ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ
   ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ
   ศาลยุติธรรม
   ศาลแพ่ง
   ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
   ศาลอาญา
   ศาลอาญากรุงเทพใต้
   ศาลอาญาธนบุรี
   ศาลแพ่งธนบุรี
   ศาลจังหวัดตลิ่งชัน
   ศาลจังหวัดมีนบุรี
   ศาลแขวงพระนครเหนือ
   ศาลแขวงพระนครใต้
   ศาลแขวงปทุมวัน
   ศาลแขวงดุสิต
   ศาลแขวงธนบุรี
   ค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา
   ค้นหากฎหมายไทย
   อัตราค่าส่งหมายทั่วประเทศ
   ดาวน์โหลดแบบฟอร์มศาลยุติธรรม
   เนติบัณฑิตยสภา
   สภาทนายความ
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกา
   ห้องสมุดกฎหมายไทย 1.1
   ห้องสมุดกฎหมายไทย 2.1
   ห้องสมุดกฎหมายไทย 2.2
   ห้องสมุดกฎหมายคณะกรรมการกฤษฎีกา
สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 6
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 143
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 2,567,147
 เปิดเว็บ 02/06/2553
 ปรับปรุงเว็บ 17/02/2565
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
5 ตุลาคม 2566
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
10  11  12  13  14 
15  16  17  18  19  20  21 
22  23  24  25  26  27  28 
29  30  31         
             
 Webboard

การตอบคำถามทางเว็บไซท์ http://www.phuwarinlawyer.com/ 
เป็นเพียงความคิดเห็นเบื้องต้นทางกฎหมายซึ่งได้วินิจฉัยและตอบคำถามจากข้อเท็จจริงเพียงเท่าที่ปรากฏเท่านั้น
โดยอาจมีรายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อมูลอื่นๆ ที่ผู้ถามมิได้แจ้งข้อมูลมาอย่างครบถ้วนที่จะประกอบการวินิจฉัยอย่างเพียงพอ
ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณประกอบการตัดสินใจ
**************************************************************

ติดต่อปรึกษาทางโทรศัพท์  081-9250-144 หรือ Line ID 081-9250-144
**กรณีหากไม่รับสายแสดงว่าติดภารกิจศาลหรือติดงาน กรุณาโทรติดต่อใหม่อีกครั้ง**

lawyer.makewebeasy.com > ปรึกษาปัญหากฎหมายทั่วไป > ชาวต่างชาติเสียชีวิตทายาทไม่อยู่ในประเทศไทย
  ผู้เขียน
 หัวข้อ : ชาวต่างชาติเสียชีวิตทายาทไม่อยู่ในประเทศไทย (อ่าน 8945)   
praklom
Guest
praklom@gmail.com
เมื่อ 24 มีนาคม 2560 18:56 น.
ขอเรียนปรึกษาว่า กรณีชาวต่างชาติเสียชีวิตในไทยมีทรัพย์สินพวก รถยนต์ เงินฝาก แต่ไม่มีทายาทอยู่ในประเทศไทย จะมอบหมายให้คนรู้จักที่อยู่ในประเทศไทยดำเนินการให้ได้ไหมคะแล้วต้องทำอย่างไร หรือหากทายาทเดินทางมาประเทศไทยเองสามารถจัดการทรัพย์สินได้ ไหมซึ่งกรณีนี้มีทายาทหลายคนแต่จะมอบให้คนใดคนหนึ่งเดินทางมาดำเนินการแทนจะได้ไหมต้องมีเอกสารอะไรมาแสดงคะ อีกประเด็นคือ ชาวต่างชาติที่ตายนั้นสาเหตุการตายเกิดจากการขับขี่รถไปชนกันกับคู่กรณีคนไทย และยังเป็นคดีความในส่วนของคดีหากจะมอบให้คนไทยที่รู้จักดำเนินการเรื่องคดีให้ต้องทำอย่างไร
เลขาทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
Admin
phuwarinlawyer@gmail.com
ตอบ # 1 เมื่อ 24 มีนาคม 2560 21:37 น. [แจ้งลบ]
เนื่องจากคุณทนายภูวรินทร์ติดธุระทำคดีที่ศาลต่างจังหวัดประมาณ 3-4 วัน ดิฉันจึงได้ฝากข้อความ เรื่องราวและคดีความรวมถึงทุกปัญหาที่ทุกท่านได้ฝากไว้ให้กับทางคุณทนายภูวรินทร์แล้วค่ะ 

