ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ
   ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ
   ศาลยุติธรรม
   ศาลแพ่ง
   ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
   ศาลอาญา
   ศาลอาญากรุงเทพใต้
   ศาลอาญาธนบุรี
   ศาลแพ่งธนบุรี
   ศาลจังหวัดตลิ่งชัน
   ศาลจังหวัดมีนบุรี
   ศาลแขวงพระนครเหนือ
   ศาลแขวงพระนครใต้
   ศาลแขวงปทุมวัน
   ศาลแขวงดุสิต
   ศาลแขวงธนบุรี
   ค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา
   ค้นหากฎหมายไทย
   อัตราค่าส่งหมายทั่วประเทศ
   ดาวน์โหลดแบบฟอร์มศาลยุติธรรม
   เนติบัณฑิตยสภา
   สภาทนายความ
   กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
   สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกา
   ห้องสมุดกฎหมายไทย 1.1
   ห้องสมุดกฎหมายไทย 2.1
   ห้องสมุดกฎหมายไทย 2.2
   ห้องสมุดกฎหมายคณะกรรมการกฤษฎีกา
สถิติผู้เข้าชม
 ขณะนี้มีผู้เข้าใช้ 9
 ผู้เข้าชมในวันนี้ 49
 ผู้เข้าชมทั้งหมด 2,478,418
 เปิดเว็บ 02/06/2553
 ปรับปรุงเว็บ 17/02/2565
กรุณาฝาก Email ของท่าน
  เพื่อรับข่าวสาร ที่น่าสนใจ
1 มิถุนายน 2566
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
    
10 
11  12  13  14  15  16  17 
18  19  20  21  22  23  24 
25  26  27  28  29  30   
             
การสิ้นสุดการสมรสและเหตุการฟ้องหย่า
การสิ้นสุดการสมรส
เมื่อมีการสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้วการสมรสนั้น จะสิ้นสุดลงด้วยเหตุต่าง ๆ ดังนี้
      ๑. เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย
      ๒. เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนเพราะการสมรสนั้นตกเป็นโมฆียะ
          (ขอให้ดูเรื่องการสมรสที่เป็นโมฆียะ)
      ๓. โดยการหย่าซึ่ง การหย่านั้น ทำได้ ๒ วิธี
           ๓.๑ หย่าโดยความยินยอม คือ กรณีที่ทั้งคู่ตกลงที่จะหย่ากันได้เอง กฎหมายบังคับว่า
การหย่าโดยความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย ๒ คนและถ้า
การสมรสนั้นมีการจดทะเบียนสมรส (ตามกฎหมายปัจจุบัน)       

         การหย่าก็ต้องไปจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียน ที่อำเภอหรือกิ่งอำเภอด้วย   มิฉะนั้นการ
หย่าย่อมไม่สมบูรณ์

           ๓.๒ หย่าโดยคำพิพากษาของศาล กรณีคู่สมรสฝ่ายหนึ่งประสงค์จะหย่าแต่อีกฝ่าย
หนึ่งไม่ต้องการหย่า จึงต้องมีการฟ้องหย่าขึ้น

 
                                   

เหตุที่จะฟ้องหย่าได้ คือ ...
      (1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามีเป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วม
ประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

       (2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่
ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง

            (ก)ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
            (ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติ
ชั่วอยู่ต่อไป หรือ
 
          (ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็น
อยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

      (3) สามีหรือภริยาทำร้ายหรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียด
หยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้น
ฟ้องหย่าได้

      (4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
           (4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีใน
ความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็น
เป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีก
ฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควรอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

           (4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา
ได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปีหรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

      (5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็น
เวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไรอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

      (6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควรหรือ
ทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ถ้าการกระทำนั้น
ถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกัน
ฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

      (7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยาก
จะหายได้กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้อีก
ฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

      (8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติอีกฝ่าย
หนึ่งฟ้องหย่าได้

      (9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและ
โรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

     (10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วมประเวณีได้
ตลอดกาลอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
            


        *************************************************************

      อนึ่ง การฟ้องหย่านั้น ต้องอ้างเหตุฟ้องหย่าตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าวแล้วเท่านั้น
และจะต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อว่า ฝ่ายที่ถูกฟ้องหย่าได้ประพฤติตนไม่สมควรแก่การเป็นสามี
ภรรยากัน หรือกระทำการอันเป็นเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดเป็นเหตุฟ้องหย่าด้วย ศาลจึงจะ
พิพากษาให้หย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากัน 

