ่มต้นอย่างไรคะ

ตามหาตัวลูกหนี้ไม่พบ ลูกหนี้มีที่อยู่ไม่แน่นอน ติดต่อไม่ได้ ลูกหนี้คงจะมีเจตนาให้สัญญาเงินกู้หมดอายุ เพราะ 7 ปีแล้ว

ลูกหนี้ได้มากู้ยืมเงินไปจำนวนหนึ่ง โดยให้โฉนดที่ดินประกันไว้ โดยที่ สัญญาทำขึ้นเองระหว่าง ผู้ให้กู้ และผู้กู้ โดยที่ไม่มาติดต่อเลย หลังจากได้กู้ไปแล้ว

ผู้ให้กู้ทำได้เพียงไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐานเท่านั้นเอง แต่อยากจะฟ้องร้องให้ลูกหนี้ชดใช้เงินที่ได้กู้ยืมไป

เราจะเริ่มต้นอย่างไรคะ รบกวน ด้วยค่ะ ขอขอบพระคุณค่ะ

124.120.214.212

จำนงค์

จำนงค์

ผู้เยี่ยมชม

llwswonder@hotmail.com

เลขาทนายภูวรินทร์

เลขาทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

3 พ.ย. 2553 22:48 #14

เรื่องที่ทางคุณจำนงค์ได้ขอคำปรึกษา ฟ้องร้องเงินกู้ยืม ทางทีมทนายคุณภูวรินทร์ได้ส่งคำตอบให้ทาง e-mail แล้วนะคะ
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ค่ะ

182.232.69.206

เลขาทนายภูวรินทร์

เลขาทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

จำนงค์

จำนงค์

ผู้เยี่ยมชม

llwswonder@hotmail.com

5 พ.ย. 2553 12:27 #15


ขอบพระคุณ ทีมทนายคุณภูวรินทร์ และ เลขาทนายภูวรินทร์ ค่ะ

ได้อ่านคำตอบเรียบร้อยแล้วค่ะ และยังมีข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมคำถามเพิ่มเติม จะขอรวบกวนสอบถามต่อค่ะ
เบื้องต้นนี้ ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ

124.121.222.40

จำนงค์

จำนงค์

ผู้เยี่ยมชม

llwswonder@hotmail.com

คนกลุ้มใจ

คนกลุ้มใจ

ผู้เยี่ยมชม

ple_spk@hotmail.com

8 พ.ย. 2553 10:39 #16

ดิฉันขอคำปรึกษาหน่อยนะคะ คือว่าหลานชายดิฉันถูกตำรวจจับข้อหายิงคนตาย แต่หลานดิฉันไม่ได้ทำเนื่องจากวันเกิดเหตุหลานไปกินเนื้อย่างอยู่ที่บ้านเพื่อนหลายคนตอนเกิดเหตุยิงกันก็ราวเวลาประมาณ 6ทุ่ม-ตี 1 ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับที่หลานขับรถกลับเข้าบ้านพอดี พอช่างเย็นอีกวันตำรวจก็มาที่บ้านและเอาตัวปสอบสวนซึ่งหลานดิฉันก็ยืนยันนอนยันว่าไม่รู้เรืองและไม่รู้จักคนตายเลย เป็นแบบนี้พอจะมีทางช่วยอย่างไรบ้างคะ

125.26.112.101

คนกลุ้มใจ

คนกลุ้มใจ

ผู้เยี่ยมชม

ple_spk@hotmail.com

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

9 พ.ย. 2553 23:05 #17

ตอบคำถามคนกลุ้มใจ  หากหลานยืนยันว่าไม่ได้กระทำผิดและมีพยานบุคคลยืนยันความบริสุทธิ์ก็ให้การปฏิเสธและต่อสู้คดีในชั้นศาล โดยอ้างฐานที่อยู่ สืบพยานบุคคลประกอบครับ ส่วนศาลจะพิพากษายกฟ้องหรือลงโทษก็ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานทั้งหมดในสำนวนคดี ซึ่งจะทราบได้ในวันสืบพยานครับ

