ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

  ข้อดี - ข้อเสียของการจัดตั้งบริษัทจำกัด (28300 อ่าน)

3 ต.ค. 2553 20:52

ข้อดีและข้อเสียของการจัดตั้งธุรกิจเป็นบริษัทจำกัด
บริษัทจำกัดมีรูปแบบการจัดตั้งธุรกิจที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียเป็นการเฉพาะเจาะจง จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนที่สนใจจะทำธุรกิจควรที่จะศึกษาก่อนลงมือจัดตั้งบริษัทในอนาคต ก่อนจด มารู้ข้อดี-ข้อเสีย กันก่อน
รูปแบบการจัดตั้งธุรกิจถือเป็นหัวข้อปักหมุดสำคัญอันดับแรกๆซึ่งผู้ประกอบการทุกคนจะต้องให้ความสนใจในเรื่องนี้ให้มากเป็นพิเศษสำหรับธุรกิจที่เพิ่งก่อตั้ง เพราะนั่นหมายถึงการปูทางและวางรูปแบบการบริหารงานในอนาคตซึ่งไม่สามารถที่จะผิดพลาดได้และผู้ประกอบการมีโอกาสเพียงแค่ครั้งเดียวในการตัดสินใจเลือกรูปแบบการดำเนินธุรกิจอันเหมาะสมที่สุด ซึ่งปัจจุบันการจัดตั้งบริษัทในลักษณะรูปแบบของบริษัทจำกัดกำลังเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่นักลงทุนหน้าใหม่ๆ
สาเหตุมีที่มาที่ไปเกิดจากอะไร ทำไมจึงทำให้รูปแบบการจัดตั้งธุรกิจในลักษณะบริษัทจำกัดจึงเป็นที่ได้รับความนิยมมากกว่าในปัจจุบัน ก่อนอื่นต้องของอธิบายความหมายที่แท้จริงของบริษัทจำกัดเสียก่อน
บริษัทจำกัดคืออะไร ?
บริษัทจำกัดเป็นรูปแบบการจัดตั้งธุรกิจอย่างหนึ่งในสังคมเศรษฐกิจอันมีการพัฒนาแนวคิดและทฤษฏีที่ได้รับการต่อยอดมาจากรูปแบบธุรกิจที่มีเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวในอดีต โดยบริษัทจำกัดจะมีรูปแบบการก่อตั้งในลักษณะที่เป็นนิติบุคคล หมายถึง การรวมตัวกันของกลุ่มบุคคลเพื่อดำเนินการสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยมีการสมมติตัวตนขึ้นโดยมีกฎหมายเป็นผู้รับรองการมีตัวตนอยู่จริง
* บริษัทจำกัดจะต้องมีการจดทะเบียนตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยต้องมีผู้ร่วมลงทุนอย่างน้อยที่สุด 3 คน แบ่งทุนออกเป็นหุ้นๆและมีมูลค่าหุ้นแต่ละตัวเท่ากันทั้งหมด โดยผู้ถือหุ้นจะมีส่วนรับผิดชอบตามจำนวนของหุ้นที่ตนเองถือเท่านั้น จึงเป็นที่มาของคำว่าบริษัทจำกัดนั้นเอง
บริษัทจำกัดมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ผู้ประกอบการพึงจะต้องนำมาใช้เป็นหลักเหตุผลในการอ้างอิงเพื่อการจัดตั้งบริษัทของตนเองอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามรูปแบบการดำเนินธุรกิจ
ข้อดี มีดังต่อไปนี้
1. จำกัดความรับผิดชอบตามจำนวนหุ้นที่ถือจริง
 ข้อนี้ถือเป็นประโยชน์ที่เด่นชัดมากที่สุดของการจัดตั้งบริษัทในรูปแบบนี้ เพราะจำนวนเงินผลกำไรโดยเฉพาะในเรื่องของภาระหนี้สินจะถูกคิดตามจริงโดยนับจากจำนวนหุ้นที่ถือในบริษัท ไม่มีการกินส่วนเกินนำไปหักจากทรัพย์สินส่วนตัวเมื่อเกิดภาวะขาดทุนขึ้นกับบริษัท ซึ่งเรื่องนี้มักจะเกิดขึ้นเป็นประจำกับกับธุรกิจที่มีเจ้าของแบบคนเดียว
2.ระดมทุนได้บริษัทจำกัดเกิดขึ้นจากผู้ถือหุ้นที่มีจำนวนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป 
นั่นหมายถึงข้อจำกัดในเรื่องเงินทุนที่เป็นปัญหาสำหรับธุรกิจที่มีเจ้าของแต่เพียงคนเดียวจะถูกขจัดออกไป ผู้ประกอบการมีช่องทางในการเรียกระดมทุนได้ค่อนข้างมาก เช่น วิธีการขายหุ้นของบริษัท เป็นต้น
3.บริหารแบบมืออาชีพบริษัทจำกัดจะมีเงินลงทุนที่มากมายมหาศาลอันเกิดจากเงินของหุ้นส่วนแต่ละคน   
ดังนั้นปัจจัยข้อผูกมัดทางการบริหารจะไม่ได้ถูกผูกติดอยู่ที่เจ้าของแต่เพียงผู้เดียว จึงเป็นจุดกำเนิดของการจ้างผู้บริหารระดับมืออาชีพที่มีความรู้เฉพาะทางเข้ามาบริหารงานแทนเพื่อให้ธุรกิจสามารถทำกำไรตอบแทนผู้ถือหุ้นได้มากที่สุด
4.มีเครดิตและความน่าเชื่อถือ
ถ้าจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบบริษัทจำกัดที่ต้องดำเนินการทุกอย่างภายใต้กรอบระเบียบของกฎหมายจะมีผลดีที่เห็น