      ดังนั้น การฟ้องหย่าจึงไม่สามารถอ้างเหตุว่า คู่สมรสเข้ากันไม่ได้  หรือไม่รักกัน
แล้วหรืออยู่ด้วยกันไม่ได้ หรือไม่มีเยื่อใยต่อกันหรือไม่มีเพศสัมพันธ์กัน  เป็นต้น

เรื่องนี้ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาวินิจฉัยถึงเหตุที่จะเอามาอ้างฟ้องหย่าว่าต้องเป็นไปตามเงื่อน
ไขที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจนเท่านั้น คือ       คำพิพากษาศาลฎีกาที่
1412/2543 “เหตุฟ้อง
หย่าอันที่มิใช่เกิดจากความยินยอมพร้อมใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ มาตรา
1516  นั้น โจทก์ต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายประพฤติตนไม่
สมควรหรือกระทำการอันเข้าเงื่อนไขที่มาตรา
1516 ได้ระบุไว้ นอกจากอนุมาตรา(4/2) ส่วนเหตุ
ฟ้องหย่าที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็ต้องเกิดจากความสมัครใจโดยแท้
จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย มิใช่สมัครใจเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น หากพฤติการณ์แห่งคดีมิได้
เป็นไปดังที่ได้กล่าวมาทั้งสองกรณีนี้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย แม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกัน
หรือไม่มีเยื่อใยต่อกัน และไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีกแล้วก็ตาม

       แม้จะถูกฟ้องหย่าหลายครั้ง จำเลยก็ไม่เคยคิดที่จะฟ้องหย่าโจทก์หรือมีความประสงค์ที่
จะหย่าขาดจากโจทก์แต่อย่างใด รวมทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติกรรมในทำนองชู้สาวกับ
ชายอื่นหรือนอกใจโจทก์ ตรงข้ามกับโจทก์ซึ่งมีพฤติกรรมอันส่อแสดงว่านอกใจจำเลยและ
ยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา จึงเป็นเหตุที่ทำให้จำเลยต้องทำหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรม
ต่อปลัดกระทรวงมหาดไทยและสำนักราชเลขาธิการ รวมทั้งทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงต่อ
บิดาและมารดาของหญิงที่ยุ่งเกี่ยวกับสามีของตน ตลอดจนฟ้องเรียกค่าทดแทนจากหญิงนั้น
ด้วย การที่จำเลยต้องกล่าวพาดพิงถึงโจทก์ในหนังสือร้องเรียนและเบิกความเป็นพยานในคดี
ดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงนั้นแม้ถ้อยคำบางคำอาจเกินเลยและรุนแรง
ไปบ้างก็ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวด้วยความหึงหวงในตัวสามีอันเป็นธรรมชาติของ
ภริยาโดยทั่วไป ทั้งเป็นการกล่าวโดยสุจริตโดยชอบธรรมเพื่อป้องกันส่วนได้เสียตามคลอง
ธรรม จึงมิใช่เป็นการหมิ่นประมาท ดังนั้น ถ้อยคำดังกล่าวมิใช่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
อย่างร้ายแรงอันต้องด้วยเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
1516(3) อีก
ทั้งพฤติการณ์ระหว่างโจทก์และจำเลยยังมิใช่กรณีที่สมัครใจแยกกันอยู่ตามมาตรา
1516(4/2)
แต่เป็นกรณีโจทก์เป็นฝ่ายแยกไปเองโดยยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา เมื่อจำเลยมิได้ประสงค์
จะหย่าขาดจากโจทก์โจทก์ก็ไม่อาจอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าจำเลยได้”


                                     

หากคุณมีปัญหาและต้องการคำปรึกษาด้านกฎหมาย เพิ่มเติม  
ติดต่อได้ที่     ทนายภูวรินทร์ ทองคำ  โทร.081- 9250-144  

E-Mail : Phuwarinlawyer@hotmail.com

http://www.phuwarinlawyer.com/


 

[ +zoom ]

[ +zoom ]
การสิ้นสุดแห่งการสมรสด้วยการหย่า
- การฟ้องหย่าต้องมีเหตุ 10 ประการ และ ข้อยกเว้น เหตุฟ้องหย่า
- การสิ้นสุดการสมรสและเหตุการฟ้องหย่า
ดูทั้งหมด

Copyright by www.phuwarinlawyer.com
Engine by MAKEWEBEASY