ซึ่งคุณทนายภูวรินทร์ขอเรียนแจ้งว่า สำหรับทุกปัญหานั้นคุณทนายจะรีบกลับมาตอบให้อีกครั้งและจะติดต่อกลับทุกท่านที่มีความทุกข์ใจด้านกฎหมายค่ะ 

กรณีที่ต้องการสอบถามข้อกฎหมายเร่งด่วนนั้นสามารถติดต่อคุณทนายภูวรินทร์ได้ที่เบอร์ 
 081-9250-144

หรือสอบถามไปทางไลน์ ID LINE  081-9250-144




ขอขอบคุณและขออภัยในความล่าช้าค่ะ
ทนายภูวรินทร์ 081-9250-144
Admin
phuwarinlawyer@gmail.com
ตอบ # 2 เมื่อ 29 มีนาคม 2560 13:59 น. [แจ้งลบ]

        ตามหลักกฎหมายเมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท ส่วนกองมรดกของผู้ตายที่จะตกทอดแก่ทายาท ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

        ทายาทโดยธรรมที่จะมีสิทธิรับมรดกมี 6 ลำดับ แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ

        (1) ผู้สืบสันดาน

        (2) บิดามารดา

        (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

        (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

        (5) ปู่ ย่า ตา ยาย

        (6) ลุง ป้า น้า อา



        คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในอัตราตามทายาทลำดับที่ 1 – 6

        ส่วนแบ่งของทายาทแต่ละลำดับ กรณีผู้ตายมีบุตรซึ่งเป็นทายาทชั้นผู้สืบสันดานหลายคนก็จะแบ่งมรดกในอัตราคนละส่วนเท่ากัน หากมีทายาทลำดับที่ 2 คือ บิดามารดาของผู้ตาย ก็จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับผู้สืบสันดาน เช่นมีบุตร 2 คน พ่อกับแม่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ ก็จะแบ่งมรดกเป็น 4 ส่วน ตกได้คนละส่วนเท่ากัน



        ตามกฎหมายเมื่อทายาทลำดับที่ 1 – 2 มีชีวิต ทายาทลำดับที่ 3 ลงไปจะหมดสิทธิรับมรดกโดยปริยาย

        สำหรับส่วนแบ่งของคู่สมรส หากผู้ตายมีบุตรจะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเท่ากับทายาทลำดับที่ 1 คือได้ส่วนแบ่งเท่าๆกันกับบุตร หากผู้ตายมีทายาทลำดับที่ 2 หรือ 3 แล้วแต่กรณี คู่สมรสจะมีสิทธิได้รับมรดกถึงกึ่งหนึ่งเลยทีเดียว แต่หากผู้ตายไม่มีทายาทลำดับที่ 1 – 3 แต่มีทายาทรับมรดกลำดับที่ 4 – 6 แล้วแต่กรณี คู่สมรสจะมีสิทธิได้รับมรดก 2 ใน 3 ส่วน สุดท้ายหากผู้ตายไม่มีทายาทลำดับที่ 1 – 6 คู่สมรสจะได้รับมรดกทั้งหมดเลย



         ตามคำถามชาวต่างชาติเสียชีวิตในประเทศไทย บุคคลที่มีสิทธิได้รับมรดกก็คือทายาทตามลำดับที่ 1 – 6 ดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น บุคคลที่จะมีสิทธิมาจัดการมรดก โดยยื่นคำร้องต่อศาลที่ชาวต่างชาติเสียชีวิตได้แก่ทายาทลำดับที่ 1 – 6 คือ หากมีบุตร หรือภรรยา ก็สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลแต่งตั้งบุคคลใดก็ได้เป็นผู้จัดการมรดก (คนยื่นต้องเป็นทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกเท่านั้น)



       ผู้จัดการมรดกไม่ใช่ผู้มีสิทธิรับมรดกก็ได้ เพราะผู้จัดการมรดกมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกและแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทที่มีสิทธิได้รับ หากจัดการมรดกไม่ถูกต้องเช่นเอาไปเป็นของตนก็มีสิทธิถูกดำเนินคดีอาญาข้อหายักยอกมีโทษจำคุกได้