ได้ชัดเจนอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ ภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของบริษัทที่สาธารณชนภายนอกมองเข้ามาในองค์กรจะอยู่ในระดับที่สูงมาก เพราะมีกฎหมายเป็นตัวควบคุมและวางกรอบการดำเนินธุรกิจอยู่ตลอดเวลา นั่นเอง
5.โครงสร้างที่เอื้อประโยชน์ต่อการเติบโต
บริษัทจำกัดจะมีหลักในการบริหารที่สอนให้ทำทุกอย่างให้ออกมาดีที่สุด ซึ่งจะเป็นวิธีการทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตต่อไปได้อีกในอนาคต
6.เสียภาษีน้อยกว่า
ด้วยความที่บริษัทจำกัดมีการจัดตั้งในลักษณะของนิติบุคคลจึงทำให้ธุรกิจเสียภาษีในอัตราสูงสุดเพียงแค่ 30% เท่านั้น แต่ถ้าหากจัดตั้งธุรกิจในลักษระที่มีเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวผู้ประกอบการอาจโดนเรียกเก็บมากถึง 37% ก็ได้
ข้อเสีย
1.มีความยุ่งยากสลับซับซ้อน
เพราะความที่บริษัทจำกัดต้องดำเนินการทุกอย่างภายใต้กรอบของกฎหมายทำให้มีระเบียบที่คอยควบคุมการจัดตั้งบริษัทค่อนข้างมากจึงไม่ค่อยเหมาะสมกับผู้ประกอบการที่ไม่มีความรู้ในเรื่องของกฎหมายธุรกิจสักเท่าไหร่ 
2.รายได้ทุกอย่างต้องถูกแบ่งตามสัดส่วน
 ปัญหาข้อนี้จะเกิดขึ้นหากมีผู้ประกอบการคิดว่าส่วนแบ่งที่ตนเองได้ไม่คุ้มค่ากับที่ตนเองดำเนินการลงมือทำไปจริงๆ เพราะบางธุรกิจผู้ที่ถือหุ้นเยอะที่สุดบางครั้งมักจะไม่ใช่ผู้ที่ต้องเหน็ดเหนื่อยทำธุรกิจเอง จึงเกิดความน้อยใจสำหรับผู้ที่ถือหุ้นน้อยกว่าที่คิดว่าตัวเองถูกเอาเปรียบจากผู้ถือหุ้นคนอื่นๆ
3.ไม่มีอำนาจในการควบคุมและบริหารอำนาจบริหารมักจะถูกผูกขาดไว้ที่ผู้ที่ถือหุ้นมากที่สุด
ซึ่งหากผู้ประกอบการไม่ใช่ผู้ที่ถือหุ้นใหญ่สุดในบริษัทก็ยากที่จะกำหนดทิศทางการทำธุรกิจให้เป็นไปตามรูปแบบที่ตนเองต้องการ ขาดความคล่องตัวในการตัดสินใจ ธุรกิจเป็นเรื่องที่ต้องแข่งขันกับเวลา
เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการต่อสู้กับธุรกิจคู่แข่ง แต่เป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างลำบากมากหากเป็นบริษัทจำกัด เพราะทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจต้องเอาเข้าที่ประชุมเพื่อผ่านการเห็นชอบจากผู้ถือหุ้น แตกต่างกับธุรกิจที่มีเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวที่การตัดสินใจสามารถทำได้โดยทันที
4.ต้องมีการจัดทำบัญชีมีข้อกำหนดตามกฎหมายที่ถูกระบุเป็นตัวอักษรอย่างชัดเจนให้ธุรกิจที่จัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดต้องส่งตัวเลขงบดุลต่างๆทางบัญชี
ไปให้สำนักทะเบียนพาณิชย์เพื่อทำการเปิดเผยต่อสาธารณชน จึงทำให้ผู้ประกอบการต้องเสียเงินจ้างบริษัทบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตมาเป็นผู้ตรวจสอบและจัดการในเรื่องดังกล่าวให้
ถึงแม้การจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบบริษัทจำกัดจะได้รับความนิยมและมีข้อดีที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันค่อนข้างมาก แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เป็นตัวรับประกันว่าการจัดตั้งแบบบริษัทจำกัดจะประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจเสมอไป เพราะมีธุรกิจจำนวนมากที่จัดตั้งบริษัทในรูปแบบนี้แล้วประสบความล้มเหลวอันเนื่องมาจากปัจจัยในหลายๆภาคส่วนไม่เอื้ออำนวยต่อโครงสร้างของบริษัทจำกัด
 * ผู้ประกอบการจึงควรต้องคำนึงถึงผลดีและผลเสียทั้ง 2 ด้านนำมาใช้ประกอบควบคู่กันไปในการพิจารณาเลือกรูปแบบการจัดตั้งบริษัทที่ลงตัวและเข้ากันได้กับการดำเนินธุรกิจของท่านมากที่สุด


****************************************************
credit : http://incquity.com/articles/grow-your-biz    //Photo credit:  Andres Rodriguez

183.89.153.21

ทนายภูวรินทร์

ทนายภูวรินทร์

ผู้ดูแล

phuwarinlawyer@hotmail.com

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้