183.89.195.89

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

คนกลุ้มใจ

คนกลุ้มใจ

ผู้เยี่ยมชม

ple_spk@hotmail.com

10 พ.ย. 2553 11:02 #18

ขอบคุณมากคะ คงต้องสู้กันที่ชั้นศาลเพราะตอนนี้หลานอยู่สถานพินิจฯแล้ว

113.53.103.126

คนกลุ้มใจ

คนกลุ้มใจ

ผู้เยี่ยมชม

ple_spk@hotmail.com

เอก

เอก

ผู้เยี่ยมชม

aekchai.k@hotmail.com

4 ม.ค. 2554 18:46 #20

ผมขอคำปรึกษาหน่อยนะครับ คือ ผมเคยเป็นพนักงานเก็บเงินให้กับบริษัทแห่งหนึ่งและได้ลาออกจากบริษัทนี้มาประมาณ3ปีแล้ว แต่อยู่ดีๆเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาได้มีหมายศาลมาที่บ้านบอกว่าผมได้ฉ้อโกงเงินบริษัทมา4หมื่นกว่าบาทแต่ผมมีเอกสารในการส่งเงินครบผมจะต้องทำอย่างไรบ้างครับ!

223.206.166.144

เอก

เอก

ผู้เยี่ยมชม

aekchai.k@hotmail.com

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

6 ม.ค. 2554 21:10 #21

ตอบคำถามคุณเอก
               กรณีของคุณเมื่อถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดและถูกดำเนินคดีที่ศาล ก็ต้องแสดงความบริสุทธิ์ของตนเอง โดยไปสถานีตำรวจหรือศาลตามที่พนักงานสอบสวนหรือศาลนัดหมายเพื่อให้การต่อสู้คดีนำสืบพยานหลักฐานที่คุณกล่าวอ้างตามกระบวนการและขั้นตอนของกฎหมาย
             ทั้งนี้ คุณมีสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับความช่วยเหลือทางด้านทนายความ (ทนายขอแรง) จากศาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าคุณไม่ได้กระความผิด คุณก็มีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมอีกด้วย

183.89.47.49

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

Jeab

Jeab

ผู้เยี่ยมชม

jeabcopper@hotmail.com

12 มี.ค. 2554 21:20 #22

ขอคำปรึกษาค่ะ ตอนนี้ดิฉันท้อง 1 เดือนบอกแฟนที่คบกันแต่ไม่ได้อยู่ด้วยกัน(อายุเกิน 25ปีทั้งคู่ค่ะ) เขาบอกไม่พร้อมอยากให้เอาเด็กออกแต่ดิฉันไม่เอาออกกลัวบาป พอเขาทราบว่าท้องเขาก็ไม่มาหาแล้วส่งเมล์มาบอกเลิก ดิฉันไม่รู้จักญาติพี่น้อง เพื่อน เขาเลย เขาตัดการติดต่อทุกทาง ดิฉันกำลังจะย้ายกลับไปอยู่บ้านต่างจังหวัด ดิฉันจะทำไงได้บ้างในทางกฎหมายค่ะ เพราะตอนนี้ที่บ้านยังไม่รู้แต่อีกไม่นานก็ต้องรู้ รบกวนคุณทนายด้วยค่ะ

118.174.108.30

Jeab

Jeab

ผู้เยี่ยมชม

jeabcopper@hotmail.com

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

14 มี.ค. 2554 23:50 #23

ตอบคำถามคุณ Jeab

          ตามข้อเท็จจริงที่เล่ามานั้น ในทางกฎหมายได้บัญญัติให้คุณมีสิทธิฟ้องขอให้รับรองบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูเท่านั้นครับ และสำหรับเรื่องนี้ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ชายที่ทำหญิงท้องแล้วไม่รับผิดชอบมีความผิดและต้องรับโทษทางอาญาแต่อย่างใดด้วย  ดังนั้น จึงไม่สามารถแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีได้

183.89.57.110

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้