เอกสารที่ต้องใช้ดูบทความมรดกของศาลแพ่งด้านล่างนี้



           ส่วนกรณีชาวต่างชาติถูกกระทำละเมิดจนเสียชีวิต หากมีบุตร (ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) หรือภรรยา หรือบิดามารดา บุคคลเหล่านี้สามารถฟ้องผู้กระทำละเมิดให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการขาดไร้อุปการะได้ครับ

 

ความรู้เกี่ยวกับการจัดการมรดกของศาลแพ่ง

ความหมายของมรดก

        มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายที่มีอยู่ก่อนถึงแก่ความตาย รวมทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ เช่น กรรมสิทธิ์ในที่ดิน รถยนต์ ห้องชุด สิทธิการเช่าซื้อ (แต่เงินบำเหน็จตกทอด เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ และเงินประกันชีวิตของผู้ตาย ไม่เป็นมรดกเพราะเป็นทรัพย์สินที่ได้มาภายหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้ว)

        ส่วนหนี้สินก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทด้วย  แต่ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน

 

บุคคลที่มีสิทธิรับมรดก

        ๑. ทายาทโดยธรรม

        ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และแต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ

        (1)  ผู้สืบสันดาน (รวมทั้งบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว และบุตรบุญธรรมด้วย)

        (2)  บิดามารดา

        (3)  พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

        (4)  พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

        (5)  ปู่ ย่า ตา ยาย

        (6)  ลุง ป้า น้า อา

        คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกเช่นกัน โดยสามีภริยาที่ร้างกัน หรือแยกกันอยู่โดยยังมิได้หย่าขาดจากกันตามกฎหมาย มิได้สิ้นไปซึ่งสิทธิโดยธรรมในการสืบมรดกซึ่งกันและกัน

        ๒. ผู้รับพินัยกรรม

ความหมายของผู้จัดการมรดก

        ผู้จัดการมรดก คือ บุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก โดยสิทธิตามกฎหมายในฐานะทายาทโดยธรรม หรือโดยพินัยกรรม ในฐานะผู้รับพินัยกรรม เพื่อทำหน้าที่รวบรวม ทำบัญชี และแบ่งมรดกให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย



เหตุที่ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

      ๑. เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่ต่างประเทศ หรือเป็นผู้เยาว์

      ๒. เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทโดยธรรมไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือแบ่งมรดก

      ๓. เมื่อข้อกำหนดตามพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ

ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

      ๑. ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก

      ๒. ผู้มีส่วนได้เสียในมรดก

      ๓. พนักงานอัยการ



คุณสมบัติของผู้จัดการมรดก

      ๑. บรรลุนิติภาวะ (มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์)

      ๒. ไม่เป็นคนวิกลจริต

      ๓. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

      ๔. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

หน้าที่ของผู้จัดการมรดก

       ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปและมีหน้าที่รวบรวมมรดกเพื่อแบ่งให้ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม ตลอดจนชำระหนี้สินของเจ้ามรดกแก่เจ้าหนี้ ทำบัญชีมรดกและทำรายการแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งมรดก โดยต้องจัดการไปในทางที่เป็นประโยชน์แก่มรดก ผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมใด ๆ ที่เป็นปรปักษ์ต่อมรดกไม่ได้

       หากผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ เช่น ปิดบังมรดกต่อทายาท หรือเพิกเฉยไม่แบ่งมรดกให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก หรือผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่าง อื่นที่สมควรก็ได้



เอกสารที่ใช้ร้องขอจัดการมรดก

๑ . กรณีบุตรกับบิดา / มารดา หรือบิดา / มารดากับบุตร

     ๑ . ๑ ใบสำคัญการสมรส หรือใบสำคัญการหย่าของบิดา มารดา ( กรณีสูญหายใช้ สำเนาทะเบียนสมรส หรือ ข้อมูลทะเบียนครอบครัว หรือ ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว หรือสำเนาทะเบียนการหย่า ที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแทน)

     ๑. ๒ สูติบัตรของบุตร ( กรณีสูญหายใช้สำเนาทะเบียนคนเกิด หรือ แบบรับรองรายการทะเบียนคนเกิดที่รับรองสำเนาถูกต้องโดย เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแทน) หรือ สำเนาทะเบียนบ้านของบุตรที่มีเลขประจำตัวประชาชนของบิดา หรือมารดา (กรณีไม่มีเลขประจำตัวของบิดาหรือมารดาให้ติดต่อสำนักงานเขตตามสำเนาทะเบียนบ้านของบุตรเพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการให้ หรือ ทะเบียนการรับรองบุตร หรือ ทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม

      ๑.๓ บัตรประจำตัวของผู้ร้องและผู้ตาย

      ๑.๔ มรณบัตรของผู้ตายหรือ แบบรับรองรายการทะเบียนคนตายของผู้ตาย

      ๑. ๕ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตาย หรือ แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร

      ๑. ๖ หลักฐานเกี่ยวกับมรดกของผู้ตาย เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด เงินฝากในธนาคาร ปืน รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หุ้น (กรณีที่ดิน หรือห้องชุดสูญหายหรือจดทะเบียนจำนองไว้ ใช้สำเนาโฉนดที่ดินหรือสำเนาหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่ รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแทน) สมุดคู่ฝากของธนาคาร คู่มือรายการจดทะเบียน รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ใบหุ้น ใบอนุญาตให้มี และใช้อาวุธปืน (กรณีสูญหายใช้สำเนาที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแทน)

      ๑. ๗ บัญชีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก

      ๑.๘ หนังสือให้ความยินยอมของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวที่รับรอง สำเนาถูกต้องโดยทายาทดังกล่าว (กรณีทายาทเป็นผู้เยาว์ใช้สูติบัตร)

      ๑.๙ มรณบัตรของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย เช่น บิดา มารดา คู่สมรส บุตร

      ๑.๑๐ หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อหรือชื่อสกุล ของผู้ร้อง หรือผู้ตาย หรือทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก



๒. กรณีคู่สมรส

      ๒. ๑ ใบสำคัญการสมรสของผู้ตาย (กรณีสูญหายใช้สำเนาทะเบียนสมรส หรือ ข้อมูลทะเบียนครอบครัว หรือ ทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว) 

      ๒. ๒ เอกสารตามข้อ ๑.๓ ถึง ๑.๑๐

๓. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

      ๓.๑ สูติบัตรของผู้ร้องและผู้ตาย (กรณีสูญหายใช้ สำเนาทะเบียนคนเกิด หรือ แบบรับรองรายการทะเบียนคนเกิด ที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องแทน) หรือ

      ๓. ๒ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ร้องและผู้ตายที่มีเลขประจำตัวประชาชนของบิดา และมารดา

      ๓.๓ เอกสารตามข้อ ๑.๓ ถึง ๑.๑๐

๔. ผู้รับพินัยกรรมหรือผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรม

      ๔ . ๑ พินัยกรรม

      ๔ . ๒ เอกสารตามข้อ ๑.๓ ถึง ๑.๑๐





 

 


์nannapas
Guest
nannapas@fcr-th.com
ตอบ # 3 เมื่อ 17 ตุลาคม 2560 11:09 น. [แจ้งลบ]
ขอเรียนปรึกษาว่า กรณีชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตในไทยมีทรัพย์สินเป็น เงินฝาก ที่เมืองไทย
มีญาติซึ่งเป็นน้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกันเป็น ต้องการเป็นยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดก (
โดยมีเอกสารเป็นภาษาญี่ปุ่นจากศาลญี่ปุ่นของ พี่ชายกับลูกชายว่าไม่ขอรับมรดก บิดามารดา และภรรยาเสียชีวิต )

ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการยื่นเป็นผู้จัดการมรดก ไม่สะดวกเดินทางมาดำเนินการที่ไทยหลายรอบ จึงอยากสอบถามว่ามีขั้นตอนและเอกสารอะไรบ้างที่เค้า จะสามารถดำเนินการเอาเงินออกจากบัญชีให้แล้วเสร็จโดยการเดินทางมาไทยแค่ 2 ครั้งได้หรือไม่คะ



Reply ตอบกลับกระทู้

ตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดเส้นใต้ ตัวขีดกลาง ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา รูปภาพ ลิ้งก์ ขนาดต้วอักษร สีต้วอักษร

    แนบไฟล์ :
(ขนาดไฟล์ไม่เกิน 2 MB.)
    ผู้เขียน : *
    E-mail : *
 ไม่ต้องการแสดง E-mail
    รหัสตรวจสอบ : Security Image
* กรุณากรอกรหัสที่อยู่ในรูป
Copyright by www.phuwarinlawyer.com
Engine by MAKEWEBEASY